เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน นายเกื้อกูล ด้านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงคมนาคม
ที่กำกับดูแลกรมเจ้าท่าซึ่งร่วมรับผิดชอบเส้นทางน้ำได้เดินทางไปยังท่าน้ำวัดย่านอ่างทอง และประตูน้ำผักไห่ ในเขต ต.บ้านใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี นายเรวัต ประสงค์ นายอำเภอผักไห่ และ นายไมตรี ปิตินานนท์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมคณะในการตรวจสอบปัญหาผักตบชวาเต็มลำคลองสาขาแม่น้ำน้อย
ซึ่งพบว่า ลำคลองสาขาของแม่น้ำน้อย หน้าประตูน้ำผักไห่ยาว 8 กม. เต็มไปด้วยผักตบชวาแน่นไปทั้งลำคลอง
และพบว่าหลังประตู ผักไห่เข้าไปในทุ่งนาก็พบปัญหาผักตบชวาแน่นลำคลองระยะทางยาวกว่า 5 กม. โดยรวมแล้วมีผักตบชวายาวกว่า 13 กม. จนสร้างความเดือนร้อนต่อพี่น้องประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องทุ่ง ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่พายเรือหากันได้ พายเรือมาทำบุญที่วัดได้ ก็ถูกตัดขาดออกจากกัน และต้องใช้เส้นทางถนนแทนโดยต้องขับรถอ้อมเป็นระยะทางกว่า 10 กม.
รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับลำคลองสาขาแม่น้ำน้อยที่ อ.ผักไห่นี้ แนวทางแก้ไขคือ
ต้องตักผักตบชวาขึ้นจากลำคลองให้หมด เพื่อเปิดทางน้ำไหล โดยสั่งการให้นำเครื่องจักรของกรมเจ้าท่ามาสนธิกำลังกำลังกรมชลประทานและฝ่ายปกครอง เพื่อเร่งดำเนินการตักผักตบชวาระยะทางกว่า 12 กม.ขึ้นจากน้ำให้หมด ประเมินแล้วระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 60 วันในการดำเนินการ ทั้งนี้ต้องเร่งดำเนินการก่อนที่น้ำ จะเน่าเสียมากกว่านี้ และเพื่อเป็นการคืนวิถีชีวิตให้ชุมชน ได้กลับมาใช้สายน้ำนี้เพื่อทำมาหากินตามสภาพท้องทุ่งต่อไป
นายเกื้อกูล กล่าวอีกว่า ทางกรมเจ้าท่าได้ติดตามปัญหาผักตบชวาแน่นเต็มลำคลองและแม่น้ำทั่วประเทศ
พบว่ามีปัญหาในหลายลุ่มน้ำ ทั้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำสุพรรณบุรี ฯ ซึ่งในปีนี้พบปัญหาหนักที่สุดแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งทางกรมเจ้าท่าได้สืบค้นปัญหาพบว่า สาเหตุหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญคือปัญหาภัยแล้ง จนเขื่อนไม่มีน้ำเพื่อปล่อยน้ำลงใต้เขื่อน เพื่อใช้น้ำไล่น้ำใต้เขื่อนลงทะเลเหมือนแต่ก่อน คือ ภาครัฐมีความสามารถกำจัดผักตบชวา 30% ส่วนอีก 70% ใช้กลไกลธรรมชาติช่วย คือ เมื่อมีการปล่อยน้ำเหนือเขื่อนลงพื้นที่ใต้เขื่อน น้ำก็จะพักพาผักตบชวาในคลองและในแม่น้ำ ไหลไปลงทะเล หรือพื้นที่ปากอ่าว ซึ่งตามธรรมชาติ เมื่อผักตบชวาไหลไปถึงพื้นที่น้ำเค็ม ก็จะตายทั้งหมดแยะย่อยสลายไป แต่เมื่อไม่มีน้ำจากเหนือเขื่อนมาไล่น้ำ ผักตบชวาจึงไม่ไหลลงพื้นที่ด้านล่างของแม่น้ำ และอัดแน่นตามลำคลองและลุ่มน้ำต่าง ๆ และแพร่พันธ์อย่างรวดเร็ว และปีนี้เป็นปัญหาหนักสุดที่เคยพบมา ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาภัยแล้งที่พบหนักสุดเช่นกัน จนไม่มีน้ำจากเหนือเขื่อน เพื่อปล่อยไล่น้ำลงปากแม่น้ำเหมือนทุกปีที่ผ่านมา