ได้มีมติให้เลื่อนการดำเนินการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ตามข้อกล่าวหาของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่กล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวว่า หลังจากฟังคำชี้แจงต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช. )ของบรรดาทีมทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีเหตุรับฟังได้ต่อกรณีที่จะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกไปเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทีมทนายของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ เคยใช้เป็นประจำ แม้แต่ในขั้นตอนชี้แจงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ได้เปิดโอกาสให้มีการตั้ง กรรมธิการซักถามผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งตนเสนอให้เชิญ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานตรวจสอบปริมาณ และคุณภาพข้าวในโกดัง เพื่อมาซักถามให้เห็นความเสียหาย พร้อมภาพประกอบ เพื่อเปรียบเทียบอดีตที่ผ่านมาที่รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ยืนยันมาตลอดว่าข้าวสารในโกดังไม่มีปัญหา แม้ฝ่ายค้านขณะนั้นจะท้าทายตรวจสอบโกดังร่วมกัน นอกจากนี้ ตนขอเสนอให้เชิญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) หรือ แม้แต่ประธานอนุกรรมการปิดบัญชีจำนำข้าว มาชี้แจงให้เห็นภาระของประเทศ ทั้งปัจจุบันและอนาคต ไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในการซื้อขายข้าว แต่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นภาระดอกเบี้ย ค่าจัดเก็บข้าวในโกดังและค่าบริหารจัดการ ผมเชื่อว่าข้อมูลความเสียหายเหล่านี้ คงชี้ให้เห็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของชาติ ที่ ป.ป.ช.พยายามชี้แล้วทำไมไม่ระงับยับยั้ง ประกอบกับข้อมูลที่ป.ป.ช.เสนอต่อ สนช.น่าจะเพียงพอต่อการตัดสินใจของสนช.
โครงการรับจำนำข้าวมีมาตั้งแต่สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี และรัฐบุรุษ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำไมจึงมาลงโทษ น.ส.ยิ่งลักษณ์คนเดียว ซึ่งตนต้องเรียนว่ายุคก่อนๆ รัฐบาลรับจำนำต่ำกว่าราคาตลาดและที่สำคัญแค่ประมาณ 30เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ไม่ได้จำนำสูงกว่าตลาดถึง50 เปอร์เซ็นต์ และรับทุกเมล็ดจนมีคนเตือนแล้วเตือนอีกแต่ไม่รับฟัง อีกอย่างความเป็นนักการเมือง ไม่ใช่คนธรรมดา จึงต้องมีความรับผิดทางการเมือง และความรับผิดทางอาญา โดยขั้นตอนรับผิดทางการเมืองกับอาญาตามกระบวนการจะถูกแยกออกจากกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่มีคนพยายามเอามาปนกัน