วันที่ 23 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมารายงานว่า นักวิจัยหัวหน้าส่วนจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน สวนสัตว์นครราชสีมา ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานทั้งในและต่างประเทศรวม 5 ชีวิต ได้ค้นพบงูเขียวหางไหม้ชนิดใหม่ของโลก
ซึ่งพบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นบนเกาะภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.2552 ที่ผ่านมา ใช้เวลาในการวิจัยและทดสอบสายพันธุ์นานกว่า 2 ปี กระทั่งรู้ว่างูเขียวหางไหม้ที่พบในครั้งนี้เป็นงูเขียวชนิดใหม่ของโลก และได้รับการตีพิมพ์รับรองโดยวารสารนานาชาติรัสเซียล เจอร์นัล ออฟเฮอร์ปิโตโลจี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยใช้ชื่องูที่ค้นพบใหม่นี้ว่า “งูเขียวหางไม้ภูเก็ต” ตามแหล่งที่ค้นพบ
ล่าสุดวันนี้ (23 ธ.ค.) นายกีรติ กันยา รักษาการหัวหน้างานสัตว์เลื้อยคลาน สวนสัตว์นครราชสีมา หนึ่งในทีมวิจัยที่ร่วมกันค้นพบ ได้นำมาเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2554 ที่ทางสวนสัตว์นครราชสีมา ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23- 26 ธ.ค.2554 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญและช่วยกันอนุรักษ์หวงแหนสัตว์ป่า โดยมีนายสุเมธ กมลนรนาถ ผอ.ส่วนอนุรักษ์วิจัยและการศึกษา องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม
นายกีรติ กันยา เผยว่า การค้นพบครั้งเกิดขึ้นจากการที่ทีมงานวิจัยและตรวจสอบสภาพป่า ที่เป็นการรวมตัวกันระหว่างตนเองและผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานและคุ้มครองสัตว์ป่า ประกอบด้วย นายมนตรี สุมณฑา นักวิชาการประมง ระดับชำนาญการ สำนักงานประมงจังหวัดระนอง , มิสเตอร์โอลิเวียร์ โอ เอส จี พาว์เวล ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลานจากประเทศเบลเยี่ยม , นายธวัช นิติกุล หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว จ.ภูเก็ต นายสุวิทย์ พันนาดี ผู้อำนวยการโครงการคืนชะนีสู่ป่า มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ได้พบเห็นงูชนิดนี้จากภาพถ่ายของสมาชิกชมรมรักสัตว์เลื้อยคลานผ่านทางเวปไซต์ ไฮท์ไฟว์ ที่นำมาโพสต์พร้อมกับระบุแหล่งที่พบซึ่งเป็นป่าดิบชื้นแห่งหนึ่งในเกาะภูเก็ต
ซึ่งสังเกตเห็นได้ถึงความผิดแปลกจากงูเขียวหางไหม้ทั่วไป ด้วยลวดลายที่แตกต่าง มีการจัดระเบียบลวดลายที่ชัดเจนจากงูเขียวหางไหม้ทั่วไป จึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปสำรวจ กระทั่งสำรวจพบในป่าดิบชื้นแห่งหนึ่ง(ป่าเขาพระแทว) (ทางทีมวิจัยไม่อยากให้ระบุพื้นที่พบหวั่นคนไปติดตามล่ามาจำหน่าย) บนเกาะภูเก็ต และนำมาวิจัยเทียบเคียงสายพันธุ์กระทั่งรู้จนแน่ชัดว่าเป็นงูเขียวหางไหม้ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งยังไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน
สิ่งที่แตกต่างจากงูเขียวหางไหม้ทั่วไป งูเขียวหางไหม้ภูเก็ตจะมีลวดลายที่เด่นชัดและเป็นระเบียบกว่างูเขียวหางไหม้ทั่วไป อีกทั้งจำนวนเกล็ดจะมากและถี่กว่า งูเขียวหางไหม้ภูเก็ตตัวผู้จะมีลายที่ชัดเจนและเป็นระเบียบมากกว่าตัวเมีย และมีจุดขาวอมฟ้าตามแนวกลางหลัง ส่วนเพศเมียมีลายพาดกลางหลัง มีแถบสีน้ำตาลแดงและเส้นสีขาวคาดจากส่วนท้ายของหัวทั้ง 2 เพศ บนหัวมักมีสีแดงเลือดนกแต้มโดยเฉพาะเพศผู้ เส้นข้างขอบท้องเป็นเส้นสีขาวหรือเขียวอ่อนอยู่ด้านบน และสีแดงด้านล่างจากคอถึงแนวทวารร่วม หางมีแถบสีน้ำตาลแดงคาดเป็นบั้งและไม่มีเส้นขอบหางตามยาว ใต้หางมีจุดประสีแดงและสีขาวขนสีเขียว และเพศเมียจะมีสีเขียวอ่อนประกายส่วนเพศผู้จะมีสีเขียวเข้มกว่า เป็นงูพิษอ่อนอันตรายความรุนแรงของพิษคล้ายกันกับงูเขียวหางไหม้ทั่วไป
หลังจากที่วิจัยมานานกว่า 2 ปี ก็ได้รับการตีพิมพ์รับรองจากวารสารนานาชาติรัสเซียล เจอร์นัล ออฟเฮอร์ปิโตโลจี ว่าเป็นงูเขียวหางไหม้สายพันธุ์ใหม่ของโลก และได้มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า งูเขียวหางไหม้ภูเก็ตตามแหล่งที่พ