อย.ให้เวลา3เดือน ลูกชิ้นติดฉลาก

ระบุสถานที่ผลิต ส่วนประกอบ วันผลิตและหมดอายุ ด้าน กรมวิทย์ฯ ตรวจพบสารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว – ลูกชิ้นสูง


วันนี้( 27 ก.พ.) ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า

หลังจากมีปัญหาเรื่องลูกชิ้นเรืองแสงเกิดขึ้น นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.ได้มอบนโยบายว่า จะให้เวลา 3 เดือนแก่โรงงานผู้ผลิตลูกชิ้นทั่วประเทศ ในการติดฉลากอาหาร โดยต้องระบุสถานที่ผลิต ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ ซึ่งจะเริ่มที่ลูกชิ้นก่อน ทั้งนี้ที่ให้เวลา 3 เดือน เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการได้ใช้เวลาปรับเปลี่ยน ต่อไปหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะสามารถติดตามได้ง่าย

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า สารกันบูด ที่เรียกว่า กรดเบนโซอิก นั้น ถือว่ามีความปลอดภัยองค์การอาหารและยา (อย.)

สหรัฐอเมริกาก็อนุญาตให้ใช้ได้แต่ต้องอยู่ระหว่าง 647-825 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้หากกินเข้าไปมากๆนอกจากจะส่งผลต่อการทำงานของไตแล้ว อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ในเวบไซต์ของ อย.สหรัฐฯระบุด้วยว่า หากกินอาหารที่มีกรดเบนโซอิกเข้าไปพร้อมกับเครื่องดื่มประเภทที่ส่วนผสมของวิตามินซี เช่น น้ำส้ม พวกซอฟดริ้งทั้งหลาย หรือที่เห็นชัดคือ นำลูกชิ้นไปยำ ต้องใส่น้ำมะนาว  เมื่อกรดเบนโซอิก ผสมกับวิตามินซี จะทำให้เกิดกสารก่อมะเร็งเรียกว่า เบนซีน แล้วยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อมอีกด้วย
   
ด้าน นายวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ผู้ช่วยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

กล่าวว่า ปัญหาเรื่องสารกันบูดในอาหารยังมีการใช้กันสูงอยู่  โดยเฉพาะเส้นก๋วยเตี๋ยวและลูกชิ้น ดังนั้น นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงอยากให้ศึกษาและแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบ คาดว่าอีก 2 เดือน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะพูดคุยกับ อย.ในเรื่องนี้.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์