ไปเมื่อวันที่ 11 พ.ย. และใช้เวลาอีก 10 วัน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละกลุ่มทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด ที่แต่ละพรรคยื่นมานั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (21 พ.ย.) กกต.จะติดประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.ระบบสัดส่วน ตามพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่ลงสมัคร หากใครไม่มีชื่อก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ไม่ได้รับการประกาศชื่อ
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังการตรวจสอบคุณสมบัติ พบว่า
มีผู้สมัครขาดคุณสมบัติกว่า 30 คน สาเหตุส่วนใหญ่คือ มีการสมัครซ้ำซ้อน และสมัครมากกว่า 1 พรรคการเมือง นอกจากนี้ ยังพบว่ามีบางพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน และแบ่งเขตซ้ำกัน ซึ่ง กกต.เตรียมจะหาวิธีดำเนินการกับผู้สมัครที่รู้ตัวว่าขาดคุณสมบัติแต่ยังสมัคร โดยมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนเป็นจำคุก 1-10 ปี และปรับ 20,000-200,000 บาท และอาจถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์เป็นเวลา 10 ปี
สำหรับการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ที่ กกต.ปิดรับสมัครไปแล้วเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ในขณะนี้ กกต. อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติ โดยจะประกาศชื่อผู้สมัครได้ในวันศุกร์นี้ (23 พ.ย.) ทั้งนี้ การรับสมัครส.ส.ระบบแบ่งเขต มีผู้มาสมัครทั้งสิ้นจำนวน 3,894 คน จาก 39 พรรคการเมือง สำหรับพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุด คือ พรรคพลังประชาชน 400 คน ตามด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 395 คน พรรคไทยร่ำรวย 386 คน พรรคมัชฌิมาธิปไตย 363 คน พรรคเพื่อแผ่นดินไทย 344 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 324 คน ขณะที่ พรรคชาติไทย ส่งผู้สมัคร 285 คน
ส่วนความคืบหน้าการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ส.ส.
ซึ่ง กกต.มีมติให้บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด เป็นผู้จัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน 50.27 ล้านฉบับ ในราคาฉบับละ 1.135 บาท และบัตรทาบ จำนวน 88,500 แผ่น ราคาแผ่นละ 3.55 บาท และบริษัทที.เค.เอส. สยามเบรส แมแนจเมนต์ จำกัด เป็นผู้จัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งส.ส.สัดส่วน จำนวน 55.17 ล้านฉบับ ในราคาฉบับละ 1.18 บาท บัตรทาบจำนวน 88,500 แผ่น ราคาแผ่นละ 3.80 บาท ทั้งนี้ บริษัททั้งหมดจะเริ่มทำสัญญาและจัดพิมพ์ ในวันนี้