นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมได้ รับฟังความเห็นของตนแล้วเห็นชอบที่จะให้มีการลงประชามติ
ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วมี กฎหมายประชามติที่ออกไว้ตั้งแต่ปี 2541 และมีข้อถกเถียง กันว่ากฎหมายฉบับนี้จะหายไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ เพราะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงได้ขอให้ คณะกรรมการกฤษฎีการับเรื่องนี้ไปตรวจสอบ ถ้าเรื่องกลับ มาได้เร็วเราก็จะใช้กฎหมายฉบับนี้ดำเนินการ แต่ถ้ากลับ มาไม่ได้เร็ว ก็จะออก พ.ร.ก. ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ถึงการ ออก พ.ร.ก.ก็ออกได้ แต่จะต้องมีการเปิดสภา นำเข้าสภา เมื่อเข้าสภาก็คาดการณ์ได้ว่าจะมีผู้คนทำให้เรื่องนี้เดิน หน้าต่อไปไม่ได้ อาจเจอทางตัน โดยการเอาเรื่องไปส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก็จะไม่มีอนาคตว่าจะทำประชามติได้เมื่อไหร่
นายสมัครกล่าวว่า ช่องทางที่จะทำได้อีกช่องทาง คือ กกต.ได้กรุณาให้ความเห็นว่ากำลังทำกฎหมายเรื่องนี้
เพราะเป็นกฎหมายลูก ปี 2550 และกฎหมายนี้กำลังจะเสร็จ กกต.จะช่วยทำให้เสร็จก่อนสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ จะเอากฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ที่ประชุมสมัยวิสามัญ เมื่อเสร็จ เรียบร้อยก็จะส่งให้วุฒิสภา หากวุฒิสภายินดีจะพิจารณาให้ เราก็จะขยายเวลาการประชุมสมัยวิสามัญออกไป แต่ถ้าวุฒิสภาบอกว่า ยังไม่อยากพิจารณา ก็จะรอจนถึงเดือน ก.ค. เมื่อเปิดสภาสมัยสามัญแล้ว วุฒิสภาก็ต้องพิจารณาตรงนั้น กฎหมายเสร็จแล้วจะทำประชามติ ระหว่างที่สภาปิดเดือน ครึ่งเรื่องก็ยังคาอยู่ในสภา เมื่อสภาเปิดมาก็จะทำกฎหมายนี้เป็นวาระแรก ถ้าทำสำเร็จก็จะได้ลงประชามติ สำหรับ แนวทางการออกประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น คงไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะเอาไปทำ เดี๋ยวจะมีคนโต้แย้งได้
นายสมัครกล่าวด้วยว่า ตกลง ครม.ยืนยันให้ทำประชามติ เพื่อตัดประเด็นการถกเถียงทั้งหลายทั้งปวง
เมื่อ มีประชามติแล้วหากไม่แก้ก็ต้องเลิกเรื่องนี้ไปเลย แต่ถ้าผลประชามติให้แก้ก็ขอให้รู้ว่าการแก้ไขจะอยู่ในความดูแล ของคนที่รับเลือกตั้งมา ทั้ง ส.ว.แต่งตั้ง 74 คน ส.ว.เลือกตั้ง 76 คน และ ส.ส. 480 คน จะเสนอขึ้นไปอย่างไรก็สุดแท้ แต่คนทั้งหมดนี้จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเรื่องใดจะผ่านได้หรือไม่ได้ มาตราไหนควรจะแก้หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่โต ถ้าเรื่องไม่ควรแก้คนทั้ง 2 ซีกนั้น เขาจะเป็นคนวินิจฉัยว่าจะไม่แก้ การเสนอย่อมเสนอได้ แต่อาจจะไม่ผ่าน เพราะ มันไปทีละมาตรา ขอให้เข้าใจเรื่องเท่านั้น อะไรที่ไม่สมควร แก้ ไม่ผ่าน ก็แก้ไม่ได้ แต่สิ่งที่สมควรแก้ก็มี ฉะนั้นเวลา 45 วัน คือต้องการจะให้มีการรณรงค์ ใครที่ให้แก้ก็รณรงค์ หาเสียงให้แก้ ใครไม่ให้แก้ก็รณรงค์หาเสียงไม่ให้แก้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติงบ 2,000 ล้านบาท เพื่อจัดทำประชามติหรือไม่ นายสมัครตอบว่า เรื่องกฎหมายต้องเสร็จก่อน เงินมีอยู่แล้ว เมื่อถามว่าจะให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชนถอนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกฯตอบว่า ไม่ต้อง