นักวิชาการติงไม่ง่ายอย่างคิด ส่งทักษิณเป็นผู้ร้ายข้ามแดน

อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ระบุ การขอให้อังกฤษส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด


นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวหลังศาลศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าคงเป็นเรื่องยากที่ศาลจะขอเรียกตัวจำเลยมาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เพราะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ ในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ
 

ถ้าประเทศไทยมีการร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน

มีความพยามของรัฐบาลจริงจังในการดำเนินคดี ที่จะดึงพ.ต.ท.ทักษิณกลับมาอาจจะมีโอกาสบ้างแต่ไม่ง่ายในกรณีการส่งผู้นำทางการเมือง แม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่ขอลี้ภัยทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติแล้วหลายประเทศก็อาจมีข้อแม้มากมาย เรื่องนี้ต้องคิดค่อนข้างให้มาก ในกรณีนี้ รัฐบาลไม่ได้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตย การตัดสินคดีต่าง ๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ อาจถูกมองว่าบุคคล หรือกระบวนการนั้นโปร่งใส แต่ภายใต้ระบอบการปกครองของไทยในขณะนี้ที่ไม่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตย


ฉะนั้นการให้ความร่วมมือการดำเนินคดีในกรณีนี้อาจจะมีปัญหากับประชาคมโลก จากคนของเขาเอง


ประชาชนของเขาเองและอาจจะทับซ้อนในแง่จุดยืนทางการเมือง กฎหมายขึ้นกว่าเดิม โดยทั่วไปประเทศใดที่มีรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารก็จะไม่ได้รับความร่วมมือทางการเมืองจากประเทศตะวันตก ดังนั้นเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่มีข้อบังคับ แต่บางกรณีอาจมีช่องว่างที่หลีกเลี่ยงได้ ฉะนั้นพอเป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองในลักษณะที่มีจุดยืนแตกต่างกัน ในบางประเทศอาจมีกฎหมายไม่ให้ความร่วมมือกับประเทศที่มาจากรัฐประหาร เราเองอาจจะพิจารณาและระมัดระวังในเรื่องนี้เป็นพิเศษ

พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นบุคคลสำคัญทางเศรษฐกิจ

มีการลงทุน ดำเนินกิจกรรมทั้งเปิดเผยและปกปิด ซึ่งบางเรื่องเราก็ไม่อาจทราบได้อาจจะมีสายสัมพันธ์โยงใยกับนักการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มทุนในประเทศอังกฤษ ซึ่งผมมองว่านักการเมืองเหล่านั้นอาจจะวิ่งเต้นล๊อบบี้ให้รัฐบาลอังกฤษกดดันไม่ให้มีการส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อไปดำเนินคดีต่างๆ ขณะเดียวกันอังกฤษก็ต้องทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย ที่แม้ว่าจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่หากมองดูแล้วรัฐบาลหน้าที่มาจากการเลือกตั้งก็อาจมีผลกระทบได้ ผมคิดว่าอังกฤษเขาคงรอให้ไทยมีการเลือกตั้ง ดูแนวโน้มการพิจารณาคดี ดูท่าทีรัฐบาลใหม่ว่าจะมีการเรียกร้องเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เขาคงพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย” นักวิชาการจุฬาฯ กล่าว


เมื่อถามว่าการที่ศาลจะพิจารณาครั้งแรกใหม่ในเดือนกันยายนนี้จะส่งผลให้คดีมีความล่าช้า และเอื้อประโยชน์ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่

นายปณิธานกล่าวว่า คงเป็นไปตามขั้นตอนปกติของกระบวนการยุติธรรม แต่อาจเป็นไปได้ที่จะเป็นโอกาสให้พ.ต.ท.ทักษิณ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง มารณรงค์เรียกร้อง ตามที่พูดอยู่เสมอว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีความชอบธรรมมีทหารหนุนหลังและต้องการกดดันตนเองผ่านขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ประเด็นเหล่านี้มีความเป็นจริงขึ้นเพราะการดำเนินคดีพ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะมีประเด็นทางการเมืองเกิดขึ้นได้ และพ.ต.ท.ทักษิณ อาจใช้โอกาสนี้เป็นเครื่องมือต่อรองกับรัฐบาลไทย


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์