'อภิสิทธิ์' ชี้ ตรวจสอบทุจริต 'รบ.ประยุทธ์' อาจไม่เข้มเท่า รบ.ลต. ย้ำปัญหาที่ต้องตระหนัก 'ปากท้อง-สวัสดิการ' แนะ 'นิรโทษกรรม' เฉพาะคนชุมนุมทางการเมืองโดยสุจริต
เป็นรัฐบาลที่ค่อนข้างมีอำนาจเบ็ดเสร็จ สามารถทำอะไรได้เร็ว สำหรับกลไกการตรวจสอบ แม้ว่าจะยังมีอยู่ทั้งองค์กรอิสระ หรือรัฐสภา ซึ่งข้อได้เปรียบที่อาจเห็นได้ชัด คือ การออกกฎหมาย จะมีมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องยอมรับว่า กระบวนการตรวจสอบ จะไม่เข้มข้นเท่ายุคที่เป็นประชาธิปไตย เช่น 1. กลไกการตรวจสอบการทุจริต คอร์รัปชั่น หรือนโยบายที่ผิดพลาด อาจจะไม่เข้มแข็ง ซึ่งเรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้บริหาร ว่าจะมีวิธีการที่จะทำให้การตรวจสอบดำเนินการไปได้ 2. ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ สะท้อนความต้องการของประชาชนหรือไม่ เพราะจะไม่มีตัวบ่งชี้ใดๆ ที่จะระบุได้ ในระบบเลือกตั้งจะมีนโยบายที่ได้หาเสียงมาเป็นตัวชี้วัด
ทั้งนี้การเปรียบเทียบดังกล่าว อาจจะใช้ไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ เข้ามาในภาวะชั่วคราว เพื่อจัดระบบ ยับยั้งความเสียหาย มองได้ว่า เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจ ที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี
คือ ทั้งในเรื่องปัญหาปากท้อง หรือสวัสดิการต่างๆ ที่ประชาชนจะได้รับ จะมีวิธีการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่าง เพราะต้องยอมรับว่า แม้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็จะได้รับรายงาน หรือข้อมูลจากทางราชการแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ค่อยตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เมื่อเทียบกับรัฐบาลที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง ก็อาจจะมีปัญหามากขึ้น ส่วนการปราบปรามการทุจริต เป็นเรื่องที่ทุกคนเอาใจช่วยให้ทำให้สำเร็จ ซึ่งหากผู้ปฏิบัติ ไม่ได้ติดอยู่กับวงจรของธุรกิจการเมือง เรื่องนี้จะมีการดำเนินการได้อย่างเด็ดขาด แต่เมื่อใดที่การตรวจสอบหายไป ความเสี่ยงการทุจริตก็จะมีมากขึ้น