จุลสิงห์ชักแม่น้ำแถ!ไม่ฟ้องแม้วคดีก่อการร้าย อ้างสั่งการนอกประเทศ

จุลสิงห์ชักแม่น้ำแถ!ไม่ฟ้องแม้วคดีก่อการร้าย อ้างสั่งการนอกประเทศ

11 ต.ค.56 ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการสื่อสารมวลชน

ที่มี นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานโดยที่ประชุมได้เชิญนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด เข้ามาชี้แจงต่อกรณีการสั่งไม่ฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในคดีก่อการร้าย

โดย นายจุลสิงห์ ชี้แจงว่า ในประเด็นการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องนั้น

ตามรัฐธรรมนูญให้ศาลกับอัยการเป็นหน่วยงานที่มีอิสระที่มีหน้าที่ในการสั่งคดีและมีการปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริตเที่ยงธรรม โดยมีเหตุผลประกอบ ซึ่งจะได้รับการคุ้มครอง ต่อให้มีผู้ไม่เห็นด้วย แต่เมื่อมีความเห็นแล้วก็ต้องยุติ ไม่มีใครจะมาบอกว่า ศาลตัดสินผิด หรือให้มีการทบทวนการพิจารณาใหม่ไม่ได้ การพิจารณากระบวนการทางศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา เมื่อกระบวนการจบก็ต้องจบ และเมื่ออัยการมีความเห็นสั้งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็ถือว่าสิ้นสุดในการพิจารณา อย่างไรก็ดีในเรื่องก่อการร้าย หากผู้กระทำผิดไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ก็เป็นไปได้ยากที่จะระบุว่าเป็นตัวการร่วม โดยในทางทฤษฎีและในความเห็นของอัยการนั้นเห็นว่า ผู้อยู่ต่างประเทศมันไม่มีโอกาสที่เป็นตัวการร่วมได้

"เรื่องนี้เป็นความผิดนอกราชอาณาจักร นอกเหนืออำนาจอัยการสูงสุดที่จะพิจารณา ถ้าประธานไปตะโกนอยู่ต่างประเทศ แต่ถ้าคนในประเทศมันไม่ทำ ก็คือมันไม่ทำ มันทำด้วยกำลังกาย กำลังใจของตัวเอง เรามองอย่างนั้น วันนี้ผมคิดว่า ไม่คิดจะใช้กฎหมายไปประหัดประหารใคร ผมว่าบ้านเมืองบอบช้ำมานาน เพราะเอากฎหมายไปประหัดประหาร และกฎหมายที่ไปประหัดประหารไม่เป็นที่ยอมรับ ผมเองมีมาตรฐาน ถ้าผิดจริงไม่เหลือ" นายจุลสิงห์ กล่าว
      
อดีตอัยการสูงสุดยังกล่าวอีกว่า ตนมักถูกกล่าวหาอยู่ฝ่ายนี้ ฝ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ตนจะสั่งคดีอย่างไร

ซึ่งตนขอยืนยันว่าอัยการอยู่ข้างความเป็นธรรม เพราะะผู้ที่ฟ้องผู้ก่อการในประเทศนั้น ตนก็เป็นผู้ฟ้องเอง ดีงนั้นจึงยืนยันว่าก่อนสั่งคดีตนได้คิดแล้วว่าถูกต้อง แม้จะมีคนไม่เห็นด้วยแต่ตนก็สั่งตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น ถ้านักการเมืองทั้งหลาย เชื่อมือคนที่มาทำหน้าที่นี้ บ้านเมือจะอยู่ได้

ทั้งนี้ กมธ.ได้ซักถามว่านิยามคำว่าก่อความไม่สงบกับก่อการร้ายอย่างไร
 
นายจุลสิงห์ ชี้แจงว่า ในประมวลกฎหมายอาญามีความผิดฐานก่อการร้ายอยู่ ตั้งแต่ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น ไปจะถึงการข่มขู่รัฐบาล กับการใช้คำว่าก่อความไม่สงบ ถามว่าอัยการสูงสุดแยกอย่างไร ถ้าดูพฤติกรรมคล้ายๆกัน แต่ตนได้พูดในที่สาธารณว่าอุดมการณ์การเมืองภายในประเทศน่าจะเป็นเรื่องการก่อความไม่สงบ เพราะความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล สิ่งเหล่านี้แก้ได้ด้วยความเข้าใจ แต่ไม่ใช่เรื่องก่อการร้ายในลักษณะที่ไปเอาเงิน ไปเรียกค่าไถ่ แล้วข่มขู่รัฐบาลให้ปล่อยตัวคนนั้นคนนี้ เรียกเงินอย่างนั้นอย่างนี้ อันนี้คือก่อการร้าย ซึ่งในกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณนั้นเราสั่งไม่ฟ้องในฐานก่อการร้าย เพราะคิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องอธิบายทำความเข้าใจ เป็นเรื่องที่คุยกันได้ เพราะประชาชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่อยู่แล้ว เสียงส่วนน้อยก็รอไป เมื่อเสียงส่วนใหญ่ไปไม่รอด เสียงส่วนน้อยก็ขึ้นมา เป็นเรื่องธรรมดา ผมถึงได้มีความเห็นที่ต้องออกกฎหมายการชุมนุม



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์