ไฟป่าลดทุกภาค เว้นป่าเหนือ พบโลกร้อนยิ่งทำให้ไฟลามแรงเร็ว

กรรมาธิการภัยพิบัติฯ สภาผู้แทนราษฎร หวั่นปัญหาไฟป่าลาม ทั้งที่ทั่วไทยจำกัดพื้นที่เกิดไฟป่า รองพ่อเมืองเชียงใหม่เสนอนโยบายให้แก้ไขระดับภูมิภาค

นาย สรวงศ์  เทียนทอง ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาไฟป่าได้ก่อผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน รวมไปถึงการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคเหนือและจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ   คณะกรรมาธิการฯ จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาหมอกควัน ที่เกิดขึ้นจากไฟปาในเขตพื้นที่ภาคเหนือ เข้าชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และทางแก้ไข เมื่อวันที่  18 มีนาคม นี้

นายไพโรจน์   แสงภู่วงศ์  รองผู้ว่าราขชการจังหวัดเชียงใหม่ เสนอต่อกรรมาธิการฯว่า ปัญหาหมอกควันจากไฟป่ากระทบต่อเชียงใหม่มาก 

โดยเฉพาะที่เกิดกับภาคท่องเที่ยว  สำหรับปีนี้ ระดับคุณภาพอากาศ ยังพบว่าเกินมาตรฐาน ในเดือนมีนาคมนี้  มีทุกวัน ยกเว้นวันฝนตกวันเดียว  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน นักท่องเที่ยว   ทางจังหวัดเชื่อว่าปัญหาไฟป่าเกิดจากคนกระทำ  โดยในรอบเดือนกุมภาพันธ์ จะเกิดมากในเขตเมืองมากกว่าเขตป่า  ในเดือนมีนาคม ขึ้นไปจะเกิดมากในเขตที่สูง  ชาวเขาจะเริ่มเผาป่า  การรณรงค์ ป้องกัน มีการดำเนินงานไปอย่างมาก ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี 

 
“จุดที่เกิดไฟ  ทางราชการสามารถควบคุมได้ เพราะมีการประสานงานค่อนข้างดี  การดับผมไม่ค่อยกลัว  แต่ทำอย่างไรจะไม่เกิด  ทางจังหวัดคิดยาวๆไว้ ทั้งในเขตเมืองในเรื่องการกำจัดขยะ แต่การแก้ปัญหาคนบนดอย ยังยากอยู่ เพราะเป็นการเผาป่าไปตามวิถีชีวิต เพื่อการเกษตร แม้จะคอยห้าม แต่ยังมีการลักลอบเผา ยิ่งชาวเขาจะใช้วิธีการจุดธูปทิ้งไว้กับเชื้อเพลิงให้ติดไฟเพื่อเผาป่า  ก็ทำให้ตามจับตัวได้ยาก เรากำลังมีแนวคิดหาทางแก้ไข โดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตปกติของชาวเขาด้วย ทั้งยังพบว่าการเกิดปัญหาไฟป่าในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน“ รองผู้ว่าฯเชียงใหม่ กล่าว

 
นายไกรเพชญ  ปาณสมบูรณ์  ผอ.สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า  กรมอุทธยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ชี้แจงแก่กรรมาธิการว่า ปัญหาไฟป่าทั้วประเทศนั้น  พบว่า เกิดจากมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ 

ไม่ว่าจะเป็นการเผาไร่  หาของป่า  แต่ยังพบว่า ปัญหาไฟป่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อเปรียบเทียบกับปีทีผ่านมา  ในขณะที่ภาคอื่นๆลดลง
ผู้อำนวยการสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ  กล่าวว่า มีแผนรองรับทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะ เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว ไปจนถึงอินโดนีเซีย มาเลเซีย  โดยจะให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านด้วย  หากมีค่าความสูงของฝุ่น ละออง ผลพิษ

 “ขณะนี้กำลังทำเรื่องการจัดระเบียบการเผา  หรือทะยอยเผา ให้กับเกษตกร ในเขต เชียงใหม่ ชัยนาท แม่ฮ่องสอน เพื่อศึกษาผลกระทบก่อน  หากได้รับความร่วมมือจากเกษตรกร ก็ไม่จำเป็นต้องออกเป็นกฎระเบียบ  จึงพยายามให้เขาควบคุมกันเองก่อน   จะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว   พร้อมกับการประสานกับมหาดไทย  กระทรวงทรัพย์  กระทรวงเกษตร  ให้จัดวางมาตรการในการจัดการโดยเป็นบูรณาการ....

นายอานนท์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิจัย ฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ได้มีการมองไปถึงอนาคตไปไกลๆในระยะหลายสิบปีข้างหน้า 

ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มลดลง  โดยเฉลี่ย จะเกิด 2-3 พันจุดต่อปี  ในเขตพื้นที่แม่ฮ่องสอน  ซึ่งพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น  จากการทำเวทีสนทนากับชาวบ้าน มากกว่าครึ่งเป็นการเผาในพื้นที่สูง  และการชิงเผาเพื่อจัดการเชื้อเพลิง  หาของป่า “คนเผาป่าในพื้นที่แม่ฮ่องสอน  พบว่า ชาวเขาจะมีความคิดแตกต่างกันไป  อย่างพวก ม้ง จะเผากลางวัน มีการควบคุมดูแลชัดเจน  ซึ่งราชการให้ความร่วมมือดีมาก  อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ  เพราะมีการกระทจายภาระกิจลงไปในท้องถิ่น แต่ไม่มอบงบฯไปให้  จึงอยากให้มีกองทุน  ให้ท้องถิ่นที่มีความพร้อมเสนอใช้เงินได้ตามความจำเป็นในการจัดการที่จะต้องมีตลอดทั้งปี  ไม่ใช่แค่รอเงินเบิกพิเศษจากการประกาศเป็นเขตภันพิบัติ”


นายอานนท์ กล่าวอีกว่า  การแก้ปัญหาของภาครัฐในด้านต่างๆ แม้จะได้ผลเป็นอย่างดี  แต่ในระยะยาว พบว่า ปัญหาโลกร้อน จะทำให้เกิดความแห้งแล้งมากขึ้น  ในอนาคต ไฟป่าจะเปลี่ยนไป

โดยเฉพาะในแม่ฮ่องสอน  แม้จะนวนไฟป่าจะลดลง  แต่การลามของไฟป่าจะขยายกว้าง และรุนแรงมากขึ้น   และถ้าไม่ทำอะไรเลย จะยิ่งทำให้จำนวนจุดเกิดไฟป่า-Hot spot มากขึ้น
นายสรวงศ์ กล่าวว่า ที่สระแก้ว  ได้เคยไปดำเนินการโดย เสนอกับชาวบ้านในเขตพื้นที่สระแก้ว ที่ตนเป็น ส.ส.อยู่ โดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบกับตัวผู้เผาเอง ทำให้หน้าดินเสีย ผลผลิตได้น้อยลง  
 
นายไพโรจน์   แสงภู่วงศ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เสนอต่อกรรมาธิการฯ ว่า การแก้ปัญหาในเขตป่า 1. การกำหนดโซนนิ่งชัดเจน ในเรื่องของพื้นที่เสี่ยงภัย   2. ต้องมีรางวัลในการดูแลรักษาป่า  จะแก้ปัญหาเชื้อเพลิงสะสม   หลังแก้ปัญหา  ในส่วนพื้นที่การเกษตร  อยากให้ ก.เกษตร มาช่วยอย่างแท้จริง  รวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่นท้องถิ่น จะต้องร่วมดำเนินการด้วย
 

“ปัญหานี้เป็นปัญหาของภูมิภาค  เหนือ  หน่วยงานราชการส่วนกลาง จะต้องมีแผนในระดับภูมิภาค  อยากให้มีการบริหารจัดการ”รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว
  

นายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ  ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ยังห่วงเรื่องการดับไฟ  นักผจญเพลง นักดับไฟป่า ได้รับการดูแลดีหรือไม่เพียงใด 

เพื่อให้คนเหล่านี้มีขวัญกำลังใจ   และในส่วนของสารเคมีในการดับไฟป่า มีราคาสูง  ยิ่งเมื่อเทียบกับราคาในประเทศและต่างประเทศ  ทั้งควรหาหนทางที่จะดึงชาวบ้านในพื้นที่ ที่มักเป็นผู้ก่อปัญหาไฟป่า มาร่วมทำงานในหน่วยงานด้านดูแล รักษาป่า ด้วย
นายสรวงศ์ เทียนทอง ประธานคณะกรรมการธิการฯ กล่าวว่า ปัญหาไฟป่า มีทั้งเรื่องของงบประมาณ   และควรเร่งแก้ปัญหาเรื่องของคนให้มากที่สุด และขอให้เน้นการป้องกัน  มากกว่าแก้ไขปัญหา หรือบรรเทาปัญหา

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์