ครม.อึ้งบ้านเอื้ออาทร ขาดทุนพันล. ให้ลดหน่วยโครงการ



จากเป้าหมายเดิม 300,504 หน่วย เหลือ 281,556 หน่วย เพื่อไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยในหน่วยที่ขายไม่ได้ ส่วนข้อเสนอ กคช.ขอสนับสนุนจากรัฐ ให้ตั้ง กก.พิจารณาใน 1-2 เดือน


วันนี้ (28 เม.ย.) นายศุภรัตน์ ควรหา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ เห็นชอบแผนฟื้นฟูองค์กรของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และการแก้ไขปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยให้ปรับลดการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรจากเป้าหมายเดิม 300,504 หน่วย เหลือ 281,556 หน่วย โดยให้ดำเนินการเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความต้องการอย่างแท้จริง เพื่อ กคช.ไม่ต้องไปลงทุนในพื้นที่ที่ไม่สามารถขายได้ และไม่ต้องการให้ไปแบกรับภาระดอกเบี้ยหลังการก่อสร้างเสร็จแล้วของหน่วยที่ขายไม่ได้ ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารชุมชนที่จะนำไปสู่การขาดสภาพคล่องทางการ เงิน

นายศุภรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอการขอสนับสนุนจากภาครัฐ ทาง ครม.ยังไม่อนุมัติ และให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิจารณาให้รอบด้านก่อนที่จะมาขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ

ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ ราคา การเสนอขายโครงการให้หน่วยงานภาครัฐ ให้เสร็จภายใน 1-2 เดือน ก่อนนำให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งทางผู้บริหารของ กคช.ระบุว่ายังทันเวลาในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ การที่ กคช.เสนอแผนฟื้นฟูองค์กรเข้ามาเนื่องจาก ในปี 2550 ขาดทุน 1,289 ล้านบาท และปี 2551 ขาดทุน 991ล้านบาท และมีแนวโน้มจะขาดทุนต่อเนื่องอีก ขณะที่รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี ทางกระทรวงการคลังจะไม่ค้ำประกันเงินกู้ให้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอที่ กคช.ขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เช่น ขอให้รัฐสนับสนุนเงินอุดหนุน เพื่อชดเชยผลขาดทุนอันเกิดจากการดำเนินโครงการ โดยชดเชยภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในเวลา 6 เดือนหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนการก่อสร้างแต่ละปี เนื่องจาก กคช.ต้องรับภาระต้นทุนการดำเนินงานที่ปรับเพิ่มขึ้น รวม 2,745 ล้านบาท ในปี 2552-2553 รวมทั้งขอให้รัฐชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณปีละ 670 ล้านบาท จากภาระหนี้ 1.38 หมื่นล้านบาท สำหรับโครงการที่ได้จ่ายค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภคไปบ้างแล้ว แต่ต้องชะลอหรือยกเลิกโครงการ ซึ่งจะขดชดเชยเป็นรายปีตามภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริง 3 ปี วงเงินไม่เกิน 2 พันล้านบาท ตั้งแต่ปี 2552-2554

นอกจากนี้ กคช.ยังขอให้รัฐชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้จากนโยบายขยายเวลาก่อสร้าง 180 วัน ที่ ครม.เคยมีมติช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ประสบอุทุกภัยและเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง รวม 1,847 ล้านบาท ในปี 2552-2554 ด้วย ส่วนมาตรการสนับสนุนด้านอื่น ๆ เช่น การขอยกเลิกข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเอื้ออาทร จากเดิมโอนได้เมื่อครบ 5 ปี เนื่องจากเป็นการจำกัดจำนวนสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อและผู้มีรายได้น้อยกลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้ใช้แรงงานที่จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานตามแหล่งงาน รวมทั้งขอให้ กคช.สามารถเสนอขายโครงการในลักษณะยกอาคารหรือขายทั้งโครงการให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ ในราคาหักเงินอุดหนุนได้ รวมทั้งขายให้เอกชนในราคาที่ไม่ต่ำกว่า 390,000 บาทต่อหน่วย และให้รัฐจัดหาเพื่อเพิ่มจำนวนของสถาบันการเงินที่รับพิจารณาสินเชื่อบ้าน เอื้ออาทร และเพิ่มปริมาณการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน


ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า กคช.ยังขอให้สามารถปรับราคาขายได้ตามทำเลและศักยภาพของโครงการ และขอผ่อนปรนมาตรการในการขายโดยไม่จำกัดจำนวนหน่วยต่อผู้ซื้อแต่ละราย

และขอให้ผ่อนปรนให้ไม่ต้องคืนเงินอุดหนุนที่ได้รับจัดสรรมาแล้วสำหรับ โครงการที่ชะลอหรือยกเลิก เนื่องจากได้ใช้เงินดังกล่าวไปพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในโครงการที่ชะลอและ ยกเลิกไปแล้ว รวมทั้งขอให้อนุมัติธนาคารออมสินจัดตั้งวงเงินหมุนเวียน 500 ล้านบาท ในเงื่อนไขเดียวกับ ธอส. เพื่อให้ กคช.รับซื้ออาคารคืนและนำมาขายใหม่กรรีผู้ซื้อขาดการชำระค่างวดติดต่อกัน 3 เดือน โดยรัฐบาลรับภาระที่เกิดขึ้นและกคช.จะขอตั้งงบประมาณเป็นรายปี

อีกทั้งขอจัดตั้งกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นแหล่งทุนสำหรับผู้มีราย ได้น้อย รวมทั้งให้เช่าหรือเช่าซื้อ สร้างสินทรัพย์ที่มีรายได้เพื่อโอนเข้ากองทุนฯและขอลดหย่อนภาษีให้กับผู้ ลงทุนที่ซื้อกองทุนรวมฯที่ลงทุนในบ้านเอื้ออาทร นอกจากนั้น ขอให้กระทรวงคมนาคม สนับสนุนเดินรถโดยสารสาธารณะเข้าในโครงการบ้านเอื้ออาทรและให้กระทรวงการ


คลังศึกษาแนวทางสนับสนุนให้ กคช.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการสาธารณะด้านสาธารณูปโภคตามนโยบายพิเศษของ รัฐบาลเพื่อให้ยังคงได้รับการค้ำประกันการกู้เงินจากกระทรวงการคลัง กรณีผลการดำเนินงานมีผลขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์