ลอนดอน (รอยเตอร์ส) - สถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ในกรุงลอนดอน
เปิดเผยวันนี้ (4 พฤศจิกายน)ว่า เมืองต่างๆตามแนวชายฝั่ง ตั้งแต่ประเทศจีนไปจนถึงทะเลอาหรับ มีการขยายตัวเร็วมาก จนขาดการวางผังเมืองที่ดี ซึ่งไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ยังเสี่ยงต่อพายุไซโคลนเขตร้อนด้วย ทำให้มีคนจนจำนวนมากอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
ทั้งนี้ มี 20 อันดับเมืองใหญ่ ที่เสี่ยงเสียหายหนักจากเหตุการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ภายในปี 2070
ซึ่ง กทม. ติดอันดับที่ 7 ขณะที่เมืองในเอเชียติดอันดับถึง 15 เมือง เช่น โกลกาต้า , มุมไบ และ ธากา ของประเทศอินเดีย กวางโจว และ เซี่ยงไฮ้ ของประเทศจีน โฮจิมินห์ และ ไฮฟอง ของเวียดนาม, กรุงเทพมหานคร, เมืองย่างกุ้ง ของประเทศพม่า และไมอามี่ ของประเทศสหรัฐ
นักวิเคราะห์ยังเปิดเผยว่า เมืองใหญ่ๆ ในเอเชียที่ติดอันดับนั้นไม่เพียงแต่จะเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อน
ที่ทำให้ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกพายุไซโคลนถล่ม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายหนักมาก ด้วยปัจจัยที่ว่ายังมีประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่มีความแข็งแรงน้อย คุณภาพต่ำและเปราะบางต่อภัยธรรมชาติมาก ดังนั้น หากรัฐบาลในเมืองเหล่านี้ยังไม่มีการรับมืออย่างจริงจัง อาจนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาลได้ในอนาคต
ขณะที่ซูซาน แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง แห่งศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทินดอล ของอังกฤษ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เอเชียมีความเสี่ยงต่อโคตรพายุอย่างแรก คือ ระดับน้ำทะเลซึ่งจะสูงขึ้น 20 นิ้ว ภายใน 2070 อย่างที่ 2 คือ คลื่นพายุหมุนซัดฝั่ง หรือ สตอร์ม เซิร์จ จากพายุไซโคลน ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก