กรมประมงรณรงค์กินปลาไทย

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ประเทศไทยได้ลงนามความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่าง ๆ

ซึ่ง กำหนดประเทศคู่เจรจาต้องลดอัตราภาษี   นำเข้าสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ประมงให้เหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็น   ต้นมานั้น ได้ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าปลาสดและปลาแช่แข็งจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
   
โดยมีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนเปิดเขตการค้าเสรี ส่งผลกระทบโดยตรงกับชาวประมง และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาในประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด จำนวนกว่า 400,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเล็ก กรมประมงในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้จัดทำโครงการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยในกรณีของสัตว์น้ำจืดมีระดับมาตรฐานฟาร์ม 2 ระดับ คือ มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย  และมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี และภายในปี 2552 กรมประมงได้ขยายการรับรอง มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย เพิ่มขึ้นอีก จำนวน 10,000 ฟาร์ม และมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี 3,500 ฟาร์ม
   
จากเดิมมีฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย 17,499 ฟาร์ม และ มาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี 2,988 ราย

เพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพฟาร์มปลาน้ำจืดของไทยให้ได้มาตรฐาน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรไทย ให้สามารถรองรับการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังรณรงค์ส่งเสริมให้มีการบริโภคสัตว์น้ำที่ผลิตในประเทศ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทยและตลาดสินค้าประมงภายในประเทศ และสำหรับกรณี  การนำเข้าสัตว์น้ำ กรมประมงได้มีมาตรการ ควบคุมด้านสุขอนามัยโดยการสุ่มตรวจรับรองจากเจ้าหน้าที่ด่านของกรมประมงอย่างเข้มงวด
   
ปัจจุบันผู้บริโภคบางกลุ่มนิยมบริโภค ปลานำเข้าจากต่างประเทศ

อาทิ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยมีความเชื่อว่าจะได้รับสารอาหารจำพวกโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ในปริมาณที่สูง แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ปลาของไทย บางชนิดก็มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจำพวก โอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูง เช่นเดียวกัน เช่น ปลาช่อน ปลานวลจันทร์ ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด ปลากะพงขาว ปลาทู ปลาตาเดียว ซึ่งเป็นปลาทะเล ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจำพวกโอเมก้า 3 และสารอื่น ๆ ในปริมาณที่ไม่แตกต่างจากการบริโภคปลาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมากนัก และผู้บริโภคยังมั่นใจได้อีกว่า การบริโภคปลาในประเทศนั้น มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังสด และสะอาด เพราะได้รับการรับรองจากกรมประมง
   
“กรมประมงจึงขอเชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคปลาและผลิตภัณฑ์ปลาที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยสามารถเลือกบริโภคปลาในประเทศที่มีความสดแทนการบริโภคปลาแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์จาก สารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ราคาย่อมเยา ทำให้มีสุขภาพดีแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือพี่น้องชาวประมงไทยได้อีก ทางหนึ่งด้วย” ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมงกล่าว.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์