มาร์คจ่อชงให้มีระบบเลือกตั้งเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

มาร์คจ่อชงให้มีระบบเลือกตั้งเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

วันที่ 18 พฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)
 
กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญเชิญพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองเข้าหารือเพื่อให้ขอเสนอแนะในการปฏิรูปประเทศ ว่า ตนจะเดินทางไปพบกับคณะกรรมาธิการยกร่างฯในวันที่ 24 พฤศจิกายน แต่มีประเด็น คือเป็นการเชิญในฐานะตัวแทนพรรค ไม่ใช่ในฐานะนายอภิสิทธิ์ จึงมีความหนักใจ
เพราะถ้าบอกให้เป็นความเห็นพรรคการเมือง พรรคก็ควรจะได้ประชุม แต่ข้อจำกัดอยู่ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยังไม่ให้พรรคการเมืองประชุม ดังนั้นพรรค ปชป.จึงทำหนังสือไปที่ คสช. เพื่อขอประชุมในเรื่องนี้ แต่เรายังไม่ได้รับคำตอบ หาก คสช.อนุญาตให้พรรคการเมืองทำการประชุมได้ พรรคประชาธิปัตย์จะประชุมในวันที่ 23พฤศจิกายน

โดยจะนำเรื่องที่ได้จากที่ประชุมไปเสนอกับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ แต่หากไม่สามารถประชุมได้

ซึ่งตนก็จะเข้าให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการฯและจะมอบหมายให้นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ รองหัวหน้าพรรค และนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค ส่วนสมาชิกอีกหนึ่งคนกำลังพิจารณาว่าจะเป็นใครที่สามารถไปเสริมในมุมที่ครบถ้วน ไปคุยกับสมาชิกพรรคเท่าที่จะทำได้ แล้วนำไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ 


ถามว่า บางพรรคการเมืองบอกว่าประชุมพรรคไม่ได้ และไม่ทำหนังสือขออนุญาตไปยัง คสช. คิดว่าเป็นการอ้างไม่อยากเข้าร่วมหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจว่านั่นคือจุดยืนที่ชัดเจนหรือยัง เพราะเห็นว่าคณะกรรมาธิการฯได้แถลงว่ายังไม่มีพรรคการเมืองไหนปฏิเสธซึ่งตนถือว่าการให้ข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น เป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมือง และเราไม่ได้มีส่วนในการที่จะไปอนุมัติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถือว่าเป็นหน้าที่ในฐานะพรรคการเมือง และถ้าบอกว่าจะไม่ทำหน้าที่นี้เลยก็ไม่ควรออกมาแสดงความเห็นต่อสาธารณะด้วย เพราะจะทำให้มีอิทธิพลต่อคนที่เขาทำอยู่


“ประเด็นที่พรรคจะนำไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ อาทิ ระบบการเลือกตั้ง ที่อาจจะมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยุคปัจจุบันมากขึ้น ส่วนแนวคิดแยกฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารออกจากกัน นั้น ผมคิดว่าเรากำลังจะถอยออกมาจากระบบรัฐสภาดั้งเดิม ซึ่งประเด็นที่ต้องคิดเป็นพิเศษคือ เราต้องมีคำตอบว่าการเลือกผู้บริหารโดยตรง จะให้ผู้บริหารรับผิดชอบรับผิดชอบการบริหารประเทศอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้อำนาจเกินขอบเขต ลุแก่อำนาจ โจทย์ใหญ่ที่สุดของประเทศ คือทำอย่างไรฝ่ายบริหารนั้นไม่เหลิงอำนาจ ฉะนั้นสมมติว่าเกิดกรณีว่าฝ่ายบริหารนั้นตรวจสอบไม่ได้ ขยายอำนาจตัวเองมากขึ้น สภาไล่ออกไม่ได้ เรื่องลาออกนั้นผมว่าระบบแบบนี้น้อยมากที่จะเกิดขึ้น เพราะเขาถือว่าเลือกมาแล้วอยู่ 4-7ปี ซึ่งก็แล้วแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนดนี้ ถ้าเลือกตรงแล้วเขาบอกว่า วาระต้องแน่นอน เขาได้รับเลือกมาอย่างนี้จะทำอย่างไร คุณต้องมีคำตอบตรงนี้”



เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์