ที่สำนักงานกกต. สำหรับการรายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการของ กกต. ได้ยุติลงเวลา 19.33 น. โดยเป็นการรายงานผลคะแนนที่ร้อยละ 94 โดย นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รักษาการเลขาธิการกกต. ชี้แจงว่าไม่สามารถขึ้นรายงานผลคะแนนที่ร้อยละ 95 ได้เนื่องจากเป็นการรายงานแบบเรียลไทม์ ผลคะแนนขึ้นอย่างรวดเร็ว หากปล่อยถึงร้อยละ 95 ผลคะแนนจะเกินกว่าจำนวนดังกล่าว แม้เกินเพียง 0.1 จะถือว่ากกต.กระทำการเข้าข่ายผิดมาตรา 47 ของ พ.ร.บ.ประชามติที่กำหนดให้กกต.รายงานผลเพียงร้อยละ 95 จึงจำเป็นที่กกต.ปิดระบบอย่างไม่เป็นทางการที่ร้อยละ 94
สำหรับผลอย่างไม่เป็นทางการ โดยอ้างอิงจากระบบรายงานผลการออกเสียงประชามติอย่างไม่เป็นทางการของ กกต. ระบุว่าที่ร้อยละ 94 ทั่วประเทศ มีผู้ออกมาใช้สิทธิทั้งประเทศ 27,623,126 คน ประเด็นแรกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับคะแนนเห็นชอบ 15,562,027 เสียง คิดเป็น 61.40 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 9,784,680 เสียง คิดเป็น 38.60 เปอร์เซ็นต์ ประเด็นที่สอง คำถามพ่วง ให้ 250 ส.ว.ที่คสช.แต่งตั้งร่วมลงมติเลือกนายกฯกับ 500 ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนเห็นชอบ 13,969,594 เสียง คิดเป็น 58.11 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 10,070,599 เสียง คิดเป็น 41.80 เปอร์เซ็นต์ รวมบัตรดี 26,688,729 บัตรเสีย 869,043
ส่วนเมื่อแยกเป็นรายภาค ที่ร้อยละ 93.62 ภาคเหนือประเด็น ร่างรัฐธรรมนูญ พบว่าคะแนนเห็นชอบ 2,784,734 คน หรือ 57.67 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 2,044,227 หรือ 42.33 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคำถามพ่วง พบว่าคะแนนเห็นชอบ 2,436,356 คน หรือ 54.09 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 2,067,791 หรือ 45.91 เปอร์เซ็นต์
ภาคกลาง ที่ร้อยละ 93.49 ประเด็น ร่างรัฐธรรมนูญ พบว่า คะแนนเห็นชอบ 5,955,874 คน หรือ 69.47 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 2,618,017 หรือ 30.53 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคำถามพ่วง พบว่าคะแนนเห็นชอบ 5,451,308 คน หรือ 66.18 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 2,786,349 หรือ 33.82 เปอร์เซ็นต์
ภาคใต้ ที่ร้อยละ 93.32 ประเด็น ร่างรัฐธรรมนูญ คะแนนเห็นชอบ 2,707,316 คน หรือ 76.66 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 824,256 คน หรือ 23.34 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคำถามพ่วง คะแนนเห็นชอบ 2,537,009 คน หรือ 74.35 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 875,156 คน หรือ 25.65 เปอร์เซ็นต์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 93.49 ประเด็น ร่างรัฐธรรมนูญ คะแนนเห็นชอบ 3,993,944 คน หรือ 48.58 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 4,226,752 คน หรือ 51.42 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคำถามพ่วง พบว่าคะแนนเห็นชอบ 3,431,849 คน หรือ 44.57 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 4,267,561 คน หรือ 55.43 เปอร์เซ็นต์
ส่วนจังหวัดต่างๆ กรุงเทพมหานคร ประเด็นที่ 1 เห็นชอบ 1,369,046 คน ไม่เห็นชอบ 603,037 คน ประเด็นที่ 2 เห็นชอบ 1,272,604 คน ไม่เห็นชอบ 656,831 คน จ.เชียงใหม่ ประเด็นที่ 1 เห็นชอบ 336,529 คน ไม่เห็นชอบ 399,890 คน ประเด็นที่ 2 เห็นชอบ 293,095 คน ไม่เห็นชอบ 397,960 นครราชสีมา ประเด็นที่ 1 เห็นชอบ 695,505 คน ไม่เห็นชอบ 389,354 คน ประเด็นที่ 2 เห็นชอบ 617,255 คน ไม่เห็นชอบ 402,992 คน ขอนแก่น ประเด็นที่ 1 เห็นชอบ 291,493 คน ไม่เห็นชอบ 367,921 คน ประเด็นที่ 2 เห็นชอบ 252,133 คน ไม่เห็นชอบ 363,975 คน นครศรีธรรมราช ประเด็นที่ 1 เห็นชอบ 535,860 คน ไม่เห็นชอบ 72,659 คน ประเด็นที่ 2 เห็นชอบ 503,812 คน ไม่เห็นชอบ 84,379 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรายงานผลในแต่ละภาคตามที่กกต.รายงาน ปรากฎผลเบื้องต้นว่า กทม. และทุกจังหวัดภาคกลาง ลงคะแนนรับหมดทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง
ภาคเหนือ มีจังหวัดที่ไม่รับทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ และลำพูน ส่วนจ.พะเยา กับลำปาง ไม่รับคำถามพ่วง
ภาคอีสาน จังหวัดที่ไม่รับทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย และหนองบัวลำภู อุดรธานี ส่วนจ.เลย อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ไม่รับเฉพาะคำถามพ่วง ขณะที่บุรีรัมย์และนครราชสีมา รับทั้งสองอย่าง
ภาคใต้ จังหวัดที่ไม่รับทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ที่เหลือลงมติรับทั้งหมด
จากนั้นเวลา 20.41 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ได้มาแจ้งว่ารายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการล่าสุดพบว่า มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติถึงร้อยละ 58 ถือว่ามากกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติของปี 2550 ที่มีผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 57 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังไม่นิ่งและเชื่อว่าจะมียอดผู้มาใช้สิทธิมากกว่านี้
ขอบคุณ ::khaosod.co.th