โศกสึนามิซ้ำสอง

โศกนาฏกรรมจากภัยพิบัติ "สึนามิ" หวนกลับมาตอกย้ำอินโดนีเซียอีกครั้ง


และเหตุซ้ำสองนี้บ่งบอกถึงความจำเป็นที่อินโดนีเซียต้องติดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโดยเร็วที่สุด

สึนามิครั้งที่สอง 17 ก.ค.2549 แม้จะรุนแรงน้อยกว่าเมื่อครั้ง 26 ธ.ค.2547 แต่ก็คร่าชีวิตผู้คนไปเกิน 300 ราย

เหยื่อจำนวนมากคือผู้คนที่อยู่ตามชายหาดตลอดแนวของเกาะชวา ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ใต้ท้องทะเล


"ผมไม่รู้สึกอะไรเลย แต่จู่ๆ ราว 5 นาทีหลังจากน้ำลดลงไป คลื่นใหญ่ก็ซัดเข้ามา" บูดี ชาวอินโดนีเซียวัย 24 ปีให้สัมภาษณ์ โดยช่วงเกิดเหตุบูดีเล่นเซิร์ฟอยู่ที่หาดบาตู เครส ห่างจากจุดเสียหายร้ายแรงที่พันกันด



บูดีรอดชีวิต เพราะหนีขึ้นฝั่งก่อนเมื่อเห็นน้ำลด ในใจคิดแต่ว่าเดี๋ยวจะมีคลื่นซัดฝั่งแน่ โดยไม่รอคำเตือนจากทางการ


เช่นเดียวกับคนที่เล่นน้ำอยู่ตรงบริเวณนั้นที่รีบวิ่งมาดูปลาแถก จังหวะที่น้ำลดฮวบลงไป เป็นสัญญาณเดียวกับเหตุการณ์สึนามิเมื่อสองปีก่อน ซึ่งคร่าชีวิตชาวอินโดนีเซียในจังหวัดอาเจะห์กว่า 120,000 ราย

เฟาซี เจ้าหน้าที่ประจำโครงการเตือนภัย กรมอุตุนิยมวิทยาของอินโดนีเซีย กล่าวว่า ตอนนี้ระบบเตือนภัยยังทำงานไม่สมบูรณ์ เรายังต้องพัฒนาระบบการสื่อสาร โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค มีทุ่นตรวจจับความเคลื่อนไหวแล้วในฝั่งสุมาตรา แต่ยังไม่ได้ติดตั้งในฝั่งชวา


เอดี พรีฮันโตโร เจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า แม้จะมีทุ่นตรวจจับอยู่ 2 อัน รวมทั้งเครื่องตรวจจับความดันใต้พื้นทะเล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์อเมริกันและเยอรมันไปติดตั้งไว้ตรงบริเวณเกาะสุม

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ก็ยังทำงานไม่ได้ผล เพราะการตรวจจับปรากฏการณ์ทางทะเลนั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่เป็นทุ่นนี้ถึง 25 อัน แต่ที่ติดตั้งได้มีเพียง 2 อัน ส่วนที่เหลือยังมีปัญหาและคาอยู่บนพื้นดิน ซึ่งการขาดแคลนเงินทุนเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้ติดตั้งไม่สำเร็จ จากแผนการติดตั้งระบบเตือนภัยดังกล่าว คาดว่าจะเสร็จสิ้นปลายปี 2551


"เรายังหารือถึงงบประมาณและการบำรุงรักษา ผมคิดว่าประเทศอื่นก็ต้องเข้ามาช่วยเรื่องเงินทุนด้วย เพราะชาติอื่นๆ ก็ต้องอาศัยข้อมูลทางทะเลจากเรา ดังนั้นจึงไม่ยุติธรรมเลย ถ้าเราต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด" นายพรีอันโตโร กล่าว


เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีรัฐบาลเยอรมนีและรัฐบาลจีนที่บริจาคเข้ากองทุนติดตั้งระบบเตือนภัยมาแล้ว แต่ยังไม่พอ เพราะถ้าติดตั้งทั่วประเทศก็เป็นราคาที่แพง


สำหรับทุ่นตรวจจับความเคลื่อนไหวในทะเลตามกลุ่มเกาะของอินโดนีเซียจะมีจุดเชื่อมกันกับเครื่องตรวจวัดความไหวสะเทือนกว่า 100 อัน และจะตรวจจับความเร็วของคลื่นเพื่อประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะก่อตัวเป็นสึนามิหรือไม่

ขณะที่การเตือนภัยทางวิทยุและโทรทัศน์ก็ยังไม่ครอบคลุม ปัญหาอยู่ที่การสื่อสารโดยตรงกันในชุมชน หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่อยู่ตลอดแนวชายหาดทางใต้จะได้รับคำเตือนเป็นเอสเอ็มเอสได้อย่างไร ในเมื่อโทรศัพท์มือถือยังเป็นอุปกรณ์ที่จำกัดอยู่เฉพาะคนที่พอมีกำลังซื้อ ขณะที่ชาวประมงยากจน


สิ่งที่น่าจะได้ผลที่สุดจึงน่าจะเป็นสัญญาณไซเรนตามชายหาด ซึ่งอินโดนีเซียจะเริ่มติดตั้งที่อาเจะห์ พื้นที่ประสบภัยครั้งก่อนภายในปีนี้ รวมถึงที่เกาะบาหลี เขตดึงดูดนักท่องเที่ยว ภายในปีหน้า



ถึงอย่างไรอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่สูญเปล่า เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต "วงแหวนไฟ" หรือเขตรอยต่อของเปลือกโลกที่ต้องเผชิญภัยแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง



แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์