ไขศรีอัดยับ พริตตี้เซ็กซี่ แนะชุดไทย แต่งขายรถ

"ไม่เหมาะสม"


หลังจากที่ค่ายรถอัลฟ่า โรมิโอ นำนางแบบสาวชาวอิตาลี 3 คนมาเป็นพริตตี้ โชว์เรือนร่างเซ็กซี่อวบอิ่มในชุดทูพีซหวามหวิวในงานมหกรรมยานยนต์ มอเตอร์เอ็กซ์โป 2006 ที่เมืองทองธานี สวนกระแสกับค่ายรถบริษัทอื่นๆ ที่ปีนี้หันมาเน้นสไตล์สวยใสและใส่เสื้อผ้ามิดชิดนั้น

ที่กระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 30 พ.ย. มีการประชุมหารือเรื่องการจัดการแสดงที่ไม่เหมาะสม โดยมีตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9 กระทรวงเข้าร่วมประชุม หลังประชุมคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม เผยว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการแสดงที่ไม่เหมาะสมและการแต่งกายของสาวพริตตี้ค่ายรถอัลฟ่า โรมิโอ ในงานเปิดตัวมหกรรมยานยนต์ฯ รอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 29 พ.ย. โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่ า กระทรวงได้มีการประชุมขอความร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ในเรื่องสาวพริตตี้แล้ว แต่ค่ายรถอัลฟ่าไม่ได้เข้าร่วมประชุม และมีบริษัทนี้แห่งเดียวที่มีการแสดงขัดต่อวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงาม ได้ประสานไปยังตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมาย เพราะเรื่องนี้เป็นการทำผิดกฎหมาย แต่งกายอนาจารในที่สาธารณะ

"ให้พริตตี้แต่งชุดสไตล์ไทย"


คุณหญิงไขศรีกล่าวอีกว่า การจัดงานมหกรรมยานยนต์ที่นิยมจัดที่ต่างประเทศและในประเทศไทยที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีการแต่งกายไม่สุภาพนานแล้ว โดยเฉพาะประเทศไทยนิยมใช้สาวพริตตี้แต่งกายหวือหวาดึงดูดความสนใจในการซื้อรถยนต์ ส่วนตัวเห็นว่าไม่เหมาะสม ที่จีนก็มีการจัดกิจกรรมเช่นนี้ แต่สาวพริตตี้แต่งกายชุดประจำชาติของจีน เป็นที่น่าชื่นชม เพราะแม้จีนจะเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายดั้งเดิมของตนเองสูง จึงอยากเสนอว่า การแต่งกายของสาวพริตตี้ควรนำแฟชั่นชุดไทย ซึ่งเป็นชุดประจำชาติที่มีหลากหลายรูปแบบมาสวมใส่ ในการเปิดตัวรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ

ขณะที่ พ.ต.ท.โชคชัย ดีประเสริฐวิทย์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรี กล่าวว่า ได้เห็นภาพสาวพริตตี้ในหนังสือพิมพ์และได้รับแจ้งให้ไปตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าว โดยต้องไปดูว่ามีส่วนไหนที่ขัดต่อระเบียบกฎหมาย แล้วจึงดำเนินการได้

"เตรียมหลักป้องกัน 5 มาตรการ"


ด้านนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รักษาการปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงได้สรุปมาตรการป้องกันและแก้ไขในเบื้องต้น 5 มาตรการดังนี้ 1. ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความเข้าใจการจัดกิจกรรมการแสดงที่ไม่เหมาะสม อันจะส่งผลถึงความเสื่อมเสียและทำลายวัฒนธรรมโดยการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุและหนังสือท้องถิ่นของจังหวัด 2. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดในการตรวจสอบเฝ้าระวังป้องกันการจัดกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม

หากพบว่ามีการกระทำความผิด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที 3. ขอความร่วมมือจากสถานศึกษาให้สอดส่องดูแลมิให้นักเรียน นักศึกษาเป็นนักเต้นโคโยตี้ หรือถ้ามีอยู่เดิมก็ให้สร้าง ความเข้าใจถึงผลเสีย และแนะนำให้ประกอบอาชีพที่ถูกต้อง 4. แจ้งเจ้าอาวาสทุกวัดให้ระมัดระวังมิให้จัดกิจกรรมการแสดงที่ไม่เหมาะสมภายในเขตวัด และ 5. ตั้งศูนย์รับร้องเรียนการกระทำที่เบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์