อุบลผวาชี-มูลทะลัก! สั่งอพยพ

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน แถลงถึงการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์อุทกภัยของกรมชลประทานว่า

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาทั้งหมด คาดว่าจะกลับสู่สภาพเดิมใน 6-7 วันนี้ หลังพ้นปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงสุดในวันที่ 27 ต.ค. ต่อเนื่องถึงวันที่ 28 ต.ค. โดยปัจจุบันปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเข้าสู่พื้นที่ กทม. วันนี้ ณ จุดวัดน้ำบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ที่ 3,319 ลบ.ม. ต่อวินาที ระดับน้ำ ณ ช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด 10.45 น. ระดับน้ำ ณ จุดวัด    น้ำกรมชลประทาน อยู่ที่ 2.40 เมตร ถือ    ว่า มาตรการบริหารน้ำเพื่อตัดยอดน้ำที่จะ     เข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่วางไว้ได้ผลตามคาด อย่างไรก็ดี เนื่องจากในช่วงวันที่ 8 พ.ย. นี้ จะมีน้ำทะเลหนุนอีกรอบ เพื่อความไม่ประมาทให้ทุกจังหวัดรักษาคันกั้นน้ำที่เสริมไว้ก่อน

รองอธิบดีกรมชลฯ กล่าวว่า ในเวลา 16.00 น. วันที่ 27 ต.ค. กรมชลฯ จะยก    เลิกมาตรการหน่วงน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา

ทำให้ลดระดับปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ถึง 1.02 เมตร จากการลดบานประตูที่ได้กดบานประตูไว้ที่ระดับ 17.6 เมตร    ต่อระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) โดย จะค่อย ๆ ปรับระดับบานประตูจนสู่เข้าสู่   ระดับบริหารเดิมที่ 16.8 ม.รทก. เพื่อลด   ผลกระทบต่อ จ.ชัยนาท ซึ่งจะทำให้ระดับ  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 10 ซม. แต่จะเพิ่มในอีก 2 วันข้างหน้า เพราะน้ำเหนือต้องใช้ระยะเวลาเดินทางเข้า ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และจะพ้นช่วงน้ำทะเลหนุน สูงไปแล้ว 
   
นายวีระกล่าวเสริมว่า ในวันที่ 28 ต.ค.นี้ จะยกบานประตูน้ำขึ้นมาในระดับ 16.8 ม.รทก. จากที่ได้กดบานประตูไว้ที่ระดับ 17.6 ม.รทก.


โดยในเวลา 16.00 น. วันที่ 27 ต.ค.นี้ กรมชลฯ จะเร่งระบายน้ำเหนือที่ตกค้างในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่เขื่อนเจ้าพระยาลงมา และลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ 200 ลบ.ม.ต่อวินาที จากปัจจุบันที่ระบายอยู่ที่ 801 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะทำให้การระบายน้ำจาก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา และในพื้นที่ จ.ลพบุรี ดีขึ้นจนกลับสู่สภาพเดิมไม่ล้นตลิ่งได้ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน ขอให้ประชาชนใน จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุง เทพฯ อดทนอีก 7 วัน หลังจากนั้นน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว พื้นที่ใดน้ำท่วมขังกรมชลฯ จะนำเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือ  

รองอธิบดีกรมชลฯ ยังกล่าวถึงการบริหารในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีว่า คาดว่าจะมีปริมาณน้ำทั้งจากสองลำน้ำมาบรรจบกันที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ประมาณสิ้นเดือน ต.ค.นี้ โดยแม่น้ำชีจะมาถึงช้ากว่าประมาณ 4 วัน อย่างไรก็ดี จากปริมาณน้ำที่ผ่าน อ.วารินชำราบ คาดว่าจะอยู่ที่ปริมาณ 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที และส่งผลให้ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 1.2-1.3 เมตร เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี กรมชลฯ จะหามาตรการหน่วงน้ำในแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี โดยใช้ฝายที่ อ.ชนบท และฝายราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็นตัวหยุดน้ำไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อให้เวลาที่น้ำเดินทางมาสมทบไม่ตรงกัน ลดความเสียหายจากน้ำท่วมลงได้ โดยขณะนี้ระดับน้ำแม่น้ำโขงต่ำกว่าตลิ่ง 3 เมตร ไม่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำลงแม่น้ำโขง 
   
“ปริมาณน้ำจากแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีทั้งสอง คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหล    ผ่าน อ.วารินฯ อยู่ที่ประมาณ 3,000 ลบ.ม. ต่อวินาที และระดับจะสูงกว่าตลิ่ง ประมาณ 1.3 เมตร บวกลบ 10% ระดับนี้ถือว่ายังไม่รุนแรงเท่าปี 45 ที่เจอพายุช้างสาร และถือว่ายังมีเวลารับมือเพราะน้ำต้องใช้เวลาเดินทางพอสมควร คาดว่าน้ำจากแม่น้ำมูลถึง อ.วารินฯ ประมาณสิ้นเดือน และแม่น้ำชีจะถึงประมาณ วันที่ 4-5 พ.ย.นี้ หากกรมชลฯ หามาตรการหน่วงน้ำในสองลำน้ำได้ จะทำให้น้ำจากทั้งสองแม่น้ำมาพบกันในเวลา    ต่างกัน ซึ่งเป็นโชคดีของ จ.อุบลราชธานี ที่   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้เร่งรับมือกับสถานการณ์ ทำให้ทุกฝ่าย ได้มีการประสานงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด”
   
นายวีระกล่าวด้วยว่า กรมชลฯ ได้แบ่งปริมาณน้ำออกเป็น 3 ทัพ

ในส่วนของ แม่น้ำมูลนั้น ทัพหน้าขณะนี้น้ำมูลอยู่ที่ อ.ชุม พลบุรี จ.อุบลราชธานี ทัพกลางอยู่ที่ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ และทัพหลังอยู่ที่ อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา ส่วนแม่น้ำชีนั้น ขณะนี้ทัพหน้าอยู่ที่ จ.มหาสารคาม ทัพกลางอยู่ที่ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น และทัพหลังอยู่ที่ อ.แว้งใหญ่ จ.ชัยภูมิ
    
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า

การประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ (ศูนย์เมขลา) ได้รับรายงานในช่วง 2-3 วันข้างหน้ามวลน้ำท่วมที่ระบายจากแม่น้ำมูลและชี  กำลังเดินทางไปบรรจบ กันที่แก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง จึงสั่งการให้จัดทีมเฉพาะกิจของกรมฯ ลงไปประจำ อยู่ที่บริเวณ อ.วารินชำราบ และ อ.โขงเจียม เพื่อวิเคราะห์และประเมินข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะถ้าปริมาณการไหลของน้ำเกินจุดรับได้ของลำน้ำ อาจจะต้องหาแนวทางการเบนน้ำออกไปให้ทันท่วงที และเตรียมส่งรถผลิตน้ำประปาเคลื่อนที่ไปประจำพื้นที่ จ.อุบลราชธานี อีก 2 คัน เพื่อผลิตน้ำสะอาด ให้กับชาวบ้าน ขณะที่ในวันที่ 28 ต.ค.นี้ มอบหมายให้นายบุญจง จรัสดำรงนิตย์ ผอ.   ศูนย์เมขลา พร้อมทีมวิศวกรนำโมเดลการไหลของน้ำที่ทางศูนย์เมขลาจัดทำขึ้นเพื่อ     วิเคราะห์เส้นทางการระบายน้ำท่วมในภาคอีสาน ซึ่งพยาการณ์ล่วงหน้าได้ 3-5 วัน นำเสนอในที่ประชุมชุดนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานการศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย 
   
ด้าน นายสุรพล สายพันธ์ ผวจ.อุบล ราชธานี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความเป็นห่วงว่า ระดับน้ำในเช้าวันที่ 27 ต.ค.นี้ ลดลง 5 ซม.

แต่ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะคาดการณ์ว่าลำน้ำมูลจะไหลลงมาวันนี้ เบื้องต้นสั่งอพยพประชาชน 2,400 คน ใน อ.เขื่องใน, เทศบาลนครอุบลราช ธานี อ.เมือง, เทศบาลเมืองวารินชำราบ อ.วารินชำราบ, สว่างวีระวงศ์ และ อ.พิบูลมังสาหารรวม 5 อำเภอ พร้อมสั่งให้ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เสริมพนังกั้นลำน้ำมูล สูงเพิ่ม 50 เมตร ที่ห้วยม่วง และห้วยวังนอง ไว้แล้ว คิดว่าสถานการณ์ไม่น่ารุนแรง เท่าที่บินตรวจ น้ำจะท่วม พื้นที่ลุ่ม ไม่ใช่ที่นาของชาวบ้านมากนัก ขณะนี้ได้อพยพชาวบ้านริมแม่น้ำชี แม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำ 2 สายจะไหลมาสมทบที่ จ.อุบลราชธานี แล้ว

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์