รัฐบาลแต่ละประเทศใช้ข้ออ้างสาเหตุจากภัยแล้งและต้นทุนราคาน้ำมันแพง ขณะที่กลุ่มนักวิเคราะห์จากหลายประเทศ มองมุมเดียวกันว่า เพราะรัฐบาลบริหารผิดพลาด...
หลายครอบครัวในประเทศด้อยพัฒนาทั่วโลกประสบปัญหาราคาสินค้าอาหารแพงขึ้นมากสุดถึง 70%
ทำให้มีคนจนและขาดสารอาหารมากขึ้น เพราะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกทานเนื้อสัตว์ ผลไม้ หรือลดจำนวนมื้อ ลดปริมาณจนถึงเลือกซื้ออาหารราคาถูก สร้างภาระหนักกับภาครัฐในแต่ละประเทศที่ต้องแก้ไขปัญหาจากภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เผยถึงดัชนีตัวเลขราคาอาหารต่างๆ รวมเมล็ดธัญพืช เนื้อ ผลิตภัณฑ์ประเภทนมใน 90 ประเทศทั่วโลกของเดือน มี.ค. เฉลี่ยแพงขึ้นถึง 22% เมื่อเทียบกับปีกลายในเดือนเดียวกัน แม้ราคาต่ำกว่าปี 2551 แต่เฉพาะราคาข้าวและแป้งสาลีในตลาดเอเชียพุ่งถึง 20-70% มากกว่าปี 2551
รัฐบาลแต่ละประเทศใช้ข้ออ้างสาเหตุจากภัยแล้งและต้นทุนราคาน้ำมันแพง
ขณะที่กลุ่มนักวิเคราะห์จากหลายประเทศ เช่น อินเดีย อาร์เจนตินา และอียิปต์มองมุมเดียวกันว่า เพราะรัฐบาลบริหารผิดพลาด ทำให้ราคาอาหารยิ่งแพงขึ้น ประกอบกับกลุ่มพ่อค้าคนกลางรวมตัวกันกักตุนสินค้าเพื่อให้ราคาสูงขึ้น ทำให้ FAO คาดว่าประชากรโลกอดอยากขึ้นเป็น 100 ล้านคน
ขณะเดียวกัน ต้นทุนการจ่ายกับข้าวของแต่ละครัวเรือนก็พลิกผันราคาสินค้าบริโภคบางรายการให้ดีดตัวสูงขึ้น
โดยเฉพาะถั่วเหลือง จากปกติกลุ่มผู้บริโภคเป็นชาวเอเชีย ทำให้ภาคการเกษตรในอาร์เจนตินาและประเทศอื่นหันมาปลูกถั่วเหลืองแทนฟาร์มเลี้ยงวัว หรือปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด เพราะส่งออกได้ราคาดีกว่า ซึ่งกระทบถึงการขาดแคลนเนื้อสัตว์กับผลิตภัณฑ์อื่นภายในประเทศ.
ยูเอ็นชี้ของกินแพงทั่วโลกบีบคนจนเพิ่ม
เครดิต : ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!