'เต้น' ย้ำ รัฐประหารสร้างรธน. ปชต.ไม่ได้ เย้ยถ่ายทอดสดร่างรธน. อาจเป็นงิ้วโรงใหญ่ แต่ดีที่ไม่ปิดหูปิดตาปชช. ลั่นความมั่นคงรบ.สั่นคลอนด้วยอำนาจกลไกของรบ.เอง
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)
กล่าวในรายการ“เข้าใจตรงกันนะ” ถึงกรณีการถ่ายทอดสดการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่ง ชาติ(สปช.)ในวันที่20-26 เม.ย.ว่า เป็นเรื่องดีที่จะมีการถ่ายถอด เพราะก่อนหน้ามีรายงานข่าวออกมาว่า จะไม่มีการถ่ายทอดไม่อยากให้ปิดหู ปิดตาประชาชน ไม่ควรมีอะไรที่เป็นความลับในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็แถลงประเด็นหลัก ๆ ให้ทราบอยู่แล้วและพูดถึงพวกคัดค้านรัฐธรรมนูญว่า อ่านไม่ครบทั้งฉบับ อ่านเฉพาะที่ตัวเองสนใจ ฉะนั้นครั้งนี้จะทำให้คนไทยทั้งประเทศได้ติดตามและรับรู้สาระของร่างฯ ฉบับนี้ไปพร้อมกัน
“ผมไม่คาดหวังกับรัฐธรรมนูญนี้มากมายไปกว่าจุดยืนที่เคยพูดมาแล้ว และผมมีความเชื่อว่าการรัฐประหารจะผลิตรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยแท้จริง ยอมเกิดขึ้นไม่ได้แต่ที่สนใจ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ทางสถานการณ์การเมืองในประเทศ ไทยที่ขัดแย้งตลอดต่อเนื่องยาวมา10 กว่าปี ผมจะดูว่า เขาจะอธิบาย และมีท่าทีอย่างไรอาจจะเหมือนดูงิ้วโรงใหญ่ก็ได้ใครจะไปทราบ ให้เห็นกับตา ให้ประชาชนเป็นผู้พิจารณา”นายณัฐวุฒิ กล่าวและว่า ส่วนกรณีที่อาจมีการเถียงกันเละเทะและอาจส่งผลต่อการทำงานของแม่น้ำ 5 สายนั้น ไม่อยากให้กังวลตรงนี้ เพราะระบอบประชาธิปไตยคนที่เถียงกันด้วยเหตุผลเป็นเรื่องดีเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน ทั้งนี้หากเนื้อหารัฐธรรมนูญไม่ใช่ก็จะเละเทะอยู่ดี
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า มีคนถามตนว่า ทำไมช่วงนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)
และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ดูเครียดและมีอารมณ์ต่อสื่อ มองว่า ไม่เครียดก็แปลกเพราะมีปัญหารุมเร้ามากมีสัญญาณอะไรแปลก ๆ หลายมุมที่รู้สึกได้ว่า แต่ละเก้าของรัฐบาลไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบและไม่มีใครคิดว่า จะเป็นเรื่องนี่เป็นสัญญาณว่า ความมั่นคงแข็งแรงของรัฐบาลกำลังถูกสั่นคลอน ไม่ได้ถูกสั่นคลอนจากกระบวนการใต้ดินที่ไหน แต่สั่นคลอนเพราะสิ่งที่ปรากฎอยู่ภายในอำนาจกลไกของรัฐบาลเอง ซึ่งทำท่าจะเอาไม่อยู่หลายเรื่อง อาทิ เรื่องกลุ่มพลเมืองโต้กลับที่ไม่ต้องการให้นำพลเรือนขึ้นศาลทหาร การรวมตัวของคณะสงฆ์ในวันที่ 30 มี.ค.ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ต่อต้านการปฏิรูปของนายไพบูลย์นิติตะวัน สปช. ปัญหาภายในกระทรวงสาธารณสุข ปัญหายางพารา เป็นต้น.