นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่กกต.เชิญพรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมหารือถึงการเลือกตั้งใหม่ในวันที่22เม.ย.นี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่า สังคมไม่อยากเห็นการเลือกตั้งเป็นโมฆะอีกครั้ง ดังนั้นการหารือจึงไม่ควรเป็นการหารือว่า จะต้องเลือกตั้งภายใน45หรือ60วัน หรือภายในวันที่15มิ.ย.57ตามที่มีการออกมาระบุ เพราะการกำหนดวันเลือกตั้งที่ไม่มีหลักประกัน ว่า จะไม่เกิดปัญหา ก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ แต่ต้องทำให้การเลือกตั้งได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายก่อน เพราะหากยังไม่ได้รับการยอมรับไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะลงสมัครหรือไม่ลงสมัครก็ไม่เกิดประโยชน์กับบ้านเมืองเพราะเชื่อว่า หนังม้วนเก่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.จะย้อนกลับมาคือมีคนคัดค้านจนการเลือกตั้งเป็นโมฆะอีก และอาจเป็นการเลือกตั้งที่วิกฤตมากกว่าวันที่2ก.พ.อีก
“ปชป.” เสนอเลือกตั้งใหม่ต้องอยู่บนพื้นฐาน 5 ข้อ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง “ปชป.” เสนอเลือกตั้งใหม่ต้องอยู่บนพื้นฐาน 5 ข้อ
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการเลือกตั้งจะต้องอยู่บนพื้นฐาน 5ประการคือ 1ทุกฝ่ายมีความจริงจัง และจริงใจ2แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันโดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักไม่มีประโยชน์แอบแฝง 3นำผลการเลือกตั้ง2ก.พ. 57ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ว่า เป็นโมฆะมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะอีก4ต้องอยู่บนพื้นฐานของการเสียสละจากของหลายฝ่าย และ 5 รัฐบาลและ กกต.ต้องให้ความมั่นใจว่า การเลือกตั้งบริสุทธิ์เที่ยงธรรม ไม่มีความรุนแรง โดยพื้นฐานเหล่านี้จะทำให้การเลือกตั้งได้รับการยอมรับแม้ว่า การหารือในวันที่22เม.ย.57จะไม่ใช่บทสรุปแต่ถ้าเริ่มต้นได้ก็จะเป็นโอกาสดี แต่ถ้ายังคิดใช้การเลือกตั้งนำไปสู่การสร้างความชอบธรรมให้ตนเองการพูดคุยในวันดังกล่าวก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
นายองอาจ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศตลอดว่าพร้อมเข้าสู่สนามเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายและหาทางออกให้วิกฤตของประเทศได้เพราะคงไม่สามารถยอมรับการเลือกตั้ง เพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งพรรคจึงยืนยันว่าไม่ขัดขวางการเลือกตั้งไม่ว่าพรรคจะลงสมัครหรือไม่ก็ตาม
เมื่อถามว่า เหตุใดมองว่า การเลือกตั้งยังส่อเค้าลางว่า ไม่เรียบร้อยเกิดขึ้น นายองอาจ กล่าวว่า ขณะนี้ กปปส.ยังคงคัดค้านการเลือกตั้งโดยต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนดังนั้นข้อหารือจะต้องเป็นที่ยอมรับจากทุก ๆ ฝ่าย และกกต.จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอในการพิจารณาด้วยส่วนจะหารือกับกปปส.หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่กกต.จะพิจารณา
ด้านนายชวนนท์ กล่าวว่า การหารือในวันที่ 22 เม.ย. กับกกต.นั้นเมื่อพรรคเพื่อไทยยังมีการแสดงความไม่เคารพกระบวนการตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตยจะเป็นผู้สมัครส.ส.เป็นผู้แทนปวงชนได้อย่างไร เพราะไม่ยอมรับป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญฯ จึงขอแนะนำให้ไปหาประเทศอื่นสมัคร ส.ส.ดีกว่า ซึ่งประเด็นที่ควรจะมีการหารือคือ1กรณีที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยแสดงความไม่เคารพระบบตรวจสอบไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักการของระบอบประชาธิปไตย2. มีคนเสื้อแดงไล่อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ กกต.บางคนโดยมีการขอดูรายชื่อผู้โดยสารเครื่องบินที่สนามบินลำปางโดยเข้าไปที่เคาท์เตอร์กดคอมพิวเตอร์ดูโดยตำรวจ รปภ.ไม่มีใครทำอะไร ดังนั้นพวกตนจะไปหาเสียงได้อย่างไรหากมีการเลือกตั้งจะไม่มีการตายหรือ ในเมื่อความรุนแรงยังไม่ลดลง 3. เมื่อยังมีการไม่ยอมรับการตรวจสอบ อำนาจตุลาการและมีความรุนแรงปกป้องคนโกงก็เดินหน้าสู่การเลือกตั้งไม่ได้หากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ก็เชื่อว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น
นายชวนนท์ ยังตำหนิ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรมว.มหาดไทยที่ไม่เคยสนใจชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนจากการทุจริต โครงการจำนำข้าวแต่กลับปกป้องคนโกง ข่มขู่ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบน.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงให้เห็นว่านายจารุพงศ์ ปฏิเสธกระบวนการประชาธิปไตยของราชอาณาจักรไทยดังนั้นจึงเป็นความชอบธรรมที่ คนไทยจะปฏิเสธอำนาจของรัฐบาลเพื่อไทยอีกทั้งพฤติกรรมที่เหมือนนักเลงข้างถนน ของนายจารุพงศ์นั้น ชาวนามีสิทธิเรียกนายจารุพงศ์ ว่า เป็น “ หัวหน้าพรรคเพื่อโจร ” เพราะปกป้องโจรขโมยข้าวที่ทำให้ชาวนาฆ่าตัวตาย