นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะอาหารซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุดและมีผลต่อสุขภาพโดยตรง เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและสุขภาพดี โดยเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522 ควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปรุงรสต่างๆที่ผลิตจากถั่วเหลือง ซึ่งประชาชนไทยนิยมใช้กันมากเช่นซอส ซีอิ้วปรุงรส ฉบับใหม่ล่าสุดให้เท่ากับมาตรฐานสากล โดยได้ยกเลิกประกาศฯเดิมที่ว่าด้วยเรื่องเดียวกัน ที่ประกาศใช้เมื่อพ.ศ.2543และพ.ศ.2544
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ตามประกาศฯฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ผลิตจากถั่วเหลืองที่ได้จากกระบวนการหมัก การสกัด ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน
กล่าวคือต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค หรือสารพิษอื่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องไม่ใช้สี สารปนเปื้อน 4 ชนิดต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ได้แก่1.สาร 3-เอ็มซีพีดี (3-MCPD)หรือสาร 3-คลอโร-1(3-Chloro-1),สาร 2-โพรเพนไดออล (2-propanediol) ไม่เกิน 0.4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมของผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองที่มีของแข็งที่เหลือหลังการระเหยน้ำไม่เกินร้อยละ 40 ซึ่งน้อยกว่าประกาศฯเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม มาตรฐานนี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมาธิการอาหารสากลหรือโคเด็กซ์ (CodexAlimentarius Commission) รวมทั้งประเทศสมาชิกขององค์การค้าโลก(WTO)ด้วย ส่วนอีก 3 ชนิด กำหนดปริมาณปนเปื้อนต่อน้ำหนักผลิตภัณฑ์ 1 กิโลกรัมดังนี้ สารตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัม สารทองแดงไม่เกิน 20 มิลลิกรัม และสารหนูหรืออาเซนิก ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ต้องมีสารโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5-10 ของน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีผลิต
มียีสต์หรือราไม่เกิน 10 ต่อผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากกระบวนการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง 1 กรัม โดยประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 180 วัน คือประมาณเดือนตุลาคม 2553 ผู้ผลิตจำหน่ายในและต่างประเทศหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ปรุงรสจากถั่วเหลืองทุกราย ต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ภายใน 2 ปีหลังจากประกาศฯมีผลใช้บังคับ
ทางด้านนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากล่าวว่า
หลังจากที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะทำหนังสือแจ้งเวียนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งด่านอาหารและยาตามแนวชายแดนให้รับทราบและปฏิบัติควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด และแจ้งให้บริษัทผู้ผลิตผู้นำเข้าทั่วประเทศ รับทราบและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้ตามมาตรฐาน
สำหรับสาร 3-เอ็มซีพีดี เป็นสารปนเปื้อนในอาหาร มีพิษต่อตับ ไต ต่อมไทรอยด์ เยื่อเมือกช่องปาก ลิ้น และอวัยวะสืบพันธุ์ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่ามีพิษต่อไต ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดลดลง และผลศึกษาระยะยาวพบว่าก่อให้เกิดมะเร็ง และก่อการกลายพันธุ์ (mutagen)ในสัตว์ทดลองได้ เป็นสารที่ควรลดให้อยู่ในขนาดต่ำสุด เท่าที่เทคโนโลยีการผลิตจะทำได้
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday