เลือกตั้งนายกฯ-ครม.โดยตรงส่อพับ

เลือกตั้งนายกฯ-ครม.โดยตรงส่อพับ

“เสธ.อู้” คาดได้ข้อสรุปปฏิรูปการเมือง 23 ธ.ค.ชี้ เลือก ครม.โดยตรงไม่มีหลักประกันแก้ปัญหาได้ พร้อมหนุนทำประชามติรธน.ใหม่

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า
 
ในสัปดาห์หน้าคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะประชุมเพื่อพูดคุยถึงรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ที่ทางสนช. สปช. ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ เสนอมาให้ ซึ่งขณะนี้มีนับพันประเด็น เพื่อให้เกิดการตกผลึกในเบื้องต้น โดยในวันที่ 22 ธ.ค. จะหารือในประเด็นภาคประชาชน  ส่วนในวันที่ 23 ธ.ค.จะหารือประเด็นภาคการเมือง ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นในแนวทางปฏิรูปการเมือง อาทิ วิธีการเลือกตั้งจะเป็นแบบใด จะมีการเลือกตั้งนายกฯและครม.โดยตรงหรือไม่  ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯหลายคนเห็นตรงกันว่า การไปลองของใหม่โดยใช้วิธีเลือกนายกฯโดยตรง ไม่มีอะไรรับประกันว่า จะแก้ปัญหาได้จริง อาจจะเกิดปัญหาใหม่ในอนาคตได้ เพราะนอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาซื้อเสียงแล้ว ยังมีจุดอ่อนเพิ่มขึ้นทำให้คนแพ้ไม่มีที่ยืนทางการเมือง ไม่ได้เป็นทั้งส.ส.และรัฐมนตรี จึงเป็นเรื่องยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบ 100%


พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า  การเลือกตัวนายกรัฐมนตรี

หากจะให้เลือกผ่านสภาฯ เช่นเดิมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะต้องกำหนดกลไกควบคุมการเลือกตั้งให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด ไม่มีการซื้อเสียง อาจจะมีการกำหนดบทลงโทษผู้ซื้อสิทธิขายเสียงให้หนักขึ้นหรือลงโทษหัวคะแนนที่ซื้อเสียงถึงขั้นถูกจำคุก  รวมทั้งจะต้องพิจารณาเรื่องวิธีการลงคะแนนเลือกตั้งส.ส.ว่าจะใช้แบบใด ระหว่างเขตเดียว เบอร์เดียว หรือการเลือกเขตละ 3 คน การนับคะแนนเลือกตั้ง การให้นักการเมืองมีอิสระจากพรรคการเมืองซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างฯต้องไปหารือรายละเอียดกันอีกครั้งว่า จะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสที่สุด

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องการทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะไม่ทำความเห็นเสนอ

 เรื่องนี้ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรี  จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง แต่ที่ผ่านมานายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานยกร่างรัฐธรรมนูญก็เคยแสดงความเห็นไปแล้วว่า ควรมีการทำประชามติและเท่าที่ฟังคณะกรรมาธิการยกร่างฯคุยกัน หลายคนเห็นด้วยว่า ควรทำประชามติเพื่อ เป็นการตอกย้ำถึงความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  อีกทั้งเป็นการแสดงถึงความมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างชัดเจน  ทั้งนี้หากจะมีการทำประชามติ ก็ต้องไปเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ก่อน จากนั้นค่อยเสนอเป็นกฎหมายการทำประชามติต่อสนช.ต่อไป.
 


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์