ธุรกิจผวาบี้จ่ายสดงดรับ “เช็ค”

นายสันติกล่าวว่า

ขณะนี้พบว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายย่อยกำลังมีปัญหาสภาพคล่องค่อนข้างมากในการทำธุรกรรมทางการเงิน เริ่มไม่ต้องการรับเช็คเพราะขาดความเชื่อมั่นเกรงเจอเช็คเด้ง จึงยึดเงินสดเป็นหลัก หากปล่อยให้เป็นปัญหายืดเยื้อจะมีผลทำให้เศรษฐกิจไม่เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น และหากเป็นปัญหานี้อย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลให้เกิดการกู้นอกระบบมากขึ้นไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ 

นายสันติกล่าวว่า
 
ในวันที่ 20 พ.ย. จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจ โดยจะมีการติดตามความคืบหน้าใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่

1. การแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าเหล็กภายใต้กรอบข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา)

2. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ

3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการ กรอ.จังหวัด


กระทุ้งรัฐปรับฐานภาษี  นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาเรื่องสำคัญ คือการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การติดตามใช้งบประมาณเพิ่มเติม 100,000 ล้านบาท ที่เอกชนต้องการให้รัฐใช้งบประมาณดังกล่าว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนภายใน 6 เดือนถึง 1 ปี และการเร่งรัดออกกฎหมายค้าปลีกและค้าส่ง “ภาคเอกชนได้มีการหารือระดับหนึ่งเกี่ยวกับการลดภาษีรายได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจะปรับลดลงกรณีที่มีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ให้ยกเว้นการเสียภาษี แต่ รายได้ตั้งแต่ 150,000-500,000 บาทต่อปี เสียภาษี 10% และรายได้ตั้งแต่ 500,000 บาท ถึง 1 ล้านบาท จ่ายภาษี 20% รายได้ 1-4 ล้านบาท จ่าย 30% และรายได้ 4 ล้านบาทขึ้นไปจ่ายภาษี 37%”


นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

จากการเดินทางไปพบนักลงทุนทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาได้มีการสอบถามว่าไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลกในรอบนี้หรือไม่เชื่อว่า
ได้รับผลกระทบบ้างหากไม่ได้รับผลกระทบเลยนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะคนค้าที่ค้าขายด้วยทั้งสหรัฐอเมริกา และยุโรปได้รับผลกระทบถ้วนหน้า


สำหรับธุรกิจในไทยคงไม่มีการล้มระเนระนาดเหมือนกับวิกฤติต้มย้ำกุ้งปี 40 ที่มีการใช้เงินเกินตัวแต่คงได้รับผลกระทบบ้างตามโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยและล่มสลายรุนแรง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการของไทยมีความระมัดระวังมากขึ้น พร้อมกับมีการซึมซับเศรษฐกิจพอเพียง “ในปีหน้าเชื่อว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของไทยจากเดิม 4-5% ปรับลดเหลือ 3% และสินเชื่อของธนาคารในปีหน้าปรับลดลงจากเดิม 10-17% เหลือแค่ 6-7% เนื่องจากธนาคารต้องระมัดระวังมากขึ้น”.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์