บูรณาการยกระดับถนนทั่วกรุงทุ่ม 4 พันล้านเอาชนะน้ำท่วม

หลัง สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร

สิ่งที่ กทม.ต้องเร่งดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเมืองให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติดังเดิม จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะถนนหนทางที่ประชาชนสัญจรไปมากันอยู่ทุกวัน ซึ่งหากไม่ดำเนินการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ ก็จะยิ่งเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม และเกิดปัญหาการจราจรติดขัดตามมา

ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ทางสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้สำรวจไว้มีถนนที่ได้รับความเสียหาย 98 เส้นทาง

โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 1 มี 27 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนมิตรไมตรี ถนนสังฆสันติสุข ถนนคู้-คลองสิบ ถนนคลองสิบ-สิบสี่ ถนนอยู่วิทยา ถนนผดุงพันธ์ ถนนร่วมพัฒนา ถนนคลองเก้า ถนนฉลองกรุง ถนนนิมิตใหม่ ถนนสีหบุรานุกิจ ถนนประชาร่วมใจ ถนนพระยาสุเรนทร์ ถนนกรุงเทพกรีฑา ถนนสายไหม ถนนสุขาภิบาล 5 ถนนวัชรพล ถนนพหลโยธิน (คลองบางบัว-คลองถนน) ถนนลาดปลาเค้า ถนนเสนานิคม ถนนคู้บอน ถนนนวลจันทร์ ถนนนวมินทร์ ถนนสวนสยาม ถนนจันทรุเบกษา ถนนรามอินทรา 40 ถนนลาดพร้าว-วังหิน

ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 2 มี 6 เส้นทาง ประกอบด้วย
 
ถนนมหาราช ถนนพระจันทร์ ถนนหน้าพระธาตุ ถนนเยาวราช ถนนสามเสน ถนนราชวงศ์ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 3 มี 13 เส้นทาง ประกอบด้วยถนนฉลองกรุง ถนนประชาพัฒนา ถนนลาดกระบัง ถนนเชื่อมคลองมอญ ถนนหลวงแพ่ง ถนนพัฒนาชนบท 3 ถนนขุนทอง–ลำต้อยติ่ง ถนนเจ้าพระคุณทหาร (ฝั่งเหนือ) ถนนเจ้าคุณทหาร (ฝั่งใต้) ถนนร่มเกล้า 1 ถนนคุ้มเกล้า ถนนเลียบคลองมอญ ถนนหลวงพรตพิทยพยัต ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 4 มี 40 เส้นทางประกอบด้วย ถนนเพชรเกษม ถนนสิรินธร ถนนราชวิถี ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนบรมราชชนนี ถนนสวนผัก ถนนบางระมาด ถนนทุ่งมังกร ถนนฉิมพลี ถนนชัยพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถนนราชมนตรี ถนนบางไผ่ ถนนบางแวก ถนนสุขาภิบาล 1 ถนนอินทาปัจ ซอยเพชรเกษม 63 ถนนทวีวัฒนา ถนนมาเจริญ ถนนทวีวัฒนา-ถนนกาญจนาภิเษก ถนนศาลาธรรมสพน์ ถนนพาณิชย์ธนบุรี ถนนอุทยาน ถนนอัสสัมชัญ ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ถนนเทิดไท ถนนร่มไทร ถนนบางบอน 2 ถนนบางบอน 3 ถนนบางบอน 5 ถนนเลียบคลองภาษีฝั่งเหนือ ถนนเลียบคลองภาษีฝั่งใต้ ถนนวัดแก้ว-พุทธมณฑลสาย 1 ถนนบางเชือกหนัง ถนนบางขุนนนท์ ถนนรัชมงคลประศาสน์ ถนนศาลธนบุรี


บูรณาการยกระดับถนนทั่วกรุงทุ่ม 4 พันล้านเอาชนะน้ำท่วม

ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 5 มี 4 เส้นทาง ประกอบด้วย
 
ถนนบางบอน 1 ถนนบางบอน 4 ถนนเอกชัย และถนนบางขุนเทียน ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 6 มี 8 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนพลโยธิน (สะพานข้ามคลองบางบัวถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ) ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนเทศบาลสงเคราะห์ ถนนกำแพงเพชร 1 ถนนงามวงศ์วาน ถนนพหลโยธิน (แยกจันทรุเบกษา-สะพานข้ามคลองบางเขน) ถนนกำแพงเพชร 6 (สะพานข้ามคลองหลักสี่-สุดเขต กทม.) ถนนกำแพงเพชร 6 (สะพานข้ามคลองบางเขน–สะพานข้ามคลองหลักสี่)

ซึ่งถนนทั้ง 98 เส้นทาง กทม.ได้ประเมินการใช้งบประมาณไว้ที่ 826 ล้านบาท

ขณะนี้ได้ปรับปรุงแล้ว 46 เส้นทาง โดยได้ทำการซ่อมแซมถนนที่เป็นหลุมบ่อ ซ่อมผิวจราจร ซ่อมทางเท้า ซึ่งที่เหลืออีก 52 เส้นทาง กำลังดำเนินการปรับปรุงให้ใช้งานได้ชั่วคราว จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ส่วนการปรับปรุงถาวรนั้นทางสำนักการโยธาได้กำหนดแผนดำเนินการภายใน 90 วัน ในการปูทางเท้าใหม่ ราดพื้นถนนใหม่ ในเส้นทางที่เสียหายหนัก อาทิ ถนนสิรินธร ถนนปิ่นเกล้า ถนนเพชรเกษม ถนนพุทธมณฑลสาย 2 เป็นต้น

นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวว่า

ถนนในกรุงเทพฯที่ถูกน้ำท่วมสูงส่วนใหญ่เป็นถนนที่อยู่ในตรอก ซอกซอย ที่มีระดับต่ำกว่าน้ำทะเลมาก ซึ่งขณะนี้ทาง กทม.ได้ให้สำนักงานเขตสำรวจถนนที่มีความจำเป็นต้องยกระดับพื้นถนนให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นถนนลุ่มต่ำ เป็นแอ่งน้ำ ซึ่งทาง กทม.ได้จัดสรรงบ 3,000-4,000 ล้านบาท ในการยกระดับพื้นถนน ขณะที่การปรับถนนให้ยกสูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคตนั้น กทม.ยังต้องรอแผนการดำเนินงานของรัฐบาล ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำในอนาคต ว่าจะยอมให้น้ำผ่านเข้ามายังกรุงเทพฯหรือไม่ หากยอมให้มีการระบายน้ำเข้ามาก็ต้องมีการทำแนวทางน้ำไหล ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวทางว่าจะเลือกเส้นทางใด อาจเป็นการขุดคลองเพิ่มเติม การสร้างอุโมงค์ หรือการปรับถนนให้สูงขึ้นเพื่อเป็นทางน้ำไหล

ทั้งนี้ถนนของ กทม.หากเป็นถนนเส้นหลัก จะเป็นถนนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.50 เมตร

แต่หากเป็นถนนชั้นในจะมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.50 เมตร ซึ่งปัจจุบันถนนที่อยู่ต่ำกว่า 1.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นถนนที่เสี่ยงน้ำท่วม อาทิ ถนนรามคำแหง ถนนศรีอยุธยา ถนนเตชะวณิช ถนนบรมราชชนนี ถนนสกุลทิพย์ เป็นต้น

แม้ กทม.จะเร่งดำเนินการซ่อมแซมถนนเพื่อให้คนกรุงสามารถสัญจรได้ตามปกติโดยเร็ว
 
แต่สิ่งที่ กทม.ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือการวางแผนรับมือน้ำในอนาคต ซึ่งถนนเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมแนวทางหนึ่งที่ กทม.จะนำไปเป็นตัวช่วยได้ ซึ่งคงต้องวางแผนอย่างเป็นระบบและร่วมมือกันหลายฝ่าย เพราะลำพัง กทม.เองจะทำโดดเดี่ยวเพื่อป้องกันพื้นที่ตนเอง แต่อาจทำให้จังหวัดโดยรอบน้ำท่วมสูงกว่าปีนี้ก็เป็นได้.



เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์