สื่อต่างชาติตีข่าวน้ำท่วมใหญ่ในไทยสาเหตุเรดาร์พยากรณ์อากาศล้าสมัย !!

สื่อต่างชาติตีข่าวน้ำท่วมใหญ่ในไทยสาเหตุเรดาร์พยากรณ์อากาศล้าสมัย !!


สำนักข่าวบลูมเบิร์ก นำเสนอข่าวสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย

โดยอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์จากรองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาที่ระบุว่าสาเหตุหนึ่งของสถานการณ์น้ำท่วมมากครั้งนี้มาจากอุปกรณ์เรด้าร์พยากรณ์อากาศที่ล้าสมัยทำให้ไม่สามารถพยากรณ์ความรุนแรงของพายุฝนหรือคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำได้ โดยบลูมเบิร์กยังระบุว่า มีการระบุว่าผู้รับผิดชอบละเลยที่จะปรับปรุงระบบเรด้าร์ตามการร้องขอจัดซื้อ ซึ่งนี่อาจส่งผลกระทบต่อน้ำท่วม

"งบประมาณที่กรมอุตุฯเสนอให้ปรับปรุงระบบเรดาร์ใช้งบฯราว 4,000 ล้านบาท โดยยกเครื่องระบบเรดาร์และระบบการจำลองแบบพยากรณ์อากาศซึ่งถูกเสนอต่อหน่วยงานรับผิดชอบตั้งแต่ พ.ศ.2552"นายสมชาย ใบม่วงรองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งเขาระบุด้วยว่าอุปกรณ์ใหม่จะช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำขึ้นในช่วงฤดูฝน รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลนี้กับฝ่ายรับผิดชอบเขื่อนเพื่อให้วิเคราะห์ความจำเป็นในการพิจารณาการปรับระดับน้ำในเขื่อน

"ถ้าเรา(กรมอุตุฯ)ได้ระบบใหม่นี้ มันจะช่วยผู้คนได้"นายสมชายกล่าว "ไม่มีใครคาดคิดว่าฝนที่ตกลงมาจะมากขนาดนี้ ณ เวลานี้ระบบของเรารวมถึงฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ล้าสมัย"

ความยากลำบากในการบริหารจัดการน้ำจำนวนมากจากมรสุมพายุฝนส่งผลกระทบต่อตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะน้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลทั้งกับบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ,โซนี่ ที่ต้องปิดโรงงาน นอกจากนี้น้ำท่วมยังสร้างความเสียหายราวร้อยละ 13 ของนาข้าวในประเทศไทยที่เป็นประเทศผู้ส่งออกใหญ่สุดของโลก

ทั้งนี้ยังมีการรายงานสถานการณ์เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศ อาทิ เขื่อนภูมิพลที่สะสมน้ำจำนวนมากจนถึงเดือนสิงหาคมเพื่อใช้ในเกษตรกรรมช่วงฤดูแล้ง

"เราเคยได้รับการเตือนว่าจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากในปีนี้ แต่ไม่ได้คาดคิดว่ามันจะมหาศาล"นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลกล่าว และว่า "เราได้พิจารณาและคำนึงในการปล่อยน้ำจำนวนหนึ่งออกโดยดูทั้งสภาพอากาศและน้ำท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเพื่อไม่ให้สถานการณ์น้ำท่วมเลวร้ายลง"

ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมชลประทานระบุว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม เขื่อนภูมิพลได้ปล่อยน้ำออกเฉลี่ย 4.5 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน
 
ขณะที่ระดับน้ำในเขื่อนเองก็ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 63 หรือมากกว่าความจุ 2 เท่าของจำนวนน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อนช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การปล่อยน้ำที่เพิ่มขึ้นอีก 22 ล้านลบ.ม.ต่อวันในเดือนสิงหาคม และ 26 ล้านลบ.ม.ต่อวันในเดือนกันยายน กระทั่งตั้งแต่วันที่ 1 -14 ตุลาคมที่ผ่านมาที่มีสถานการณ์น้ำท่วมก็ยังมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนต่อเนื่องในแต่ละวัน โดยรวมเป็นการปล่อยน้ำที่มากกว่าช่วงเดียวกัน(มิถุนายน-กรกฎาคม)ของปีก่อนถึง 17 เท่า

ขณะที่ในเขื่อนสิริกิต์ "ถ้าน้ำถูกปล่อยออกจากเขื่อนในทางที่เหมาะสม น้ำท่วมจะรุนแรงน้อยลง" ศ.ดร.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ ผู้เชียวชาญเรื่องน้ำและสิ่งแวดล้อม บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัดกล่าว "พวกเขาแค่เก็บน้ำให้มากเพื่อพอให้ใช้ในช่วงฝนแล้งเหมือนกับปีก่อนๆ"

ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักอุทกวิทยา และบริการน้ำกรมชลประทาน กล่าวว่า

การปล่อยน้ำจากเขื่อนลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน เพราะพื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งถูกน้ำท่วมไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งน้ำในเขื่อนเต็มเพราะปริมาณน้ำฝนในภาคเหนือมีจำนวนมากทะลุสถิติในปีนี้ และไม่จริงที่ว่าเราลดการปล่อยน้ำ(จากเขื่อน)เพราะห่วงเรื่องภัยแล้ง คนที่พูดแค่ต้องการหาแพะรับบาป

ทั้งนี้สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า สถานการณ์พายุหนักเป็นปัญหาหนึ่งต่อน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ จากพายุโซนร้อน 5 ลูก ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีประมาณ ร้อยละ 25 เฉลี่ยมากขึ้นในรอบ 30 ปี จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา อ่างเก็บน้ำใหญ่ของประเทศต้องรับน้ำมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 68

"ถ้าพวกเขารู้แน่นอนว่าฝนจะมาก่อนหน้า บางทีก็อาจจะปล่อยน้ำ(จากเขื่อน)เพิ่มขึ้นอีกนิด"นายชัยวัฒน์ ปรีชาวิทย์ อดีตรองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวและว่า "กรมอุตุฯจะได้สามารถบอกได้ว่าจะมีฝนตกในปีนี้มากกว่าทุกปี แต่เขาไม่สามารถพยากรณ์พายุที่จะเข้าสู่ประเทศไทยและฝนที่จะตกหนักได้"อดีตรองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว


สื่อต่างชาติตีข่าวน้ำท่วมใหญ่ในไทยสาเหตุเรดาร์พยากรณ์อากาศล้าสมัย !!


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์