ในกรอบของอาเซียน จะมีการแก้ไขปัญหาในเรื่องของความรุนแรงทางพื้นที่ตอนใต้ของฟิลิปปินส์ พื้นที่เกาะสุมาตราในส่วนของอาเจะห์ และใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย ซึ่ง 2 ใน 3 ส่วนนี้ มีผลในทางบวกค่อนข้างมาก เหลือพื้นที่ของไทยที่ยังจะมีปัญหาอยู่ค่อนข้างมาก
เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาตรงนี้
จึงเป็นภาพรวมของอาเซียนที่จะต้องช่วยกัน นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อมโยงก็เป็นเรื่องของความผูกพันทางเชื้อชาติ ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียบอกว่าความผูกพันนี้มีอยู่ แต่ไม่สนับสนุนให้มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่สนับสนุนให้มีการแยกตัวออกมา แต่สนับสนุนให้ทำอย่างไรที่จะอยู่ด้วยกันได้ นี่คือจุดยืนของมาเลเซีย
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับโอกาสความช่วยเหลือ สนับสนุน ด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้จากองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก โดยเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกแสดงความยินดีที่จะเป็นผู้ช่วยเจรจาในการนำไปสู่ความสงบ สมานฉันท์ในภาคใต้
ระยะยาวการแก้ไขปัญหา
" คือการสร้างโอกาสให้มีการศึกษา ให้มีงานทำ ให้มีอาชีพ ซึ่งคนไทยก็ไปทำงานอยู่ในมาเลเซียปีหนึ่งอย่างน้อยๆ 2 แสนคนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำอย่างไรที่เราจะมาทำให้คนเหล่านี้มีโอกาสที่จะทำมาหากินที่ดีขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะไปรับจ้างในร้านอาหาร นี่คือสิ่งที่ได้คิดร่วมกัน" นายกรัฐมนตรีกล่าว