ไทยอันดับ88 "จริยธรรมเลือกตั้ง" ชี้ ขวางลงคะแนน2ก.พ.57-องค์กรจัดลต. ปัญหาหลัก!
เผยผลสำรวจใน"โครงการจริยธรรมในการเลือกตั้ง" ไทยรั้งอันดับ 88 จาก 127 ประเทศโครงการจริยธรรมในการเลือกตั้ง เป็นโครงการวิจัยอิสระโดยมีฐานของคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ และฮาวาร์ด ได้เผยรายงาน "The Year in Elections,2014" ซึ่งทำการสำรวจการเลือกตั้งระหว่างปี 2012-2014 จาก 127 ประเทศทั่วโลก
โดยกลุ่มประเทศที่มีระดับ"จริยธรรมในการเลือกตั้ง" สูงติดอันดับสิบประเทศแรกเป็นกลุ่มประเทศจากยุโรปถึง 8 ประเทศ โดยมีประเทศนอกยุโรปอย่างอุรุกวัยและคอสตาริกาสอดแทรกเข้ามาในสิบอันดับแรกได้เพียงสองประเทศ
ขณะที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่88แม้ว่าไทยจะได้คะแนนจากกฎหมายเลือกตั้งสูงถึง 80 คะแนน แต่คะแนนกระบวนการจัดการเลือกตั้งกลับได้เพียง 54 คะแนน และคะแนนจากการวัดผลเลือกตั้งและการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดการเลือกตั้งมีคะแนนต่ำที่สุดเท่ากันที่ 47 คะแนน
รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงการเลือกตั้งในประเทศไทยเป็นการเฉพาะว่า ปัญหาการจัดการเลือกตั้งที่ล้มเหลวมาจากการประท้วงและความรุนบนท้องถนนซึ่งจุดชนวนให้เกิดการรัฐประหาร ซึ่งทำลายรัฐบาลและความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ปี 2557 มีลักษณะพิเศษที่ทำให้ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 88 โดยเฉพาะการขัดขวางการเลือกตั้งของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยน แปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประ มุขหรือกปปส. ซึ่งเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนนับล้าน
ผลการ เลือกตั้งที่สมบูรณ์ไม่เคยถูกประกาศโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่มีการเลือก นำเสนอข้อมูลเพียงบางด้านเช่นการที่ประชาชนมาใช้สิทธิลงคะแนนต่ำกว่าปกติ เพียง47 เปอร์เซนต์ และจำนวนบัตรเสียที่มีมากกว่าปกติ
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังทำให้วิกฤติการเมืองของไทยฝังรากลึกลงไปอีกเมื่อศาลรัฐธรรมนูญออกมาประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะในวันที่21 มีนาคม ปี 2557 และกองทัพได้ทำการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคมปีเดียวกัน ซึ่งเป็นการรัฐประหารครั้งที่สองในรอบสิบปี และหน่วยงานเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติต่างรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้นนับแต่การยึดอำนาจของกองทัพ
ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งได้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงอย่างรุนแรงในสังคมไทยแม้จะมีการยุบพรรคการใช้อำนาจนอกระบบ
และการใช้ศาลเป็นเครื่องมือเล่นงานทางการเมือง แต่ประชาชนจำนวนมากยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยทีมีการเลือกตั้ง เห็นได้จากผลการเลือกตั้งนับแต่ปี 2544 แต่คนกลุ่มเล็กๆที่มีอำนาจทางการเมืองสูงกลับปฏิเสธการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย พวกเขาอ้างว่านักการเมืองมีแต่คนทุจริต ประชาชนจำนวนมากถูกซื้อเสียงได้โดยง่าย และ"ไร้ปัญญา"เกินกว่าที่จะแยกแยะนักการเมืองที่ดีจากนักการเมืองที่เลว อย่างไรก็ตามข้ออ้างนี้กลับไม่สอดคล้องกับหลักฐานที่นักวิจัยรวบรวมระหว่างทำการสำรวจครั้งนี้
ผลการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบการจัดการเลือกตั้งของไทยถือว่ามีระบบการจัดการที่ดีในทางเทคนิค
และระบบกฎหมายก็มิได้เอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครรับ เลือกตั้งฝ่ายใดการโกง, การซื้อเสียง หรือความพยายามควบคุมผลเลือกตั้งในประเทศไทยถือว่าเป็นปัญหาที่น้อยมากเมื่อ เทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคโดยนักวิจัยชี้ว่าความพยายามทำลายการเลือก ตั้งของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลประชาธิปไตยและการที่องค์กรซึ่งดูแลการเลือกตั้ง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายคือปัญหาหลักของการเลือกตั้งในเมืองไทย