นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2555 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ตรึงราคาก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ในอัตรา 10.50 บาท/กิโลกรัม(ก.ก.) จนกว่าการศึกษาการปรับโครงสร้างราคาใหม่ ของสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
ภาคขนส่งอีก 0.25 บาท/ก.ก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 21.13 บาท/ก.ก. เป็น 21.38 บาท/ก.ก. ให้สอดคล้องกับราคานำเข้า ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 775 เหรียญ/ตัน โดยจะพิจารณาราคาเดือนต่อเดือน ตามสถานการณ์ราคาแอลพีจีโลก ขณะที่แอลพีจีภาคครัวเรือนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 18.13 บาท/ก.ก.เช่นเดิม และภาคอุตสาหกรรมคงไว้ตามราคาต้นทุนโรงกลั่นที่ 29.56 บาท/ก.ก.
โดยครอบคลุมกลุ่มช่วยเหลือรถจักรยานยนต์ด้วย ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีการให้วงเงินสินเชื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน 3,000 บาท รวมถึงมีสิทธิประโยชน์ และส่วนลดราคาน้ำมันด้วย
กบง. ยังเห็นชอบการปรับลดการจัดเก็บเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่ เพื่อลดภาระให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำมันตามนโยบายรัฐบาล โดยลดอัตราการจัดเก็บ น้ำมันเบนซิน 95 ที่ 0.60 บาท/ลิตร เบนซิน 91 ที่ 1.50 บาท/ลิตร โซฮอล์ 95 ที่ 0.50 บาท/ลิตร โซฮอล์ 91 ที่ 1.20 บาท/ลิตร อี20 อุดหนุนเพิ่ม 1.30 บาท/ลิตร และอี 85 อุดหนุนเพิ่มที่ 0.20 บาท/ลิตร ส่วนดีเซลคงเดิม ซึ่งอัตราลดการจัดเก็บดังกล่าว จะส่งผลต่อราคาขายปลีกน้ำมันทันที
หรือติดลบเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท โดยสถานะกองทุนล่าสุดติดลบอยู่ที่ 14,430 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าไม่เป็นปัญหา เพราะกองทุนน้ำมัน มีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมันในช่วงที่ราคาตลาดโลกขึ้น
ไม่ว่ากระทรวงพลังงานจะปรับขึ้นเชื้อเพลิงหรือไม่ จะร่วมมือกันตรึงราคาถึงสิ้นปีนั้น กรณีนี้ต้องไปพิจารณาว่าผู้ที่ออกมาระบุเรื่องดังกล่าว เป็นกลุ่มรถแท็กซี่ส่วนใหญ่หรือไม่ เพราะหากกระทรวงพลังงาน ปรับขึ้นค่าเชื้อเพลิงจริง ผู้ประกอบการรถแท็กซี่จะต้องได้รับพิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสารด้วย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 16 ส.ค.นี้ จะมีการนำข้อเรียกร้องต่างๆ ของผู้ประกอบการรถแท็กซี่ มาหารือร่วมกันอีกครั้ง ระหว่างตน นายอารักษ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และเครือข่ายแท็กซี่ ที่กระทรวงพลังงาน