ดึงเกมแก้รธน.หวั่นถูกรุมต่อต้าน

นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการประสานพรรค ร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเตรียมยื่นญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ก่อนปิดสมัยประชุมรัฐสภาในวันที่ 20 พ.ค.นี้ว่า ไม่น่าจะทัน เพราะขณะนี้มีร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนร่วมลงชื่อเสนอเข้ามา ขั้นตอนต่อไปจะต้องตรวจสอบรายชื่อว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และจะมีร่างรัฐธรรมนูญของ  ส.ส.ยื่นประกบ 

สมมติมีการ ยื่นในสัปดาห์นี้ ประธานรัฐสภาจะต้องบรรจุระเบียบวาระภายใน
15 วัน ต้องดูก่อนว่าจะเสนอทันหรือไม่ ถ้าไม่ทันสมัยประชุมนี้ คงจะมีการยื่นญัตติในเดือน มิ.ย. ช่วงเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ดังนั้น จะยื่นทันหรือไม่ ไม่เป็นอะไร ใจเย็นๆ จะได้ไม่มีเงื่อนไขว่า แก้รัฐธรรมนูญให้เสร็จก่อนคดียุบพรรค เราจะทำไปเรื่อยๆ รัฐบาลจะอยู่ถึง 4 ปีแน่นอน

 ม.291 ให้แก้ รธน.ได้รายมาตรา น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวถึงการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือ คปพร.ว่า แม้การรวบรวมรายชื่อประชาชนจะเป็นช่องทางหนึ่งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่อาจติดขัดเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับขั้นตอนดังกล่าว เพราะกฎหมายที่มีอยู่รองรับเพียงการเสนอกฎหมายโดยประชาชนเท่านั้น แต่ถ้าใช้กฎหมายโดยอนุโลมได้ ก็จะติดขัดที่ไม่สามารถเสนอแก้ไขทั้งฉบับได้ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 (1) บัญญัติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้เพียงบางมาตราเท่านั้น รัฐบาลเลี่ยงที่จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง โดยให้รัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการและต่อมาก็ให้ประชาชนเป็นผู้เสนอแก้ไข โพลชี้อีก 1 ปีแล้วค่อยแก้ไข รธน. นายประเสริฐ กิติรัตน์ตระการ หัวหน้าหลักสูตร ผู้นำทางสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต แถลงผลสำรวจรังสิตโพล ที่สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,315 ตัวอย่าง ใน กทม. ปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆรวม 7 จังหวัด พบว่าร้อยละ 48.29 เห็นควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ควร รอเวลาอย่างน้อยอีก 1 ปี ร้อยละ 29.58 เห็นว่าไม่ควรแก้ไข และร้อยละ 22.13 เห็นว่าควรแก้ไขโดยเร็ว ส่วนการแสดงเจตนาการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ของนักการเมืองในปัจจุบันร้อยละ 53 เห็นว่า ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของพรรคและนักการเมือง ร้อยละ 13.23 เห็นว่ากระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ส่วนความเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ร้อยละ 48.97 เห็นว่าควรแก้บางส่วนโดยปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญ 2550 ร้อยละ 33.84 เห็นว่าควรแก้ บางส่วน โดยปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญ 2540 ร้อยละ 9.28 เห็นว่าควรแก้ทั้งฉบับโดยการเขียนใหม่ ส่วนความเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตรา 237 ร้อยละ 53.18 ไม่ออกความเห็น ร้อยละ 36.75 เห็นว่าควรแก้ไข และร้อยละ 10.07 เห็นว่าไม่ควรแก้ไข ส่วนการแก้ไขมาตรา 259 และ 278 ร้อยละ 47.83 เห็นว่าควรแก้ไข ร้อยละ 34.22 เห็นว่าไม่ควรแก้ไข อย่าสร้างเงื่อนไขให้เกิดแบ่งฝ่าย นายประเสริฐกล่าวว่า นอกจากนี้ ร้อยละ 43.88 เห็นว่าผลกระทบของการผลักดันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จะนำพาบ้านเมืองไปสู่ความแตกแยก ร้อยละ 30.04 เห็นว่า ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง และร้อยละ 26.08 เห็นว่าจะพาบ้านเมืองไปสู่ความสงบ นายประเสริฐยังกล่าวด้วยว่า

รังสิตโพลมีข้อเสนอแนะต่อประชาชนคนไทยและนักการเมือง โดยสรุปว่า ในสังคมประชาธิปไตย การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สามารถจะกระทำได้ แต่ควรคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ และขอเตือนว่าอย่านำเงื่อนไขของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2550 มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และนำไปสู่การแบ่งฝ่ายประชาชนในชาติโดยเด็ดขาด และหากนักการเมืองผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของพรรคและนักการเมือง จะนำพาบ้านเมืองไปสู่ความแตกแยกอย่างแน่นอน

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์