[ชมคลิป] คำต่อคำ ประยุทธคืนความสุขให้คนไทย(ฉบับเต็ม)



รายการคืนความสุขให้คนในชาติ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  กล่าวในรายการ

“คืนความสุขให้คนในชาติ”  ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557 เวลา 20.40 น.

-------------------------------------------------
​สวัสดีครับ วันนี้เรามาพบกันอีกครั้งหนึ่งในนามของ คสช. กระผมอยากจะเรียนความคืบของการ    ทำงานในทุก ๆ ด้านที่ผ่านมา
​งานด้านความมั่นคง ในเรื่องของการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา มีการประกาศกฎอัยการศึก เราได้มีการจับกุมอาวุธปืนสงคราม จำนวน 88 กระบอก ปืนเถื่อน ทั้งปืนพก ปืนลูกซอง ปืนผลิตเอง จำนวนทั้งสิ้น 1,268 กระบอก กระสุน 7,000 กว่านัด  ลูกระเบิด วัตถุระเบิด 300 กว่าลูก และการจับกุมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศนั้น จะยังคงเร่งดำเนินการต่อไป

​ส่วนของการติดตามสืบสวนสอบสวนจับกุมเครือข่ายกองกำลังติดอาวุธนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธสงครามมีความคืบหน้าไปมาก ปัจจุบันก็ได้สืบทราบตรวจสอบพบเครือข่าย ทั้งผู้สนับสนุน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่หลายฝ่ายหลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งในส่วนของกลุ่มการเมือง ธุรกิจผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ ในสถานการณ์ปกตินั้น เราทำไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเวลานี้ ทั้งหมดนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป

​การประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก บางมาตราโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการห้ามออกนอกเคหะสถาน เราได้มีการประกาศไปแล้ว ทั้งหมดมีการยกเลิกไป 4 ครั้ง แล้วประกาศ โดยฉบับประกาศของ คสช. ทั้งหมดมีฉบับที่ 52, 54, 56, และ 60 รวมทั้งสิ้น 30 พื้นที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นการท่องเที่ยวผ่อนคลาย บรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน ปัจจุบันยกเลิกไปแล้วทั้งหมดจำนวน 25 จังหวัด และขณะนี้กำลังพิจารณาว่าเราจะสามารถยกเลิกได้ทุกพื้นที่หรือไม่ ก็จะดำเนินการให้ได้โดยเร็ว

ที่ผ่านมา ในส่วนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เรามุ่งเน้นการใช้กฎหมายปกติเป็นหลัก ในด้านการปราบปราม การกระทำผิดกฎหมาย อาทิ การปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด ขบวนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เรามีการบูรณาการหน่วยงานความมั่นคง ทั้งตำรวจ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)  สายงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และภาคอื่น ๆ รวมทั้งภาคประชาชนได้ร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

​อย่างไรก็ตาม กฎหมายปกตินั้น เราจะพยายามใช้ให้มากที่สุด และใช้กฎอัยการศึกเท่าที่จำเป็น ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ และมีการเคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเราทุกคนต้องเคารพกฎหมาย และกติกาของสังคม กฎหมายมีไว้ทำให้สังคมนั้นอยู่ร่วมกันได้ เราจะไม่ใช้กฎหมาย  มาสร้างความขัดแย้ง

​ความคืบหน้าผลของการสร้างความเข้าใจให้กับบุคคลที่มีความเห็นต่างหรือขัดแย้งกันในสังคมที่ผ่านมาในอดีต การเรียกบุคคลมารายงานตัว ได้รับความร่วมมือจากบุคคลเหล่านั้นเป็นอย่างดียิ่ง และพร้อมที่จะร่วมสนับสนุนงานรักษาความสงบเรียบร้อย การปรองดองสมานฉันท์เป็นอย่างดี นอกจากนั้น กิจกรรมในการส่งเสริมการปรองดองของมวลชนได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด 56 จังหวัด มียอดคนเข้าร่วมหลายแสนคนในจำนวน 319 หมู่บ้าน ในชั้นต้นได้มีการพบปะพูดคุยกันอย่างอิสระ ปราศจากแกนนำ การชี้นำ ทั้งนี้เพื่อให้รู้ข้อเท็จจริงที่ได้อย่างครบถ้วน

สำหรับการดำเนินงานในเรื่องของการสร้างความปรองดองในระยะที่ 1 ปัจจุบันนั้น จะเริ่มตั้งแต่การลดความขัดแย้ง จัดกิจกรรมให้ประชาชนเข้ามาพบปะกัน โดยให้ทุกคนได้มีโอกาสที่จะรับฟังความเห็นต่าง หรือรับฟังให้ครบถ้วนในทุกแง่ ทุกมุม ที่ผ่านมานั้นจะฟังแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ลดความหวาดระแวง ในเรื่องของการให้ความยุติธรรม การบังคับใช้กฎหมายแต่เพียง พอดีนั้น จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการยุติธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยตำรวจ อัยการ ศาล ซึ่งทุกอย่าง ต้องใช้เวลา และขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคน นะครับ

สถานการณ์ด้านต่างประเทศ ปัจจุบันมิตรประเทศต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเรามาโดยตลอดก็เริ่มมีท่าทีที่ดีขึ้น เข้าใจถึงสถานการณ์ในประเทศไทยมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ยังคงดำเนินการไปตามปกติ มีการแลกเปลี่ยน ติดต่อราชการระหว่างประเทศในแต่ละกระทรวง อาทิ การเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ของกระทรวงกลาโหมตามคำเชิญเดิมของสาธารณรัฐประชาชนจีน การเยือนประเทศออสเตรเลีย ของข้าราชการในกระทรวงยุติธรรมตามแผนงานเดิม กลุ่มนักธุรกิจประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น ที่เราได้เชิญมาพบแล้วมีความเข้าใจมากขึ้น และก็มีแผนที่จะเชิญผู้ประกอบการของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรปมาเพิ่มเติมในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพื่อให้ทุกคนมีความเชื่อมั่น และยังคงการลงทุนในประเทศไทยดังเดิม หรือขยายความร่วมมือมากยิ่งขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม เราจะคงดำเนินการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเรียกความเชื่อมั่นในเวทีต่างประเทศในทุกภาคส่วน ทั้งในด้านการทูต ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ทั้งภาคราชการและเอกชนอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมาเราได้พบปะหารือกับเอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ประจำต่างประเทศของไทย จำนวน 23 ท่าน  มอบหมายให้แต่ละประเทศนั้น ได้ไปสร้างความเข้าใจ และเอาข้อมูลข้อเท็จจริง และความจำเป็นในการเข้าควบคุมอำนาจของ คสช. ในครั้งนี้ ตลอดจนชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน การเตรียมการด้านการปฏิรูป การดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศที่เรายังคงดำรงไว้เช่นเดิม แล้วส่งเสริมให้มากยิ่งขึ้น เน้นในเรื่องของการค้าเสรี การดูแลผลประโยชน์ของมิตรประเทศทุกประเทศในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อจะเผยแพร่ให้มิตรประเทศได้รับทราบ

ในส่วนของงานการเดินหน้าเรื่องการปฏิรูป ปัจจุบันระยะที่หนึ่ง 3 เดือนแรกของเรามีความคืบหน้าไปมาก เราคาดหวังว่าในระยะที่สอง ซึ่งเราจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถ้าไม่มีปัญหาแทรกซ้อนใด ๆ ทั้งระยะ   ที่หนึ่งที่สองก็น่าจะเดินไปได้อย่างที่เราต้องการ ที่เตรียมการไว้ ซึ่งระยะที่หนึ่งวันนี้เรากำหนดไว้ชัดเจนว่า ราน่าจะมีรัฐบาลในเดือนกันยายน เพื่อจะได้ดำเนินการขับเคลื่อนประเทศต่อไป

ในส่วนของสภานิติบัญญัติก็เช่นเดียวกัน คงต้องเกิดขึ้นมาก่อน พร้อม ๆ กับการประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราว เมื่อหลังเดือนกันยายนไปแล้ว ก็คือเดือนตุลาคม ที่ผมย้ำเดือนก็เพราะว่ามีคำถามมาโดยตลอด แล้วเมื่อไร อย่างไร ผมก็เลยเกรงจะใช้ปฏิทินกันคนละฉบับ วันนี้น่าจะใช้ฉบับเดียวกันแล้ว เพราะฉะนั้นผมขอยืนยันกับท่านว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปคงจะเป็นการบริหารประเทศในลักษณะเป็นรัฐบาลที่มีคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วพยายามจะขับเคลื่อนไปในทางที่ใกล้เคียงกับการบริหารราชการแบบปกติที่ผ่านมาให้ได้มากที่สุด

ปัจจุบันนี้ แผนต่าง ๆ การดำเนินงานต่าง ๆ ยังคงเป็นไปตามที่วางแผนไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะประชาชนให้ความร่วมมือกับพวกเราเป็นอย่างดียิ่ง เป็นกำลังใจให้เรา เสมอมา เพราะว่าบางประเทศที่มีท่าทีที่ยังไม่เห็นชอบ หรือไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ผมและคสช. เคารพในความคิดของทุกประเทศ ไม่ได้ตอบโต้ประเทศเหล่านั้น ความสัมพันธ์เหล่านั้นยังคงมีอยู่ และยังคงต้องอยู่ต่อไปในเรื่องของความร่วมมือ และบรรยากาศที่ดีทั้งราชการ ภาคเศรษฐกิจ และประชาชน ต้องใช้เวลา ให้ประเทศเหล่านั้นได้เข้าใจ ได้ศึกษาความเข้าใจบริบทของสังคมไทย ปัญหาของเราให้เห็นการปฏิบัติงานและผลงานของ คสช. อย่างแท้จริง

ด้านเศรษฐกิจสังคมจิตวิทยา เราเน้นเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบหารือ กำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง คือเราจะต้องใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนโดยรวม ไม่ให้เกิดปัญหาอย่างเช่นที่ผ่านมา โครงการใดที่เราตรวจสอบแล้ว พิจารณาว่าไม่เหมาะสม เราก็คงต้องหยุดำเนินการ ขั้นต้นนั้นเราจะตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่วงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท แล้วพิจารณาถึงแผนงานต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป หรือไม่ อย่างไร

การตรวจสอบนั้น จะตรวจสอบโครงการทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการและโครงการที่ได้อนุมัติดำเนินการไปแล้ว เพื่อให้คลายความวิตก กังวล ความสงสัยของประชาชนอย่างเช่นที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณยังจะต้องมีการระมัดระวัง เตรียมการป้องกันในการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะกล่าวว่าใครทุจริตหรือคอร์รัปชั่น ต้องมีการพิสูจน์ยืนยัน มีหลักฐานให้ชัดเจน โดยหน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะต้องยืนยัน และหากเราเร่งอนุมัติ จำหน่าย หรือสั่งจ่ายไปในวันนี้โดยไม่ได้ทำการตรวจสอบ อาจเกิดการทุจริตในขั้นตอนการจัดทำความต้องการ หรือการกำหนด TOR  ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง  ผลกระทบที่มีต่อรัฐจะมีมากมาย คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยทุกภาคส่วน อาทิ  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการที่เพิ่มเติมโดย คสช. จัดตั้งขึ้น ยืนยันว่าเราจะทำให้ดีที่สุด

​สำหรับ การรายงานเศรษฐกิจประจำสัปดาห์ของ คสช.นั้น เราได้สรุปรวมมาจากทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แจ้งว่ามีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยโดย รวมในเดือนพฤษภาคมปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 60.7 จากเดิม 57.7 ในเดือนเมษายน ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศของเรา วันนี้มีการผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น  ผู้บริโภคมีความกังวลทางการเมือง ความขัดแย้ง มีความกังวลลดลง ค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งขึ้น นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตราสารหนี้มีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มเติม เป็นจำนวน 8,000 ล้านบาท และ 9,000 ล้านบาท ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนต่าง ๆ ทั้งในแนวทางการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของ คสช. ในภาพรวมเป็นอย่างดี
ในภาพการท่องเที่ยวปัจจุบัน ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา  จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลง ผมไม่อยากให้ย้อนกลับไปเมื่อ ไตรมาสที่แล้ว ปีที่แล้ว วันนี้ต้องย้อนกลับไปก่อน 22 พฤษภาคม ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร ไม่อย่างนั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้ ฉะนั้นวันนี้ตั้งแต่สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา  จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมาตามลำดับจากปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว  วันนี้ได้ปรับตัวในภาวะที่ดีขึ้น ผมยังไม่อยากใช้คำว่าปกติ เนื่องจากมีการผ่อนคลาย มีความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจได้มากขึ้น  วันนี้เราได้หารือกับทุกส่วนราชการ  ได้ช่วยกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ช่วยกันเชิญชวนทุกประเทศผ่านทุกช่องทาง ไปยังทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า ประเทศคู่ค้า ประกอบกิจการร่วมกับไทย ได้ช่วยกันชี้แจงเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น โดยเรามีข้อสังเกตว่าหลังจากวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวได้มีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งคงจะสรุปให้ทราบต่อไป

การจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวนา วันนี้ก้าวหน้าไปมาก  จ่ายเงินไปจำนวนทั้งสิ้นหกแสนกว่าราย ประมาณ เกือบ 70,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จให้ทันภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2557 ตามที่กำหนดไว้เดิม
สำหรับ การกำหนดแนวทางการช่วยเหลือในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป เราได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว จะเร่งรัดจัดทำมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งขณะนี้ คสช. ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องเกษตรกรทราบมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในรายละเอียดของมาตรการต่าง ๆ นั้น วันนี้กำลังอยู่ในขั้นการพิจารณาเพื่อตกลงใจและสั่งการ  ซึ่งคงจะต้องครอบคลุมไปถึงผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ ด้วย

​เรื่องของแนวทางการบริหารจัดการน้ำของประเทศ   เรามีปัญหาเรื่องน้ำมาโดยตลอด วันนี้ได้มีการประชุมทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ คงไม่ใช่พูดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของการเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มาดูว่าเฉพาะเรื่องน้ำได้มีการดำเนินการมาอย่างไร เราพิจารณาแล้วว่าจะมีปัญหาในเรื่องความเป็นเอกภาพ การบูรณาการ แผนงาน งบประมาณของทุกกระทรวงทบวง  กรม  ที่เกี่ยวข้องในเรื่องน้ำ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  วันนี้กำลังทำอยู่  ฉะนั้นผมคิดว่าถ้าเราทำได้อย่างนี้ ในระยะแรกปี 2557 นี้เริ่มต้นได้ก่อน  จะบูรณาการไปยังแผนใหญ่ และแผนพัฒนาฯ   ฉบับที่ 11 ได้

​ผม เรียนว่าคงไม่ใช่เรื่องน้ำอย่างเดียว  เพราะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 กำหนดไว้หลายด้านด้วยกัน  ถ้าเราสามารถเริ่มต้นได้ในปี 2557 ต่อไปเราจะดำเนินการให้เป็นทั้งแผนงานเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่มีความเดือดร้อน ของประชาชน และต่อไปเป็นระยะกลาง ระยะยาว  คือต้องตอบคำถามได้ว่า 10 ปีนี้เราจะแก้ปัญหาน้ำได้อย่างไร  ทุก 5 ปีจะเกิดอะไรขึ้น และจากนั้นจะย้อนกลับมาว่าแต่ละปีเราจะทำอะไร  ใช้งบประมาณตรงไหนเท่าไหร่ งบรายจ่ายประจำปี หรืองบลงทุนร่วมภาครัฐภาคเอกชน หรือจะใช้งบประมาณจากที่ใดก็ตาม ต้องมีการขับเคลื่อน  เริ่มต้นจากวันนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ให้ได้โดยเร็ว

​การบรรเทาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพของประชาชน อันนี้เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก วันนี้ให้กระทรวงพาณิชย์เชิญผู้ประกอบการทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องสินค้าอุปโภค บริโภค ที่มีความจำเป็นพื้นฐานในการบริโภค จำนวน 205 รายการ มาร่วมประชุม ทั้งนี้ต้องขอบคุณผู้ประกอบการทั้งหมดที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง โดยยืนยันว่าจะคงราคาสินค้าที่จำเป็นดังกล่าวไว้ที่ราคาเดิมต่อไปอีก 6 เดือนข้างหน้า ต้องขอบคุณอีกครั้ง ทุกส่วนช่วยกันแก้ปัญหาการผูกขาด การเอาเปรียบจากนายทุน การลดต้นทุนภาคขนส่ง การส่งเสริมการตลาด จะต้องช่วยกันในทุก ๆ ด้าน

​นอกจากนั้น  ยังมีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือใครก็ตามที่อยากจะช่วยเรา ที่มีขีดความสามารถในการบรรเทาความเดือดร้อนปัญหาค่าครองชีพ ได้จัดกิจกรรมช่วยเหลือประชาชน อาทิ ให้กองทัพบก ทุกเหล่าทัพ และทุกหน่วยงาน ที่มีขีดความสามารถจัดการจำหน่ายสินค้าราคาถูกโดยตรงจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค  มุ่งเน้นในเรื่องการดูแลเกษตรกรผู้ผลิตรายย่อย  ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ จัดทำแผนงานหรือมาตรการในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร  ผลไม้ให้มีราคาสูง  เพื่อเกษตรกร  ประชาชน  จะได้ผลผลิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
​เรื่องของนมโรงเรียนที่มีปัญหามาโดยตลอด ได้อนุมัติให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนม (อ.ส.ค.) เป็นผู้บริหารจัดการนมโรงเรียนทั้งระบบ และเน้นย้ำให้มีคุณภาพ มีความความโปร่งใส เพื่อให้นักเรียนทั้งประเทศได้รับประทานอย่างทั่วถึง รวมทั้งการแก้ปัญหาให้กับสหกรณ์โคนมอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย

เรื่องของการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ผมเรียนแล้วว่ามีปัญหามากมาย  มีแรงงานต่างด้าวจำนวนประมาณ 90,000 คน ที่ยังไม่ได้อยู่ในการควบคุมอย่างชัดเจน เราได้กำหนดไปแล้วโดยให้หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คือ ท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบในการไปเชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการ ในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารในภาพรวม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ให้เกิดความรวดเร็ว ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุดในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ตัวเลข 90,000 สิ่งที่เป็นปัญหาตรงนี้คือการควบคุมแรงงานทั้งเช้าไปเย็นกลับ ทั้งตามฤดูกาลและในส่วนของรายปี  ปัญหาคือการรอพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งเราจำเป็นต้องตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติของเราให้ได้โดยเร็ว วันนี้เราตั้งข้างเดียวคงไม่ได้ ต้องขอความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้านด้วย ว่าต้นทางมาอย่างไร ปลายทางเราจะส่งกลับไปอย่างไร มีการจัดศูนย์การส่งแรงงานกันหรือไม่ อันนี้ต้องคุยกันใช้เวลาพอสมควร  ผมจะเร่งให้เสร็จโดยเร็วภายในระยะเวลาประมาณ 1 ปี

​เรื่องการกำหนดแนวทางเปิดพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ขออนุญาตกราบเรียนว่า ที่เรามุ่งเน้นคือไม่ใช่เฉพาะช่องทางเข้าออกเท่านั้น เราเน้นไปสู่ชนบทด้วย เพราะเราได้เคยเสนอมาทุกรัฐบาลแล้ว ในเรื่องของการทำอย่างไรจะไม่มีคนเข้ามาในพื้นที่ตอนใน ไม่มีการทำผิดกฎหมาย อาชญากรรม ยาเสพติดอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ฉะนั้นถ้าเรากันคนเหล่านี้ไว้ได้ตามแนวชายแดน ให้เขาสามารถที่จะมีรายได้ของเขาแบบเช้าไปเย็นกลับได้  เพื่อนบ้านและคนของเราจะได้มีงานทำเพื่อจะให้คนในครอบครัวมีรายจ่ายประจำวันได้  ผมว่าจะลดปัญหาลงไปได้มาก

​เราต้องเร่งประชาสัมพันธ์ในเรื่องของการสวมสิทธิ์ผลิตผลทางการเกษตร ที่คุณภาพอาจจะต่ำกว่าเรา  ซึ่งมักจะเป็นปัญหามาโดยตลอด ถ้าเราสามารถทำได้  เป็นแนวคิดแนวพิจารณาในขณะนี้ ได้มอบไปแล้วว่า เป็นไปได้หรือไม่ถ้าเราจะสร้างระบบสหกรณ์ของภาคประชาชนให้เข้มแข็งตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ถ้าเข้มแข็งได้ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเหล่านั้น ก็จะมีการให้ซื้อขายโดยมีข้อยกเว้นเรื่องภาษีด้วย กฎหมายบางประการ คำว่าเศรษฐกิจพิเศษของผมคือว่า คำว่าพิเศษยังถือกฎหมายคนละฉบับทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น ของเหล่านี้ก็รั่วไหล ก็เป็นการก่อให้เกิดการทุจริต ผิดกฎหมายอะไรสารพัด

ถ้า จะทำให้ถูกต้อง มีการยกเว้นไว้บ้าง อันนี้ผมได้เตรียมการพิจารณาจะได้บรรเทารักรอบเข้ามาสวมสิทธิ์กันในประเทศ ได้อย่างยั่งยืนกันต่อไป และการที่เอาเข้ามาตรงนี้ไม่ใช่เอาเข้ามาแล้วมาขายในบ้านเรา คงไม่ใช่ ก็เข้ามารวบรวมไว้มีการบริหารจัดการไว้โดยท้องถิ่น และเราปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น จากคุณภาพต่ำให้ดีขึ้น ๆ เราก็ไม่ขายในประเทศ เราอาจจะไปส่งขายในประเทศอื่น ๆ มันก็อาจจะทำให้การสวมสิทธิ์ของเรานั้นลดลงโดยอัตโนมัติ
ปัญหา โครงสร้างพลังงาน อยากจะเรียนชี้แจงว่า บางครั้งจากคำถามของพี่น้องประชาชนผมเข้าใจว่า ท่านก็เดือดร้อน ท่านมีความเป็นห่วงในเรื่องของความโปร่งใส ผลประโยชน์ของชาติอะไรก็แล้วแต่ วันนี้ผมคิดว่าข้อมูลค่อยไม่ตรงกัน อาจจะเป็นคำอธิบายที่ยากเกินไป วันนี้ผมได้กำหนดแนวทางไปแล้วว่าทุกคนจะต้องสื่อสารไปถึงประชาชนโดยรวมให้ ได้โดยการใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการมากนัก เอาคำถามของที่ประชาชนสงสัยมาเป็นโจทย์ แล้วข้าราชการทุกส่วนทุกภาคต้องตอบเป็นภาษาง่าย ๆ คือไม่ใช่ภาษาราชการโดยฟังไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นประชาชนก็ขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี ข้อมูลก็ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนขบวนความ ก็เลยเกิดเรื่องความขัดแย้งมาโดยตลอด เพราะว่าการพิจารณาด้านพลังงานคงไม่ใช่เรื่องราคา อะไรทั้งนั้น คงต้องไปคิดต่อว่าเราจะสามารถจัดหาพลังงานให้เพียงพออย่างไร ต่อความต้องการที่ใช้เพิ่มเติมในอนาคต พลังงานสำรองการจัดหาพลังงานภายในประเทศ อาทิ การบริหารจัดการพลังงานของเราขณะนี้เราต้องมองว่า เรายังไม่ก้าวไปถึงสู่การ เช่น เรื่องน้ำมันเราคงไม่ถึงการเจาะและนำมาผลิตเองทั้งหมด ซึ่งถ้าแบบนั้นเราสามารถกำหนดราคาได้เองบ้างทำนองนั้น แต่อันนี้เราจะได้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศ ผมคิดว่ามันมาจาก 2 อย่าง ด้วยกันก็คือค่าสัมปทาน อันที่ 2 ก็เรื่องภาษีต่าง ๆ ตามขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ ก็แล้วแต่

โดยสรุปแล้วเป็นเหมือนกับเราเป็นการนำเข้าพลังงานเกือบทั้งหมด ทั้งแก๊ส ทั้งน้ำมัน อันนี้ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน แต่ถ้ามันไม่ใช่เดี๋ยวให้กรรมการพิจารณาขึ้นมาอีกที ผมกราบเรียนชั้นต้นในขณะนี้ก่อน เรายังไม่มีความสามารถที่จะเป็นประเทศที่ผลิตเอง ส่งออกและใช้ในประเทศอย่างครบถ้วน อย่างที่หลาย ๆ ฝ่ายอาจจะคิดกันมันเป็นเรื่องของรายได้ที่กลับมาบางส่วน ส่วนหนึ่งเป็นส่วนของรัฐวิสาหกิจ ส่วนหนึ่งเป็นของภาคธุรกิจ บริษัทมหาชน ต้องแยกให้ออกว่ากำไรที่มาทั้งหมดที่ว่าเป็นจำนวนมาก ๆ มายังไง ซึ่งผมคิดว่ามีแนวคิดพอสมควรได้มอบหมายไปแล้ว ทำยังไงประชาชนจะเข้าใจ ซึ่งผมคิดว่าคงต้องขอข้อมูลจาก ปตท. (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีทั้ง 2 อย่าง ในการทำงานทั้งในการเป็นรัฐวิสาหกิจและการเป็นบริษัทมหาชนด้วย

ในเรื่องของพลังงานทดแทน ผมคิดว่า เราคงมุ่งหวังจะใช้จากแก๊ส จากไฟฟ้า จากน้ำมัน อย่างเดียวไม่ได้แล้วเราคงต้องสร้างเสริมพลังงานทดแทน และใช้ผลผลิตภายในประเทศ เพื่อลดภาระการนำเข้าของพลังงานเดิม รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีอยู่จำกัด ผมเรียนว่าข้อมูลที่ผมได้มาในวันนี้นั้น เราไม่ได้มีมากมายเท่าไหร่นัก เพราะฉะนั้นอยู่ที่เราจะวางแผนการใช้อย่างไร เพื่อจะมีพลังงานสำรองในอนาคตไว้ด้วย ถ้าเราขุดเจาะมาและเอามาใช้ทั้งหมดก็หมดเร็ว วันหน้าเราก็ไม่มีพลังงานเหลืออยู่ เป็นพลังงานสำรอง ฉะนั้นเราต้องใช้พลังงานทดแทนในทุก ๆ ด้าน อย่างทั่วถึง ในทุกพื้นที่ต้องแก้ไข ต้องเร่งดำเนินการ
         
ราคาต่าง ๆ นั้น เรื่องพลังงานนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ต้องนำไปพิจารณาโดยรวมทั้งระบบต้นทุนมาจากไหน การกำหนดราคากำหนดไว้อย่างไร จากผู้ผลิต ผู้บริโภค สอดคล้องกับตลาดในประทศ นอกประเทศ มีเหตุผลไหม ที่จะตอบคำถามได้ ทั้งนี้เราต้องการไม่ให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพของประชาชน และไม่กระทบต่อโครงสร้างรายได้ของประเทศด้วย เพราะมีผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น มันจากเรื่องหนึ่งไปเรื่องหนึ่งมีการยึดโยงมากมาย
         
ในเรื่องกองทุนน้ำมันเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ วันนี้นี้เรามีข้อมูลมากพอสมควร คือเรื่องนี้ก็คือ การจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2516 และได้แก้ปัญหาทางด้านพลังงานและเรื่องน้ำมัน จากก๊าซมาโดยตลอด วันนี้ยังต้องศึกษาและสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่า ถ้าลดตรงนี้ ตรงนั้นต้องเพิ่ม ไปตามกลไกของท้องตลาดจะรับได้ไหม พอรับไม่ได้ เราจะทำยังไง วันนี้น้ำมันติดลบประมาณ 7,400 ล้านซึ่งติดลบ ฉะนั้นถ้าเราไม่เก็บจะได้ไหม ไม่เก็บแล้วทำยังไง ต้องหาคำตอบอยู่ตอนนี้  คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่แต่งตั้งขึ้นมาเร็ว ๆ นี้ ก็จะไปแก้ไข รวมความไปถึงคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กอ.) อันนี้กลไก ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ใช่ว่าสั่งปุ๊บได้ปั๊บเหมือนเปิดไฟปิดไฟไม่ได้หรอก เดี๋ยวก็ไฟดับทั้งหมดทั้งประเทศ ฉะนั้นจะต้องพิจารณาข้อมูล กำกับการดำเนินงานทั้งหมดให้เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย เป็นหลักต้องฟังเสียงข้างน้อยบ้าง ที่ผ่านมาบางครั้งบางทีการสื่อสารไม่เข้าใจกัน การสื่อสารต้องมีทั้งสองทางจากบนลงล่าง ล่างขึ้นบน และฟังเสียงข้าง ๆ เขาไว้ด้วยไม่อย่างนั้นปัญหาก็แก้ไม่ได้ ก็เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต
ในส่วนของการขับเคลื่อนอื่น ๆ นั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพลังงานนั้น เราต้องคำนึงถึงความมั่นคงด้วย วันนี้ถ้าเราพึ่งพาอาศัยจากประทศเพื่อนบ้านอย่างเดียว พอมีปัญหาเรื่องการส่งก๊าซ ส่งไฟฟ้าอะไรต่าง ๆ ซึ่ง ใช่ครับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรื่องการแลกเปลี่ยนการค้าอะไรต่าง ๆ มันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่ต้องคำนึงถึงว่าประเทศเรานั้นต้องการพลังงานเท่าไหร่ ที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง วันนี้เราต้องเตรียมการเหล่านี้ไม่ใช่เราต้องพึ่งทั้งหมด ถ้าพึ่งทั้งหมดไม่ได้ เราต้องทำเอง ถ้าเราใช้พลังงานจากใต้ดินมันไม่พอ เราก็ต้องส่งเสริมความเข้มแข็งโดยการสร้างพลังงานทดแทนให้ได้โดยเร็ว
ในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนวันนี้ คสช. ได้ออกประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชื่อว่า BOI เรียบร้อยไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมาก็ได้รวบรวมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมด้วย เดิมจะไม่มีอยู่หลายส่วนด้วยกัน วันนี้จะเพิ่มเติมส่วนที่ขาด ๆ อยู่ ในเรื่องของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม วันนี้ก็จัดท่านนายกสมาคมฯ เข้าไปร่วมด้วย (นายกสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)  สำหรับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่จะรีบประชุมโดยเร็ว มีโครงการต่าง ๆ ที่ขอรับการสนับสนุนส่งเสริม ขนาดการลงทุนเกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ประมาณสัก 400 กว่าโครงการ วงเงินลงทุนประมาณ 7.6 แสนล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยเร็ว ความเชื่อมั่น มีความไว้วางใจกับนักลงทุนจะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
​นอกจากนั้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาถึงยุทธศาสตร์ในอนาคต ซึ่งผมได้มอบนโยบายไปแล้วว่าจะต้องมุ่งเน้นอุตสาหกรรมทั้งที่ใช้เทคโนโลยีสูง ควบคู่ไปกับเรื่องของการกิจการที่ใช้แรงงานด้วย เพราะเราจะต้องสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนระดับรายได้น้อยด้วย เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาเราจะมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้แรงงานเป็นหลัก วันนี้เราต้องส่งเสริมเรื่องของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทยได้อย่างแท้จริง เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มในการใช้วัถุดิบในประเทศให้ได้มากที่สุด มีการประหยัดพลังงงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น เอทานอล ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ จะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่สะอาดไม่เพิ่มมลภาวะ เพิ่มมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อจะให้ประเทศไทยนั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้น ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เราจะได้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตในการจัดตั้งโรงงานไปแล้ว เช่น โรงงานสี่ (การขอใบอนุญาต ร.ง 4) ที่อนุมัติอยู่แล้วเราจะพิจารณา ให้จัดตั้งให้ได้แล้วเสร็จโดยเร็วตามข้อพิจารณาเพื่อกำหนดเพิ่มเติมไปให้อยู่ในกฎเกณฑ์ที่ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น เท่ากับได้รับลำดับความเร่งด่วนในระยะแรกก่อน
สิ่งที่เป็นปัญหาวันนี้เราจะต้องมาดูกันว่าปัญหาอยู่ตรงไหน วันนี้เราก็มาดูว่าถ้าเรานับไปแล้วภายใน 1 ปียังไม่ได้มีการสร้าง ไม่มีการเริ่มต้นก็อาจจะพิจารณายกเลิกใบอนุญาตที่อนุมัติไปแล้ว ที่เรากำลังจะทำต่อไปนี้ และห้ามเปลี่ยนสิทธิ์ที่ใบอนุญาตภายในระยะ 2 ปี โดยประมาณ ที่คิด ๆ ไว้แล้วเพื่อป้องกันการทุจริตโดยการนำใบอนุญาตดังกล่าวไปขายต่อ
การดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ นั้น ปัญหาปากท้องเป็

[ชมคลิป] คำต่อคำ ประยุทธคืนความสุขให้คนไทย(ฉบับเต็ม)


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์