จวกยับ! อาเศียรวาทมติชนกำกวม ชี้มีเจตนาส่อเสียดจริง
อาเศียรวาทมติชนยังคงเป็นกระแสสุดร้อนแรงอยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจารย์จุฬาฯ ชี้มีเจตนาส่อเสียดอย่างแยบยล- นิดา นักแปลชื่อดังร่วมวงเขียนกลอนด่ายับสืบเนื่องจากกรณีบทอาเศียรวาทของ นสพ มติชน ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม 2555 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น ขณะนี้เหตุการณ์ได้ลุกลามบานปลายมากยิ่งขึ้น แม้กองบรรณาธิการของ นสพ. มติชน ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์แล้วก็ตาม ทว่า ประชาชนจำนวนมากก็ยังเห็นค้าน จนมีการเขียนกลอนตอบโต้หลายบทจากหลายคน ตามที่ได้รายงานข่าวไปนั้น
ล่าสุด วานนี้ (6 ธันวาคม) ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจารณ์ถึงบทอาเศียรวาทดังกล่าว ว่า เมื่อพิจารณาเนื้อหาโดยละเอียดแล้วพบว่าผู้ประพันธ์มีเจตนาที่จะส่อเสียด หรือก่อให้เกิดการตีความที่แตกต่างกันไปมากกว่าจะเป็นถวายพระพรตามปกติ ถือเป็นการกระทำที่แยบยลของผู้ประพันธ์ เช่น คำว่า "ฟ้า" ในวรรคที่หนึ่งดูเหมือนจะมีความหมายถึงในหลวง แต่พอวรรคท้ายกลับมีการตั้งคำถามว่า "ฟ้าดีอย่างไร" หรือคำว่า "ฝน" ในวรรคที่สี่ ซึ่งน่าจะทำให้ลมแล้งหายไปกลับกลายเป็นปัญหาในวรรคที่ห้า
บทประพันธ์นี้ตั้งแต่วรรคหนึ่งถึงวรรคสี่ไม่มีปัญหา เพราะเหมือนจะสื่อว่า ในหลวงคือฟ้าสว่างที่นำเอาฝนมาให้ข้าวในนาได้งอกงาม แต่พอเริ่มวรรคห้าที่ว่าลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา จึงเกิดคำถามว่าแล้วฝนที่มาจากฟ้า หรือจากในหลวง เหตุใดจึงทำให้เกิดปัญหา วรรคที่ห้านี้พลิกความหมายที่ปูมาตั้งแต่วรรคหนึ่งถึงวรรคสี่แบบหน้ามือเป็นหลังมือ กลายเป็นว่าฟ้าสว่างทำให้เกิดปัญหา จากนั้นก็ตามด้วยพฤกษ์ชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา กลายเป็นต้นข้าวถูกน้ำท่วมซ้ำ สุดท้ายก็ตั้งคำถามว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร ไม่มีตรงไหนที่จะบอกว่าเป็นบทประพันธ์ที่ถวายพระพรในหลวงเลย
ดร.อนันต์ กล่าวด้วยว่า บทประพันธ์นี้หากนำออกไปตีพิมพ์เดี่ยว ๆ โดยตัดคำว่าอาเศียรวาทและภาพในหลวงออกไป คนอ่านจะไม่รู้เลยว่านี่คือบทประพันธ์ถวายพระพรในหลวง ยิ่งหากดูบริบทอื่น ๆ ประกอบ เช่น บทความหรือข้อเขียนต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์มติชนที่มีแนวทางเช่นนี้ ก็จะยิ่งเห็นว่าบทประพันธ์เจตนาอย่างไร
นอกจากนี้ ทางด้าน นิดา-ปราศรัย รัชไชยบุญ นักแปลชื่อดังของเมืองไทย ได้เขียนกลอนสอนมวยอาเศียรวาทของมติชนอีกคนหนึ่ง โดยฝากนำเสนอผ่านบนหน้าเฟซบุ๊กของ นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ หรือ หมอโอ๊ด นักเขียนนวนิยายชื่อดังเจ้าของผลงาน สาปภูษา –รอยไหม–กี่เพ้า และส่าหรี โดยมีข้อความดังนี้
ยักเยื้องนัก นำมาใช้ ให้วิปริต
ซ้ำเฉไฉ ไขว้เขว เจ้าเล่ห์คิด
ให้หลงผิด โง่งั่ง ทั้งโคตรมัน
"ผรุสวาท" เท่านั้น มันเข้าใจ
พ่อแม่มัน เลือกใช้ สอนลูกหลาน
ให้ทรยศคดข้อส่อสันดาน
ก้มหน้าคลานซานซมดมกลิ่นเงิน"
ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีดารา-นักร้อง ที่แสดงความคิดเห็นตอบโต้อาเศียรวาทดังกล่าวเช่นกัน โดย เอิร์น-กัลยกร นาคสมภพ อดีตดารา-นักร้องชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความระบุว่า "เมื่อใดที่กำกวมแสดงว่ามีความแฝง แต่การเทิดทูนในหลวง ไม่มีความจำเป็นต้องแฝง แถมฝีมือขนาดนี้ หากอยากเขียนดี ๆ ก็คงไม่ยาก แต่หากไม่อยากเทิดทูนก็ไม่ได้ว่า เก็บไว้สักวันคงไม่ทุรนทุรายมั้งคะ หรือมันอดไม่ได้ ความอิจฉา ความหมั่นไส้มันเอ่อล้นใจมากใช่มั้ย ...หรือการยั่วอารมณ์คนให้กรุ่น ให้มีปากเสียงกันมันสนุกดี?" พร้อมกับเรียบเรียงบทร้อยกรองใหม่ ดังนี้
ดั่งแดนดินที่แห้งแล้ง กลับสดใส
ข้าวกล้านาไร่ ต่างผลิใบ
สายฝนชโลมใจ มุ่งหมายมา
วันหนึ่งเมฆคลุ้ม คลุมนคร
ธ คลายร้อนผ่อนเย็น สิ้นปัญหา
ทรงสถิตย์ในดวงใจ ปวงประชา
เห็นแล้วว่าฟ้าสว่าง เป็นอย่างไร
อาเจียรวาทชาติหมาประสาหนอน
แต่งคำหอนโหยหวนชวนคลื่นเหียน
มติหมาภาษาสัตว์ร่วมกัดเกรียน
จงวนเวียนเดียรัจฉานสถานเอย