เผยโจ๋เขียนไทยผิดเพี้ยน

“นิพิฐฏ์”ชี้เด็กเขียนไทยผ่าน “เน็ต เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ บีบี” ทำทักษะภาษาผิดเพี้ยน หวังรณรงค์เด็กเขียนจดหมายสื่อสารกัน


วันนี้ ( 22 ก.ค.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค.นี้ วธ.ได้จัดทำผลการสำรวจความคิดเห็น หรือ โพลวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2553 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 6,592 คน อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ผลปรากฏว่า ร้อยละ 55.35 ทราบมาก่อนว่าวันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 ก.ค. รองลงมา ร้อยละ 28.08 ไม่ทราบ และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.57 อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.25

ทราบว่าวัตถุประสงค์หนึ่งที่กำหนดวันที่ 29 ก.ค.เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย

และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงห่วงใยและพระราชทานแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2505 ร้อยละ 35.63 ไม่ทราบ และร้อยละ 23.12 ไม่แน่ใจ

ร้อยละ 77.70 คิดว่าผู้ที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง คือ ครูอาจารย์ รองลงมา คือ พ่อแม่/ผู้ปกครอง ร้อยละ 60.89 ผู้ประกาศข่าวร้อยละ 52.99 พิธีกรรายการโทรทัศน์ร้อยละ 37.23 ดารา/นักแสดงร้อยละ 31.37 ผู้ดำเนินรายการวิทยุ/ดีเจ ร้อยละ 27.64 นักร้องร้อยละ 25.02 และ นักการเมืองร้อยละ 22.12 ตามลำดับ  ร้อยละ 60.30 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น "การพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ หรือพูดมีสำเนียงฝรั่งเป็นการแสดงถึงการมีความรู้หรือความทันสมัย  ร้อยละ 34.50 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น “ไม่จำเป็นต้องเขียนภาษาไทยในการสื่อสารผ่านมือถือ/อินเตอร์เน็ตให้ถูกต้อง เพราะทำให้เสียเวลา แค่สื่อสารกันรู้เรื่องก็พอแล้ว”  ร้อยละ 38.70 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น “การพูดภาษาไทยไม่ชัด เช่น คำควบกล้ำ เสียงวรรณยุกต์ ถือเป็นเรื่องปกติ” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.20 ไม่เห็นด้วยกับประเด็น "การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ควรใช้ในเรื่องที่เป็นทางการเท่านั้น

ร้อยละ 62.60 มีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยที่มีภาษาเป็นของตนเองอยู่ในระดับมาก

 ร้อยละ 37 คิดว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก กลุ่มตัวอย่างที่เสนอให้ วธ. ควรรณรงค์ หรือจัดกิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามลำดับดังนี้ ร้อยละ 43.92 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทยร้อยละ 28.37 ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและองค์กรที่ส่งเสริมสนับสนุน อนุรักษ์ภาษาไทย ร้อยละ 27.96 จัดกิจกรรมที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทย และร้อยละ 0.74 อื่น ๆ เช่น จัดอบรมหรือประชุมสัมมนาครูผู้สอนวิชา ภาษาไทย หรือจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ภาษาพื้นเมือง เป็นต้น

นายพินิฏฐ์ กล่าวว่า ตนมีนโยบายในการรณรงค์ให้คนไทยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสารมีความทันสมัย

เด็กเขียนภาษาไทยผ่านแต่ในเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ โทรศัพท์ บีบี ทำให้บางคำผิดเพี้ยนได้ง่าย ทุกวันนี้เด็กไม่เขียนจดหมายถึงกันแล้ว ดังนั้นอยากรณรงค์ให้เด็กหันมาเขียนจดหมายเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องกันมากขึ้น นอกจากนี้เรื่องภาษาถิ่นก็น่าเป็นห่วง คิดว่าจะต้องเริ่มที่ครอบครัวเป็นหลัก อยู่บ้านควรจะพูดคุยกันด้วยภาษาถิ่น จะทำให้เด็กได้ 2 ภาษา คือ ภาษาท้องถิ่นและภาษากลาง


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์