สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 6 ต.ค.ว่า สภาด้านกิจการโลกของเมืองชิคาโก้ ได้จัดอันดับเมืองแห่งโลกและนโยบายด้านต่างประเทศ
จากจำนวนทั้งหมด 65 แห่ง ปรากฎว่า แชมป์อันดับหนึ่งได้แก่ กรุงนิวยอร์ก อันดับ2 ได้แก่ กรุงลอนดอน อันดับ3 ได้แก่ กรุงโตเกียว อันดับ4 ได้แก่กรุงปารีส อันดับ5 ได้แก่เมืองฮ่องกง อันดับ 6 ได้แก่ นครชิคาโก อันดับ 7 ลอส แองเจลิส อันดับ 8 สิงคโปร์ อันดับ 9 ซิดนีย์ อันดับ 10 กรุงโซล
ขณะที่กรุงเทพ ติดอันดับ 36 มีจำนวนประชากรติดอันดับที่ 32 และจำนวนผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพี อันดับที่ 42 ขณะที่แชมป์อันดับหนึ่งของอาเซียนได้แก่ สิงคโปร์ อันดับ2กรุงเทพ อันดับ3 ไทเป(ไต้หวัน)ที่ 39 อันดับ 4 กัวลาลัมเปอร์(อินโดนีเซีย) ที่ 48 อันดับ 5 มะนิลา(ฟิลิปปินส์)ที่ 51 อันดับ 6 กรุงจาการ์ตา(อินโดนีเซีย)อันดับ 7 โฮจิมินห์(เวียดนาม)ที่ 33
ส่วนอันดับของภูมิภาคเอเชียและอาหรับประกอบด้วย ปักกิ่ง อันดับที่ 15 เซี่ยงไฮ้ อันดับที่ 20 เมืองจงจิ้ง อันดับที่ 23 นครดูไบ อันดับที่ 39 เมืองกวางโจว อันดับที่ 57 เมืองบังลาลอร์ อันดับที่ 30 กรุงการาจี อันดับที่ 60 กรุงธากา อันดับที่ 64
รายงานระบุว่า การจัดอันดับดังกล่าว ประเมินจากปัจจัย 5 มิติ โดยมิติแรก ได้แก่ กิจกรรมการด้านธุรกิจ ประกอบด้วยมูลค่าตลาดทุน,จำนวนของสำนักงานด้านธุรกิจที่ติดการจัดอันดับของฟอรบส์ 500 และจำนวนของสินค้าที่ส่งออกจากเมืองนั้น
มิติที่สอง ได้แก่ การเป็นแหล่งศูนย์รวมตลาดสมองมนุษย์ หรือศัยกภาพในการดึงดูดกลุ่มคนที่หลากหลายและมีพรสวรรค์ รวมทั้งขนาดของจำนวนคนเข้าเมือง คุณภาพของมหาวิทยาลัย จำนวนของโรงเรียนนานาชาติ และจำนวนเปอร์เซนต์ของนักเรียนที่จบมหาวิทยาลัย
มิตที่สามได้แก่ ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารที่สามารถกระจายไปสู่วงกว้างและระดับสากล ประกอบด้วยจำนวนของสำนักงานข่าวต่างประเทศ,ระดับของการเซ็นเซอร์ จำนวนของข่าวสารต่างประเทศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และจำนวนผู้สมัครใช้อินเตอร์เนทบรอดแบรนด์
มิติที่สี่ ได้แก่ ประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม หรือจำนวนการมีแหล่งดึงดูดผู้คนต่างชาติและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันด้านกีฬาสำคัญ ๆ
ส่วนมิติที่ห้า ได้แก่ อิทธิพลของเมืองนั้นที่มีต่อการกำหนดนโยบายด้านต่างประเทศและการเจรจาระหว่างประเทศ โดยประเมินจากจำนวนของสถานทูตและสถานกงสุล สถาบันวิจัยสำคัญ ๆ หน่วยงานระหว่างประเทศ และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทางการเมืองระหว่างประเทศ