คมชัดลึก :กทม.น้ำหนุนสูง 10 โมงวันนี้ "สุขุมพันธุ์" ยันเอาอยู่ "แปดริ้ว"ประสบปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่ และมีระดับสูงขึ้น เนื่องจากน้ำจากลุ่มน้ำปราจีนบุรีหลากลงมาขณะที่น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้น้ำในแม่น้ำบางปะกงเอ่อล้นสองฝั่ง ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเดือดร้อน ขณะชาวบ้าน ต.คลองอุดมชลจร อ.เมืองฉะเชิงเทรา ระบุถูกน้ำท่วมซ้ำซากมานานกว่า 20 ปีแล้ว (27ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร "น้ำท่วมได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถระบายได้เร็วแค่ไหน เรามั่นใจว่า สามารถบริหารจัดการได้" ผู้ว่าฯกทม.กล่าว นอกจากนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังได้กล่าวถึงผู้เดือดร้อนในต่างจังหวัด โดยเชิญชวนให้ชาวกทม.แสดงน้ำใจให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยการบริจาคให้องค์กรใดก็ได้ ที่มั่นใจว่าความช่วยเหลือจะถึงผู้เดือดร้อนได้
ให้สัมภาษณ์ในรายการ เช้าข่าวข้น คนข่าวเช้า ถึงการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กทม.ว่า ในส่วนชุมชนนอกเขตคันกั้นน้ำ มีความมั่นใจว่ากทม.เอาอยู่แน่นอน รับรองว่าไม่ท่วมหนักเหมือนปี2538 แต่ก็ไม่สามารถรับปากว่าจะไม่ท่วมเลย เนื่องจากกทม.เป็นเมืองน้ำ อยู่สูงกว่าระดับน้ำเพียง 1 เมตรเท่านั้น
ด้าน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หมายเลข 1111 เป็นศูนย์กลางช่วยเหลือน้ำท่วม
ในส่วนต่างจังหวัดที่ใกล้ตัวที่สุดคือองค์กรส่วนท้องถิ่นอบต.ซึ่งคุ้นเคยกับพื้นที่ แต่ก็มีในบางส่วนที่มีประชาชนร้องเรียนว่าความช่วยเหลือเข้าไม่ถึงเราจะพิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วน ทางเอกชนและเครือข่ายอาสาสมัครก็ช่วยมาร่วมมือ สามารถส่งความช่วยเหลือไปได้เลย
น้ำทะเลหนุน10โมงผู้ว่าฯกทม.ยันรับได้
ขณะที่สำนักระบายน้ำ ได้ระบุว่า เช้าวันนี้(27ตค.)น้ำจะขึ้นสูงสุด ในเวลาประมาณ 10.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพน้ำในแม่น้ำบางปะกง ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา ได้เอ่อล้นขึ้นท่วมสองฝั่งแม่น้ำ เนื่องมาจากอิทธิพลของน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และน้ำทะเลหนุนสูง จึงไหลเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า เช่น จวนผู้ว่าราชการจังหวัด วัดวาอารามทั้งวัดไทยวัดจีนหลายวัด รวมถึงตลาดบ้านใหม่ 100 ปีที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ซึ่งชลประทาน และเทศบาลเมืองฉะเชิงเทาต้องนำเครื่องสูบน้ำมาสู่แม่น้ำเพื่อระบายออกสู่แม่น้ำบางปะกง ขณะที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำร้องเรียนกับสื่อมวลชนว่า มีเรือขนาดใหญ่ซึ่งพานักท่องเที่ยวล่องแม่น้ำบางปะกง แล้วเกิดปัญหาทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ไหลเข้าบ้านเรือนชาวบ้านด้วย
ชาวบ้านตลาดปากคลองเจ้า หมู่ที่ 9 ตำบลคลองอุดมชลจร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา นำรองเท้ายางให้ผู้สื่อข่าวดูและบอกว่าได้รับแจก
จากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองอุดมชลจร ที่นำมาแจกให้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากไม่มีคุณภาพและขนาดไม่พอดีที่จะสวมใส่ จึงเก็บเอาไว้เฉย ๆ นอกจากนี้ ทรายที่นำไปให้ชาวบ้านเพื่อทำเป็นทำนบกั้นนำ ก็ใช้ไม่ได้เพราะเป็นทรายขี้เป็ด และไม่มีถุงใส่ จึงถูกกองทิ้งไว้ เมื่อถูกน้ำฝนก็ละลายไป ชาวบ้านยังบอกด้วยว่า การผันน้ำแต่ละครั้ง กรมชลประทาน แจ้งเพียงจำนวนตัวเลขเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกถึงความสูงของระดับน้ำในลำคลอง ที่จะไหลเข้าท่วมเข้าพื้นที่หรือบ้านได้รับความเสียหายขนาดไหน หากเมื่อทราบระดับความสูงอาจจะเตรียมตัวป้องกันเพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด
ชาวบ้านยังบอกด้วยว่า สำหรับชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ริมคลองอุดมชลจร
พื้นที่หมู่ที่ 9 หลายร้อยครัวเรือน ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมานานกว่า 20 ปีแล้ว เพียงน้ำฝนที่ตกลงมาตามฤดูกาล หากระบายทันก็จะเอ่อท่วมสองฝั่งคลองทันที และหากปีนี้มีการผันน้ำออกมาจากกรุงเทพก็จะส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งถ้าหากใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจะทำให้น้ำท่วมมากยิ่งขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร เพราะบ้านอยู่ริมคลอง ขณะนี้ได้รับความลำบากอยู่แล้ว ต้องหาเศษไม้เก่ามาทำเป็นทางเดินเข้าบ้าน รวมทั้งก่ออิฐฉาบปูนบริเวณประตูบ้านเพื่อกั้นน้ำไหลเข้าบ้าน หากน้ำไหลมามากเข้าบ้าน ก็ไม่มีที่อยู่อาศัย
ชาวบ้านระบุว่า ในคลองธรรมชาติหลายคลอง เช่น คลองอุดมชลจร คลองหลวงแพ่ง คลองเปร็ง
ซึ่งเป็นคลองรับน้ำจากคลองแสนแสบ เพื่อผันน้ำออกสู่แม่น้ำบางปะกงและทะเลที่ประตูระบายน้ำคลองด่าน หลายคลองมีสภาพเต็มไปด้วยวัชพืช ผักตบชวา รวมทั้งประตูระบายน้ำหลายแห่ง เป็นสิ่งกีดขวางทางไหลของน้ำ เมื่อระบายน้ำมาไหลได้ไม่สะดวก จึงเอ่อล้นขึ้นสองฝั่งคลอง แม้ก่อนหน้านี้กรมชลประทานพยายามขุดลอกคลอง พร้อมนำดินขึ้นสร้างเป็นทำนบกั้นน้ำสองฝั่งคลอง ก็ไม่สามารถใช้การได้ ดินได้พังทลายลงคลองเพราะถูกำน้ำฝนชะลงไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะหาทางแก้ไขปัญหาระยะยาว เพื่อไม่ให้ชาวบ้านประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากอีก
อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านพร้อมนำถุงยังชีพไปมอบให้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน อย่างต่อเนื่องทุกวัน
สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะนี้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว 9 อำเภอจาก 11 อำเภอ จำนวน 30 ตำบล 230 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 6,864 ครอบครัว พื้นที่เสียหาย 37,000 ไร่เศษ ที่อยู่อาศัย 80 หลังคาเรือน ถนน 29 สาย