อภิรักษ์สั่ง...ทบทวนบีทีเอส

ทำตามผิดสัญญา 1 ธ.ค.ขึ้นแน่ !!!

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 พ.ย. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้มายื่นหนังสือถึงนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. ขอให้ยับยั้งการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซีเพิ่มอีก 15 บาท จากเดิม 10-40 บาทเป็น 15-40 บาทที่บริษัทจะปรับราคาในวันที่ 1 ธ.ค. นี้ พร้อมขอให้ผู้ว่าฯ กทม. รื้อสัญญาพร้อม ตั้งกรรมการตรวจสอบ กรณีที่บริษัทอ้างว่าการปรับราคาเป็นไปตามเพดานที่ได้รับการอนุมัติจาก กทม. ในอดีตเพื่อตรวจสอบว่าการกำหนดตามเพดานที่เปลี่ยนแปลงจากที่สัญญาระบุให้เก็บ 15 บาทตลอดสาย ซึ่งไม้ได้ปฎิบัติตามสัญญา มีคนใน กทม. ร่วมมือในครั้งนี้ด้วย ทำให้ประชาชนเสียผลประโยชน์ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น ทั้งนี้นายจิตติชัย แสงทอง เลขานุการผู้ว่าฯได้ให้เจ้าหน้าที่มารับเรื่องแทน ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวว่า ได้มอบให้นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม. ไปหารือกับสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ตามข้อร้องเรียนของนายยุทธพงศ์และนัดบีทีเอสมาประชุมให้ได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 1 ธ.ค.


บริษัทจัดเก็บเพียง 10-40 บาท ต่ำกว่าเพดานมาจนถึงปัจจุบันผ่านมา "7 ปี"

นายอาณัติ อาภาภิรม ประธานที่ปรึกษากรรมการบริษัทบีทีเอส เปิดเผยว่า เดิมในสัญญาระบุว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสายเมื่อเปิดให้บริการในปี 2535 และปรับเพิ่มได้ตามดัชนีผู้บริโภค แต่ภายหลังมีปัจจัยเข้ามากระทบหลายเรื่อง ทั้งการต่อเส้นทางและเปลี่ยนอู่จอดรถที่เดิมเคยกำหนดให้อยู่ที่อนุสาวรีชัยฯ และเปลี่ยนมาที่สวนลุมพินี แต่ไม่ได้พื้นที่ เลยขยายเส้นทางมาที่หมอชิต ซึ่งบริษัทต้องลงทุนเพิ่ม และโครงการแล้วเสร็จเปิดให้บริการเมื่อปี 2542 บริษัทจึงเสนอ กทม. ขอให้เปลี่ยนแปลงอัตราค่าโดยสารเพื่อให้เก็บตามเพดานและเก็บตามระยะทาง ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการมาพิจารณามีนาย สิปนนท์ เกตุทัต เป็นประธานฯ โดยเทียบเคียงอัตรา 15 บาทตลอดสายเมื่อปี 2535 ดังนั้นเมื่อเปิดใช้บริการในปี 2542 ซึ่งห่างกัน 7 ปี จึงได้ข้อสรุปจะเก็บตามเพดานที่ 15-45 บาท และสามารถปรับได้ตามดัชนีผู้บริโภค 5% ซึ่งขณะนั้นเคยมี ส.ก. พรรคประชาธิปัตย์ได้หยิบยกสัญญาที่ให้เก็บ 15 บาทตลอดสายมาคัดค้านแล้ว และ กทม. ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาและในที่สุดก็เห็นชอบตามคณะกรรมการชุดนายสิปนนท์ และทำข้อตกลงเพิ่มแนบท้ายสัญญาในสมัยนายพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าฯ กทม. ให้เก็บค่าโดยสารตามเพดานดังกล่าว แต่บริษัทจัดเก็บเพียง 10-40 บาท ต่ำกว่าเพดานมาจนถึงปัจจุบันผ่านมา 7 ปี ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น 20% ค่าบุคลากรบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 62.9% บริษัทจึงขอปรับค่าโดยสารตามเพดานเดิมคือ 15 บาท แต่ไม่เกิน 40 บาท ทั้งที่หากคิดตามสัญญาจริง ๆ ตามดัชนีผู้บริโภคบริษัทสามารถปรับค่าโดยสารเพิ่มจากเพดานมาได้แล้วถึง 3 ครั้ง โดยปี 2547 เก็บได้ 16-48 บาท ปี 2548 เก็บได้ 17-51 บาท และเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาเก็บได้ถึง 18-55 บาท แต่บริษัทก็ไม่เก็บเพราะจะกระทบกับผู้ใช้บริการ จึงขอปรับเพิ่มให้ชนเพดานเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยแล้วแต่ละคนจ่ายค่าโดยสารเพิ่มเป็น 23 บาท จากเดิมเฉลี่ย 21 บาท ซึ่งเพิ่ม 10% ไม่ใช่ 50% ทั้งนี้บริษัทยังยืนยันจะปรับราคาในวันที่ 1 ธ.ค. นี้ ซึ่งจะมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบสำหรับผู้ที่ใช้บริการในระยะสั้น ๆ แต่หากใช้บริการในระยะ 10 กม. ขึ้นไป ยังจ่ายในอัตราเดิม และหากใช้ตั๋วเดือนก็ยังจ่ายในราคาเดิม.

ที่มา:หนังสือพิพม์"เดลินิวส์"

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์