ยูเอ็นหวั่นน้ำท่วมกระตุ้นภาวะ อาหารขาดแคลนรุนแรง
บลูมเบิร์กรายงานว่าสหประชาชาติจับตาภาวะ "อาหารขาดแคลนรุนแรง" เนื่องมาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ถูกภัยน้ำท่วมทำลายล้างนาข้าว และพืชชนิดอื่นๆ ตลอดจนการส่งความช่วยเหลือที่มีอุปสรรค
ตามการรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า พื้นที่ปลูกข้าวในประเทศไทยถูกทำลายราว 12.5% ในฟิลิปปินส์ราว 6% ในกัมพูชา 12% ส่วนในลาวและเวียดนาม ถูกทำลายราว 7.5% และ 0.4% ตามลำดับ
ผลผลิตเกษตรที่ลดลงอาจทำให้ ราคาข้าวในตลาดล่วงหน้าชิคาโกปีนี้รักษาระดับการเพิ่มขึ้น 17% ซึ่งจะทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้นสูงอีก และสร้างปัญหาให้กับรัฐบาลในประเทศเอเชียทั้งหลายซึ่งบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก
"ถ้าสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยไม่ดีขึ้นเลย ก็จะยิ่งทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น" ลายเนตต์ แทน นักวิเคราะห์ของฟิลิป ฟิวเจอร์ส ปินส์กล่าวให้ความเห็น
อ้างอิงจากแผนกเกษตรกรรมแห่งชาติของสหรัฐ (USDA) ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก จะมีส่วน 31% ในการค้าธัญพืชทั่วโลก 34.2 ล้านตัน ส่วนเวียดนามเป็นผู้ส่งข้าวอันดับสอง และเมื่อปีที่แล้วฟิลิปปินส์เป็นผู้ซื้อรายใหญ่สุด
ทั้งนี้ นายอภิชาติ จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ไทยสูญเสียข้าวเปลือกราว 6 ล้านตัน และข้าวที่ยังไม่เก็บเกี่ยวอีก 19 ล้านตันจากเหตุการณ์น้ำท่วม ทั้งนี้ความเสียหายที่ประเมิน ไม่รวมถึงข้าวที่เก็บไว้ในโกดังซึ่งถูกน้ำท่วมเช่นกัน
ก่อนหน้าเหตุอทกภัย รัฐบาลคาดว่าผลผลิตข้าวนาปีของไทยจะอยู่ที่ 25.8 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 70% ของผลผลิตข้าวทั้งปี
ด้านลิโต บานาโย ผู้บริหารของหน่วยงานดูแลอุทกภัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (National Food Authority) ระบุว่า ฟิลิปปินส์สูญเสียข้าวราว 600,000 ตัน จากพายุไต้ฝุ่นที่พัดโจมตีประเทศซึ่งเท่ากับความต้องการบริโภคข้าวทั้งประเทศ 17 วัน