เอสเอ็มอีจ่อโละคนงาน 3.2 แสน

ธุรกิจยานยนต์-เครื่องไฟฟ้าหนักสุด อุตฯเร่งอบรมคนว่างงานเสริมรายได้


รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมวิสาห กิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า


ปี 52 ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย 2.42 ล้านแห่ง คาดว่ามีการจ้างงาน 8.733 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 3.27 แสนคนหรือ 3.53% โดยอุตสาหกรรม     ที่เสี่ยงต่อการปลดคนงานมากสุด เช่น กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน, บริการให้เช่าสินทรัพย์และบริการทั่วไป, หนังและผลิตภัณฑ์หนัง, เฟอร์    นิเจอร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, บริการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ลดกำลังผลิตลงเฉลี่ย 30-40% เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยปัญหาการปลดคนงานจะหนักสุดช่วง มี.ค.-พ.ค. 52
 
“แม้ว่าจำนวนธุรกิจเอสเอ็มอีไทยปีนี้จะเพิ่มจากปีก่อน 0.53% โดยมีรายได้ทั้งหมด 6 ล้านล้านบาทเพิ่ม 1.33% แต่ผลตอบแทนจากการดำเนินงานกลับได้เพียง 3.84% ลดลง 9.18%  และความสามารถการทำงานของแรงงานเพียง 80,523 บาทต่อคนเท่านั้นลดลง 1.24% เพราะปัญหาการขายของยากตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นจำเป็นต้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด่วนโดยเฉพาะแรงงานที่จะถูกปลดออก”
 
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่ารัฐบาลเป็นห่วงปัญหาการว่างงาน อย่างมาก และอยู่ระหว่างการจัดทำแผนช่วยเหลือกลุ่มอุตสาหกรรมระยะสั้นแบบเร่งด่วนเพื่อช่วยรักษาสถานภาพแรงงานให้เหลือมากที่สุด โดยปัจจุบันมีหลายอุตสาหกรรมได้ส่งตัวเลขการปลดคนงานออก ซึ่งแนวทางที่กระทรวงเร่งดำเนินการคือ การของบกลางปีจากรัฐบาลส่วนหนึ่งมาฝึกอบรมผู้ที่ตกงาน และพนักงานกลุ่มเสี่ยงถูกเลิกจ้างให้ฟรี
 
ทั้งนี้ผู้ที่ว่างงานที่เข้าโครงการฝึกอบรมจะได้รับเงินเดือนไม่เกิน 4,800 บาทต่อเดือนไม่เกิน 4 เดือนตามเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด เบื้องต้นคณะกรรมการคลังสมองเพื่อชาติ ยุทธ ศาสตร์ภาครัฐ เอกชนเสนอของบกลางปี 1,000 ล้านบาท และเมื่อได้รับอนุมัติก็จะพิจารณา  ผู้ที่เข้าร่วมโครงการทันที หากปริมาณมากคงต้องลดจำนวนเงินการจ่ายน้อยลงเพื่อเฉลี่ยกันทั่วถึง
 
ส่วนการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทเพื่อรักษาสภาพการเป็นพนักงานนั้นกระทรวงจะจ่ายเงินเป็นรายเดือนส่วนหนึ่ง แต่คงไม่ถึง 4,800 บาทเหมือนกับผู้ที่ว่างงาน หรือบางครั้งอาจจ่ายเฉพาะเบี้ยเลี้ยงในส่วนของแรงงานฝีมือเนื่องจาก  กลุ่มนี้มีรายได้สูงอยู่แล้ว
 
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า หลายอุตสาหกรรมได้ส่งตัวเลขที่จะเลิกจ้างให้กระทรวงช่วยเหลือ เช่น กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน 4 หมื่นราย เฟอร์นิเจอร์ 1.7 หมื่นราย ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 1.7 หมื่นราย เป็นต้น โดยแนวทางการให้เบี้ยเลี้ยงของผู้เข้าโครงการ   ฝึกอบรมเพื่อรักษาสภาพแรงงานไม่ให้ถูกปลดแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เช่น รัฐบาลสิงคโปร์จ่ายแทนบริษัท 100% เต็ม หรือบางประเทศรัฐบาลจ่ายให้ 20% ที่เหลือบริษัทจ่าย 80%
 
สำหรับแผนของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้นหากผู้ที่เข้าฝึกอบรมในโครงการดังกล่าว แล้วมั่นใจว่า สามารถมีงานทำ 100% ส่วนใหญ่คงเกลี่ยไปสู่ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ที่ยังรับคน   เพิ่มอีก 2 หมื่นราย กลุ่มรองเท้า 3,000-4,000 ราย เป็นต้น
 
“สถานการณ์ว่างงานนั้นยังไม่ถึงจุดหนักสุด แต่ที่เป็นห่วงคือเดือน มี.ค.-พ.ค. เพราะมีนักเรียน นักศึกษาจบการศึกษามาหางานทำพอดี ดังนั้นหลายฝ่ายหวังว่าเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐ กิจของรัฐบาลที่เริ่มเข้าสู่ระบบจะมีประสิทธิภาพตามที่ประเมินไว้”.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์