เผย 4 มาตรการยาแรง คุมพรรคการเมืองอยู่ในกรอบ

น.ต.ประสงค์ กล่าวก่อนการประชุมว่า ค่อนข้างพอใจในภาพรวมของการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ


สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ วันนี้ (10 ก.ย.) เป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการฯ เป็นประธานการประชุม โดย น.ต.ประสงค์ กล่าวก่อนการประชุมว่า ค่อนข้างพอใจในภาพรวมของการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาไปก่อนหน้านี้
 

น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า การพิจารณาวันนี้จะมุ่งเน้นใน 4 ประเด็น คือ

1.คุณสมบัติในการจัดตั้งพรรค 2.รายละเอียดภายในพรรคที่เกี่ยวกับตำแหน่งโครงการสร้างบริหารรวม 3.ความรับผิดชอบของพรรคการเมือง และ4.การเงินของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเงินบริจาค หรือการใช้จ่ายเงิน จะต้องอยู่ในกรอบที่ชัดเจน รวมถึงการกำหนดบทลงโทษ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะกำหนดบทลงโทษที่มีความเข้มข้น เพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่ดีในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองเกิดขึ้น


พร้อมกันนี้ น.ต.ได้พูดเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ที่จะเกิดขึ้นแก่นักการเมืองว่า


“ผมขอบอกกับพรรคการเมืองว่า เป็นสถาบันที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนให้ไปใช้อำนาจแทน ดังนั้น หากพรรคการเมืองไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรองรับหลักการทั้ง 4 ประเด็นข้างต้น การเมืองจะกลับคืนสู่วงจรอย่างเก่า กรรมาธิการฯ จะกำหนดหลักการที่เข้มข้นเพื่อให้หลักการทั้ง 4 มุ่งไปสู่การปฏิรูปการเมือง ผมหวังว่านักการเมืองที่ดี ที่หวังให้การเมืองหลังการเลือกตั้งดีขึ้น สะอาดขึ้น คงไม่ขัดข้อง” น.ต.ประสงค์ กล่าว
 

น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า จะคืนอำนาจที่ยึดไปจากประชาชนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ให้มากขึ้นไปกว่าเก่า

เพราะคิดตลอดเวลาว่า เมื่อยึดอำนาจจากประชาชนมา เมื่อถึงเวลาคืนแล้วขาดตกบกพร่อง หรือให้อำนาจเท่าเดิมกลับคืนไป คงไม่เหมาะสม เชื่อว่านักการเมืองที่ดีน่าจะพอใจ เพราะอำนาจที่คืนกลับไป รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้เพิ่มสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่อาจจะมีผลกระทบกับการเมืองที่ไม่ดี ทำให้เห็นว่ามาตรการต่าง ๆ มีความเข้มงวดเกินไป
 

นอกจากนี้ น.ต.ประสงค์ กล่าวถึงเพดานการกำหนดเงินบริจาคพรรคการเมืองว่า
 
กรรมาธิการฯ กำหนดเพดานเงินบริจาคไม่ให้เกิน 50 ล้านบาท โดยจะต้องมีการตรวจสอบการเงิน ทั้งจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารพาณิชย์ เพื่อติดตามการทำธุรกรรมและการใช้เงินของพรรคการเมือง ส่วนแนวคิดในการให้รางวัลนำจับกับผู้แจ้งเบาะแสการซื้อสิทธิขายเสียง น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า หากประชาชนมาร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หรือเป็นพยาน จะให้สินบนนำจับในอัตราร้อยละ 20 ของเงินที่ยึดได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือเป็นแรงจูงใจ เพื่อไม่ให้กระทำความผิด นอกจากนี้ ผู้ซื้อจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายและจะมีการตรวจสอบเส้นทางของเงิน หากมีการทุจริต พรรคการเมืองอาจถูกยุบไปด้วย


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์