มีในสังคมทุกระดับการศึกษาทุกกลุ่มหน้าที่การงาน เพราะคนแยกแยะไม่ได้ว่าอะไรจริงอะไรปลอม คนสนุกกับการแชร์เร็ว แชร์ก่อน แชร์ให้เพื่อนรู้ว่า รู้นะมีแหล่งข่าวนะเจ๋งไหม คือคนต้องการเป็นที่สนใจจากเพื่อน
นางมัลลิกา กล่าวว่า วิธีการแก้ไขขยะในโซเชียลมีเดีย มี 2ทาง คือ 1.ให้ความรู้การศึกษาคน 2.ให้กฎหมายควบคุมการดำเนินการ ทั้งนี้การให้ความรู้เรื่องแยกขยะในโซเชียลมีเดีย คือต้องรู้ทันกฎหมายและรู้ใช้วิจารณญาณ รู้ว่าข้อมูลปราศจากแหล่งอ้างอิงไม่ควรแชร์ ข้อมูลที่มีแหล่ง ลิ้งค์อ้างอิงไม่มีตัวตนน่าเชื่อถือไม่ควรแชร์ ข้อมูลไร้ผู้รับผิดชอบไม่ควรแชร์ แยกกันได้หรือไม่ หรือข้อมูลที่ไม่แน่ใจว่าผิดกฎหมายหรือไม่ แต่ทำให้บุคคลได้รับความเสียหาย อับอายขายหน้า ไม่ว่าจริงหรือเท็จก็ไม่ควรแชร์
"ทุกวันนี้โลกไซเบอร์ 80% คือข้อมูลผิดกฏหมายไม่ว่าจะเป็นหมิ่นประมาท ลามก อนาจาร พนัน ขายของเถื่อน นอกระบบทั้งนั้น นอกจากนี้กรณีที่เคยมี"การตัดต่อเสียงสั่งฆ่าประชาชน" จนศาลตัดสินจำคุกอดีตส.ส. เท่านี้ไม่เพียงพอจะเป็นข้อมูลแยกขยะในโซเชียลมีเดีย หรือไม่ และรู้ใช่ไหมว่าข้อมูลเท็จขยะในโซเชียลมีเดีย ทำให้ชาติพังพินาศมาแล้ว ขนาดใช้ปลุกคนไปฆ่ากัน ปลุกคนไปเผาศาลากลางทุกวันนี้เป็นตราบาปไหม ดังนั้นผู้บริหารผู้มีอำนาจต้องหาทางออกให้สังคมที่ง่อยเปลี้ยนี้คือความรู้และกฎหมาย เราใช้เสรีภาพไปทำผิดกฎหมายได้หรือ" นางมัลลิกา กล่าว