สับแหลก รธน. เปิดทางทหาร

เหลือเวลาไม่ถึงสัปดาห์แล้ว ที่คนไทยจะต้องไปลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550


ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร จัดเสวนาเรื่อง “แลไปข้างหน้า สังคม-การเมืองไทย หลังลงประชามติ” โดยมีนักวิชาการ อาจารย์สายรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาชั้นนำ มาร่วมชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ขณะเดียวกัน ก็มีแกนนำ นปก.2 และประชาชนสวมเสื้อดำไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เข้าร่วมฟังประมาณ 400 คน โดยกลุ่มประชาชนระบุว่าเป็นอดีตพนักงานโรงงานไทยศิลป์ ซึ่งปิดกิจการ เดินทางมา 200 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม มีสัญลักษณ์เป็นโบติดที่หัวไหล่ แยกตามหมวดสี ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีแกนนำให้การดูแล


รัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกฎหมายสูงสุดอย่างจริงจัง ทำให้ ถูกฉีกทิ้งและยกร่างใหม่ตลอดเวลา

ทั้งนี้ ในวงเสวนา นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ผอ.สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. กล่าวถึงบทบาทรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ว่า รัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกฎหมายสูงสุดอย่างจริงจัง ทำให้ ถูกฉีกทิ้งและยกร่างใหม่ตลอดเวลา โดยเฉลี่ยรัฐธรรมนูญจะมีอายุประมาณ 4 ปี 5 เดือน สำหรับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 จำนวน 309 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญที่ยาวที่สุดในโลก แต่ประชาชนก็ยังไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นักการเมืองจะถูกสาปให้ลงนรก เพื่อเปิดทางให้กลุ่มอำนาจใหม่ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จะเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ ที่จะเปิดทางให้ทหารเข้าสู่การเมืองอีกครั้ง


ส่วนนายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) กล่าวว่า


สิ่งที่เรากำลังจะไปเจอในอนาคตคือประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ ส.ส.ร.เองยังไม่มั่นใจด้วยซ้ำว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างออกมาจะมีความสมบูรณ์ ขณะนี้นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่กล้าออกมาพูด เพราะมีแรงกดดัน และยังต้องคอยตอบคำถามว่ารับท่อน้ำเลี้ยงหรือไม่

สำหรับตน เหตุผลที่ไม่รับรัฐธรรมนูญ เพราะอยากเห็นสติปัญญาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าได้อย่างไร จึงอยากเรียกร้องให้แคนดิเดต ผบ.ทบ. ออกมาแสดงวิสัยทัศน์ว่า ถ้าประชาชนไม่รับรัฐธรรมนูญ จะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร นายพิชญ์กล่าวอีกว่า หลังลงประชามติ หากรับร่างรัฐธรรมนูญ สิ่งที่เราจะได้คือแพ็กเกจกฎหมาย ทั้งกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และพระราชบัญญัติความมั่นคง การเมืองจะตกอยู่ในสถานการณ์ของความกลัว เนื่องจากประชาชนไปลงประชามติด้วยความกลัวว่าจะมีการนองเลือด หรือกลัวว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง

ข้ออ้างที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จะขยายสิทธิประชาชน เป็นจริงเพียงครึ่งเดียว
 

โดยประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพในฐานะเป็นผู้อ่อนแอ นอกจากนี้ แรงกดดันของสังคมต่อการเมืองจะน้อยลง เพราะจะมีแต่แรงกดดันจาก คมช. ส่วนเรื่องการลดอำนาจผูกขาดของรัฐ จะเปลี่ยนไปเป็นการเพิ่มอำนาจผูกขาดของข้าราชการผ่านระบบศาล “ที่ผ่านมา จุฬาฯได้ทำสำรวจความเห็นของประชาชน และระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน ภายในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีอาจารย์และนักศึกษารวมกันกว่า 1,000 คน ก็มีการสำรวจความเห็น ซึ่งผลปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ 174 คะแนน ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การรับฟังข่าวเกี่ยวกับผลสำรวจจึงต้องใช้วิจารณญาณ” นายพิชญ์กล่าว

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์