ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กฯ ระบุ ภัยอาหาร-น้ำปนเปื้อนสารตะกั่วส่งผลเด็กไทยสมองไม่พัฒนา เมื่อเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน จะทำให้สมองมีการสูญเสียอย่างถาวร ...
พญ.ศิรา ภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า แม้พิษภัยจากสารตะกั่วในประเทศไทยจะไม่ใช่ปัญหาหลักของสาธารณสุข เพราะได้มีการเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม มาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว ทำให้ไม่มีปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วในอากาศที่เกินมาตรฐาน แต่สิ่งที่ยังเป็นความเสี่ยงอยู่คือ การปนเปื้อนของสารตะกั่วในอาหาร น้ำดื่มและผงฝุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องป้องกัน เพราะเมื่อเด็กคนหนึ่งได้รับพิษจากสารตะกั่วไปแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะสมองที่กำลังพัฒนาไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ โดยหากเด็กได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจากอาหารและน้ำดื่มเป็นระยะเวลานาน จะทำให้สมองมีการสูญเสียอย่างถาวร อีกทั้งพัฒนาการของเด็กจะยังคงล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน แม้จะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม
พญ.ศิราภรณ์ กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการป้องกันเด็กจากการได้รับสารตะกั่วปนเปื้อน ซึ่งเด็ก สามารถดูดซึมสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้มากถึง 50% เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ดูดซึมเพียง 10-15% ซึ่งสารตะกั่วที่อยู่ในร่างกายของเด็กจะกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อมากกว่า ผู้ใหญ่ ร้อยละ 30 ต่อร้อยละ 10 ทำให้เกิดผลกระทบได้มากกว่า โดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากเด็กได้รับสารสะสมในปริมาณต่ำแต่ติดต่อกันเป็นเวลานานจะเป็นโรคพิษ ตะกั่วเรื้อรัง ทำให้เกิดอันตรายต่อสมองและระบบประสาท และระดับสารตะกั่วในเลือดที่เพิ่มขึ้นทุก 10µg/dl จะทำให้สติปัญญาต่ำลง 4-7 จุด สถาบันสุขภาพเด็กฯ จึงจัดทำสื่อเผยแพร่เพื่อ "รณรงค์ป้องกันภัยอาหารปนเปื้อนสารตะกั่ว" เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารตะกั่วที่ปนเปื้อนใน อาหาร โดยมอบให้กับโรงเรียนประถมและมัธยม 926 แห่งทั่วประเทศ และเพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองตระหนักถึงพิษภัยของสารตะกั่วที่ปนเปื้อน ในอาหารและน้ำ
เด็กไทยสมองไม่พัฒนา รับสารตะกั่วปนเปื้อนมาก
เครดิต : ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!