คำขวัญพระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเนื่องไปวันแม่แห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๙
"รักในหลวง พร้อมใจ ใส่เสื้อเหลือง
รักบ้านเมือง จงน้อมใจ ให้สร้างสรรค์
ใส่สีเดียว แล้วใจเดียว กลมเกลียวกัน
รักเช่นนั้น ชาติของตน จึงพ้นภัย"
"รักในหลวง พร้อมใจ ใส่เสื้อเหลือง
รักบ้านเมือง จงน้อมใจ ให้สร้างสรรค์
ใส่สีเดียว แล้วใจเดียว กลมเกลียวกัน
รักเช่นนั้น ชาติของตน จึงพ้นภัย"
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีฐานันดรเมื่อแรกพระราชสมภพคือ
หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม๒๔๗๕ ที่บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตำบล วังใหม่ อำเภอ ปทุมวัน จังหวัดพระนครซึ่งเป็นบ้านของ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) พระบิดาของหม่อมหลวงบัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า สิริกิติ์ มีความหมายว่า ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร
บ้านเมื่องอยู่ในระยะแรกของการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย พระบิดาซึ่งขณะนั้นมียศเป็น พันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคลกิติยากร ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ต้องทรงออกราชการทหาร
โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง เลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี. ชี. สหรัฐอเมริกา ดังนั้นในวัยเยาว์เมื่อแรกเกิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องอยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ และ ท้าววนิดาพิจาริณี บิดามารดาของหม่อมหลวงบัว บางครั้งพระองค์ต้องทรงติดตามพระราชวงศ์ไปในต่างจังหวัด เช่น หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากรพระมารดาของ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ นัดดา ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปจังหวัดสงขลา
เมื่อ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีอายุ ๓ ขวบ จึงมีโอกาสอยู่ร่วมพร้อมกันทั้งครอบครัว เนื่องจากพระบิดา ทรงลาออกจากราชการเสด็จกลับประเทศไทย จึงทรงรับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ หม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์ พระเชษฐา และ หม่อมราชวงศ์บุษบา พระขนิษฐาที่ตำหนักริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปลายถนนผดุงกรุงเกษม เทเวศร
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเริ่มรับการศึกษาชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนราชินี
ปากคลองตลาด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาจังหวัดพระนครเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ถูกโจมตีทิ้งระเบิดทางอากาศ จึงทรงย้ายมาเรียนที่ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ ถนนสามเสน ซึ่งอยู่ใกล้บ้านในระยะที่เดินไปโรงเรียนได้ การที่ต้องทรงเผชิญสภาวการณ์บ้านเมื่องในยามสงครามโลก ซึ่งเป็นสภาวะผันผวนไม่สะดวกสบายตั่งแต่ยังทรงพระเยาว์ และพระบิดาทรงเป็นทหาร จึงทรงได้รับการอบรมในเรื่องวินัย ความอดทน ความเสียสละ ทำให้ทรงสั่งสมประสบการณ์เป็นพื้นฐานชีวิตที่แข็งแกร่งมาตั่งแต่ทรงพระเยาว์
หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐทูตวิสามัญ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ติดตามครอบครัวไปพำนัก ณ ประเทศ อังกฤษ ตั้งพระทัยจะเรียนเปียโนภาษาอังกฤษ และภาษา ฝรั่งเศส แต่ต่อมา ต้องทรงย้ายติดตามพระบิดาไปพำนักณ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศฝรั่งเศสทรงมุ่งมั่นจะเป็นนักเปียโนและทรงประสงค์จะเข้าศึกษาที่วิทยาลัยดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และโปรดเสด็จไปทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ที่กรุงปารีส จึงทรงพบ ทรงคุ้นเคย และทรงต้องพระราชอัธยาศัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ หม่อมหลวงบัว นำธิดาทั้งสองไปเยี่ยมพระอาการที่กรุงโลซานน์ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชชนนี ได้รับสั่งขอให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มาอยู่ศึกษาต่อที่เมื่องโลซานน์ โดยเข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำ Riante Rive มีชื่อเสียงในการสอนวิชา ภาษา ศิลปะดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์
วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๔๙๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงหมั่นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ โดยทรงใช้พระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระราชบิดา(สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก) ทรงหมั่น สมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี)
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิวัติประเทศไทยเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้วได้เข้าสู่พระราชพิธีราชา ภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วังสระปทุม สมเด็จพระสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระราชมารดาของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ทรงเป็นประธาน พระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายด้วย และในวันนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ตามฐานะและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงฉลองมงคลราชาภิเษกสมรสเป็นการภายใน ระหว่างพระญาติสนิทและข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดประมาณ ๒๐ คน กล่าวได้ว่า
เป็นมงคลสมรมที่ประหยัดโดยทรงรักษาส่วนที่เป็นราชประเพณีสำคัญไว้ครบถ้วนและรุ่งขึ้นหลังจากวันพระราชพิธีแล้ว ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๓ วัน ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นการไปดื่มน้ำผึ่งพระจันทร์ ที่ไม่เป็นการฟุ่มเฟือยเช่นกัน
" กรีบรมราชอิสริยาภรณ์ ประกาศเกียรติมหิสรมเหสี
สมเด็จพระราชินี โดยความยินดีแห่งปวงชน
นับแต่กาลพิธีนี้แล้ว พระคือดวงแก้วพิพิธผล
สว่างโรจน์โชติคู่ พระภูมิพล ร้อยรวมจิตชนชาวไทย"
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณขัตติยราชประเพณี เฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี
ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลับประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากแพทย์ผู้รักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลแนะนำให้ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ฯ ณ เมื่องโลซานน์เมื่อพระชนมายุได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์ได้ เสด็จนิวัติประเทศไทย ระหว่างที่กำลังซ่อมบูรณะพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อใช้เป็นที่ ประทับถาวร ได้ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมา สมเด็จพระบรม ราชินีพระประสูติกาล พระราชโอรส พระราชธิดา อีก ๓ พระองค์ คือ
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
รวมพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์
ทรงได้รับแต่งตั่งเป็น สภานายิกาสภากาชาดไทย แทน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี องค์สภานายิกาเดิม ซึ้งเสด็จสวรรคต เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๙๘
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาเสด็จออกทรงพระ ผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา ตามโบราณราชประเพณี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงปฎิบัติ พระราชกรณียกิจทั้งปวงลุล่วงเรียบร้อย เมื่อทรงลาผนวชแล้ว จึงทรงพระกรุณาสถาปนา พระอิสริยยศสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็น
© 2567 บริษัท ที่นี่มีเดีย จำกัด เข้าหน้าแรก Teenee.com
Youtube : teeneedotcom Line id : teeneedotcom Facebook id : teeneedotcom instagram : @teeneedotcom Twitter : teeneecom ติดต่อเรา