“ระวัง” ภาษาChat ทำลายวัฒนธรรมภาษาไทย

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายคนมองว่าไกลตัว หลายคนมองว่าไม่สำคัญ แต่จุดเล็กๆ
นี้อาจก่อความเปลี่ยนแปลง ได้อย่างมากมาย หากไม่ได้รับการแก้ไข ในสังคมวัยรุ่น
 ขณะนี้ถูกแทรกซึมโดยโลกไซเบอร์ ยกตัวอย่างสังคมแชทกลายเป็นสังคมที่เข้มแข็ง
มีการรวมตัว...และที่สำคัญ... กำลังมีภาษาเป็นของตัวเอง โดยการรุกล้ำวัฒนธรรมอันดีงามของภาษาไทย


ปฏิเสธไม่ได้ว่าโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ให้คุณได้ทุกอย่าง นับตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบิน
เช็ครอบหนัง ลงทะเบียนเรียน ค้นหาข้อมูลต่างๆ อ่านข่าว ฟังวิทยุ หรือแม้กระทั่งสั่งอาหาร รวมทั้งการให้คุณมีสังคมใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย และแล้วสังคมในแชทก็เกิดขึ้น เข้าไปบ่อยๆ คุยกันหลายครั้ง คุ้นชื่อคุ้นนิคเนม (Nickname) (คือชื่อที่ใช้เวลาเล่นChat) กันบ่อยๆ เข้าก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า “ติดChat” เหตุผลที่พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกว่าChatได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันจนขาดไปไม่ได้ส่วนใหญ่ คือรู้สึกว่ามีสังคมเพิ่มมาอีกสังคมหนึ่ง มีเพื่อนคุย เวลาเหงาๆ เครียดๆ ไม่สบายใจก็สามารถมาระบายในแชท โดยที่คนที่คุยด้วยก็รู้จักเราแค่ชื่อเล่นที่อาจจะเป็นชื่อที่สมมติขึ้นมา เรียกว่าคุยได้ทุกเรื่องโดยไม่ต้องอาย ยังไงก็ไม่เห็นหน้า ไม่รู้จักตัวจริงกันอยู่แล้ว แต่ข้อเสียของการเล่นChatก็มีมากมาย อย่างที่เห็นเป็นข่าวกันประจำก็คือการที่นัดเจอคนในChatแล้วก็เกิดเหตุทำร้ายร่างกายไปจนกระทั่งการฆาตกรรม


ปัจจุบันภาษาChatได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนแล้ว ถ้าไม่เชื่อ คุณพ่อคุณแม่ลองไปสังเกตเวลาที่ลูก ๆ ของคุณพูดคุยกับเพื่อนๆ ดูสิคะ รับรองว่าจะต้องได้ยินศัพท์ประหลาดๆ ที่เหมือนไม่ใช่ภาษาไทยอย่างแน่นอน จะกล่าวให้ชัดก็คือ ภาษาสะดวกปาก สะดวกพิมพ์ อย่างภาษาChat ได้เข้าไปกลมกลืนกับภาษาไทย ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กวัยรุ่น ไปเรียบร้อยแล้ว และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือการแพร่หลายของภาษาChatในภาษาเขียน ถ้าไม่มีการจัดการเสียก่อนที่จะสายเกินไป อาจลุกลามไปจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมก็เป็นได้ เพราะการที่เรามีภาษาเป็นของตัวเอง ถือเป็นเอกราชและวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง


ขอยกตัวอย่างภาษาChatที่ใช้พูดคุยกัน เช่น


“ เดฆ่า.. บัยเดเหยอคระ คิดถุงเว่อๆ เลยน๊า”

(แปล - ดีค่ะ บายดีเหรอคะ คิดถึงเวอร์ๆ เลยนะ)
(แปลอีกที – สวัสดีค่ะ สบายดีเหรอคะ คิดถึงมากเลยนะ)


“ดีฮัฟ มะเจอกานนานโคดๆ เลยนะฮัฟ”

(แปล – ดีครับ ไม่เจอกันนานโคตรๆ เลยนะฮะ)
(แปลอีกที - สวัสดีครับ ไม่เจอกันนานมากเลยนะฮะ)


“บั๊บบัย เด๋วต้องไปแร้นนร๊ะ เทอจะคิดถุงกังม่างอ๊ะเป่าง่ะ”

แปล – บ๊ายบาย เดี๋ยวต้องไปแล้วนะ เธอจะคิดถึงกันบ้างรึเปล่าน่ะ)


“ดีคร่ะ ครัยคร๊า ว๊า ไม่ตอบ นู๋ปัยเดกั่ว”

(แปล - ใครคะ ว๊า ไม่ตอบ หนูไปดีกว่า)


“อ่าว ทักช้าจึ๋งเดว ออกไปซะแระ จัยร้อนเจงๆ วุ๊ย ใจร้อนมั่กๆ ”

(แปล - อ่าว ทักช้าจึ๋งเดียว ออกไปซะแล้ว ใจร้อนจริงๆ วุ๊ย ใจร้อนมากๆ )
(แปลอีกที – อ้าว ทักช้านิดเดียว ออกไปแซะแล้ว ใจร้อนจริงๆ ใจร้อนมากๆ )


“อยู่ตงหนายเย๋อฆะ นู๋ปัยมะเปงอ่ะคร่ะ เพ่แมวแผนที่มาให้นู๋จิฆะ”

(แปล- อยู่ตรงไหนล่ะคะ หนูไปไม่เป็นน่ะค่ะ พี่ช่วยเมลล์แผนที่มาให้หนูสิคะ”


“ก้อมีตุ๊ระอ่ะคร่ะ เด๋วต้องไปก่องนะคระ ว่างๆ แร๊วคุยกังหม่าย”

(แปล – ก็มีธุระน่ะค่ะ เดี๋ยวไปก่อนนะคะ ว่างๆแล้วคุยกันใหม่)


แค่นี้ก็เริ่ม ๆ จะปวดหัวกันแล้วใช่มั๊ยค่ะ ยังมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ ๆอย่างเช่น


อีแมว - อีเมล์ (E – Mail)


กิ๊ก – ชู้รัก


จร๊วบ - จูบ หอมแก้ม (จากการเลียนเสียง)


หุ หุ - หัวเราะ (จากการเลียนเสียง)


อิ๊ อิ๊ - หัวเราะ (จากการเลียนเสียง)


คริ คริ - หัวเราะ (จากการเลียนเสียง)


เหอ เหอ - หัวเราะ (จากการเลียนเสียง)


ภาษาเช่นนี้เด็กวัยรุ่นจะชอบใช้กันมากจนในปัจจุบันได้นำมาใช้กันในชีวิตประจำวันเสียแล้ว ส่วนมากเมื่อแรกที่เข้ามาคุยในChatก็ใช้ภาษาปกติ แต่พอนานวันเข้าภาษาChatก็จะซึมเข้าไปเอง จนพูดเป็นในที่สุด อันที่จริงแล้วมันก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาใช่ไหมคะ แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือการแพร่หลายของภาษาChatในภาษาเขียน ถ้าไม่มีการจัดการเสียก่อนที่จะสายเกินไป อาจลุกลามไปจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมก็เป็นได้ เพราะการที่เรามีภาษาเป็นของตัวเอง ถือเป็นเอกราชและวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะคุยกับลูก ๆให้เข้าใจนะคะว่าการที่เราพูดคุยสนทนาโดยใช้ภาษาChatนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่ขอให้ใช้เฉพาะในห้องChatเท่านั้นอย่านำมาเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนของเราเพราะภาษาไทยเราเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามอยู่แล้ว เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ให้ลูกหลานของเราสืบต่อไป

อ้างอิง

- มรกต คนึงสุขเกษม. 2546 : สถานการณ์เยาวชนกับภัยอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

- สุพัตรา สุภาพ  : เรื่องวุ่น วัยรุ่นไฮเทค พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2546


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์