เมื่อ 27 ก.ย. น.พ.สมยศ กิตติมั่นคง หัวหน้ากลุ่มโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค สธ.
หลังจากที่มีการณรงค์ให้ประชาชนใช้สายวัดขนาดอวัยวะเพศ เพื่อใช้ถุงยางอนามัยให้เหมาะสมกับขนาดถุงยางอนามัยนั้น ปรากฎว่าประชาชนมีการขอถุงยางอนามัยซึ่งเป็นถุงยางอนามัยที่กรม ควบคุมโรคแจกฟรี ขนาด 52 มิลลิเมตร (มม.) เพิ่มมากขึ้น จากเดิมจะขอในขนาด 49 มิลลิเมตร
ที่สำคัญ จากการสุ่มตัวอย่างการซื้อขายถุงยางอนามัยผ่านทางเว็บไซต์ พบว่า
มีผู้ประกอบการไทยเปิดเว็บไซต์จำหน่ายถุงยางอนามัย ขนาด 32 มิลลิเมตร ไม่ต่ำกว่า 3-4 ราย ซึ่งลูกค้าที่ซื้อไปใช้น่าจะเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และน่าจะมีการเปิดเวบไซต์ลักษณะนี้ในช่วงปีที่ผ่านมา การขายถุงยางอนามัยขนาดเล็ก 32 มิลลิเมตรยังไม่มีการขายตามร้านค้าทั่วไป เท่าที่พบมีเพียงการขายผ่านเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะเป็นการเจาะ กลุ่มลูกค้าเฉพาะวัยรุ่นที่ต้องการและสั่งซื้อโดยตรง
น.พ.สมยศ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีเพิ่มมากขึ้นจากเดิม
การใช้ถุงอนามัยสตรี เป็นทางเลือกหนึ่งของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ได้ผล โดยถุงอนามัยสตรีเริ่มแรกมีการนำมาใช้กับกลุ่มสตรี เพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันโรคเอดส์ แต่ปัจจุบันยังสามารถป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักได้ และถุงอนามัยสตรีจะมีความทนทานมากกว่าถุงยางอนามัย มีอายุการใช้งาน 5 ปีหลังจากวันผลิต ใส่ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ได้นานถึง 8 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ร้อยละ 97.1 และประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับถุงยางอนามัย คือ 5 ต่อ 3 มีโอกาสเสี่ยง ต่อการฉีกขาดและหลุดเลื่อน 2.7 ต่อ 8.1 ดังนั้นถุงอนามัยสตรีจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มทาง เลือกในการป้องกันการติดเชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวี และการคุมกำเนิดได้
วันเดียวกัน ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ถุงยางอนามัย
ต้องการให้คนไทยโดยเฉพาะวัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจที่ดีและเชื่อมั่นในห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพถุง ยางอนามัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่ง จากข้อมูลตรวจสอบคุณภาพถุงยางอนามัย หัวข้อความดันและปริมาตรขณะแตก ในปีงบประมาณ 2551-2553 เก็บตัวอย่างจากร้านขายยา ผู้แทนจำหน่าย หน่วยงานราชการ เป็นต้น จำนวน 266,467 และ 218 ตัวอย่าง ผลการทดสอบเข้ามาตรฐานร้อยละ 99.6, 99.4 และ99.1 ตามลำดับ” นางพรรณสิริกล่าว
นายสุรศักดิ์ ปริสัญญากุล ผู้อำนวยการกองรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า
พิพิธภัณฑ์ถุงยางอนามัยต้องการให้ผู้เข้าเรียนรู้เกิดทัศนคติ ที่ดีต่อถุงยางอนามัยและกล้าที่จะยืดออกพกถุง เป็นการเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์ถุงยางอนามัย ยี่ห้อ ชนิด และแบบต่างๆ ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและเพื่อการส่งออก รวมถึง การนำเข้าในยุคแรกๆ จนถึงปัจจุบันตลอด 20 ปี จำนวนประมาณ 300 กล่อง เช่น ถุงยางยี่ห้อผู้ชนะสิบทิศ ใช้คำขวัญว่า ผู้พิชิตโรคเอดส์ ยี่ห้อมีชัย ใช้คำขวัญว่า ลูกมากยากจน ที่ผลิต จำหน่ายในราวปี 2536 นอกจากนี้ มีการสาธิตการ ตรวจสอบคุณภาพถุงยางอนามัยทั้งการตรวจการบรรจุซอง ความยาว ความกว้าง การยืดหยุ่นและการรั่วซึม โดยจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมในเวลา ราชการ ที่อาคาร 9 ชั้น 8 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำหรับถุงยางอนามัยที่มี ขายทั่วไปในประเทศไทยมี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ 56 มม. ขนาดกลาง 52 มม.และ ขนาดเล็ก 49 มม.