กล่าวถึงแนวคิดในการออกกติกาให้พรรคการเมืองอ่อนแอลง ว่า แนวคิดนี้น่าจะหมดไป เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาได้ฟ้องประชาชนและชาวโลกแล้ว ไม่ว่าจะยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน ประชาชนเขาก็เลือกมาเป็นเสียงข้างมาก เรื่องนี้ควรเป็นบทเรียนที่ไม่ควรกระทำซ้ำ เพราะรังแต่จะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่อาสาเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง
มาโดยวิธีการซื้อเสียงนั้น ผู้ที่ใช้เงินซื้อเสียงนั้นส่วนใหญ่จะสอบตก เพราะชาวบ้านเขารู้ทัน ถึงรับเงินจริงเขาก็กาเบอร์ที่ชอบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเงินมิใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกตั้ง แต่ปัจจัยสำคัญคือผู้สมัครที่มีคุณภาพและนโยบายของพรรคที่โดนใจประชาชน มากกว่าส่วนเรื่องเผด็จการรัฐสภานั้นก็เข้าใจกันคนละมุมมองเมื่อประชาชน เลือกพรรคเราเข้ามามากกว่า แสดงว่าประชาชนมอบหมายให้พรรคเราเป็นตัวแทนเขาในการบริหารประเทศ จะว่าเป็นเผด็จการรัฐสภาได้อย่างไร รัฐบาลมีกรอบเวลาในการบริหารชัดเจน บริหารไม่ดี ทุจริตคอร์รัปชั่น รอบต่อไปประชาชนเขาก็ไม่เลือก อย่างประเทศญี่ปุ่นพรรคแอลดีพีครองอำนาจอย่างยาวนาน ก็ไม่ถูกต่อว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา แต่ประเทศเขากลับเจริญยิ่งขึ้นเพราะการเมืองเขามั่นคง
เรามีแต่ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การใช้คำระบอบทักษิณเป็นเพียงวาทกรรมที่จะทำลายพ.ต.ท.ทักษิณในทางการเมือง ส่วนการบริหารงานในพรรคเพื่อไทย เรามีคณะกรรมการและคณะทำงานหลายคณะ แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารพรรค ถ้าทำผิดกฎหมายก็ต้องรับโทษทางอาญาและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ส่วนการที่สมาชิกพรรคจะปรึกษาเรื่องสำคัญๆ กับผู้ใหญ่ในพรรคมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามวัฒนธรรม
ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ทำตามโรดแม็พที่วางไว้ และหวังว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จะทำงานไปในทิศทางเดียวกับโรดแม็พที่คสช.ได้วางไว้ คือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง ใครทำงานเลยธงก็คงเป็นเสียงส่วนน้อยซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา ทั้งนี้ตนก็พร้อมให้โอกาสพล.อ.ประยุทธ์ ได้ทำงาน แต่ก็จะคอยติดตามให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะตามโอกาสอันควร