ตลาดน้ำมันสิ้นฤทธิ์วูบรายวัน วิกฤติลามทั่วโลก เผชิญภาวะศก.ถดถอย

องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ได้ปรับลดคาดการณ์ทางเศรษฐกิจสำหรับสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปลง
 
โดยคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะชะลอตัวลงอย่างหนักในไตรมาสที่
4 โดยหดตัวลง 2.8% และคาดว่าจะติดลบ 0.9% ในปีหน้าเทียบกับการขยายตัว 1.4% ในปีนี้


ขณะที่ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปก็จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
 
โดยคาดว่าจีดีพีของญี่ปุ่นจะขยายตัวลดลง
1.0% ในไตรมาสที่ 4 และ 0.1% ในปีหน้า เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปที่คาดจะขยายตัว 1.0% และ 0.5% ในช่วงเดียวกัน ทั้งยังเผยด้วยว่าสมาชิกของโออีซีดีจำนวน 30 ประเทศ ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้วจากการคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีที่มีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง 0.3% ในปีหน้า

นอกจากนี้ โออีซีดียังคาดการณ์ด้วยว่า


อัตราดอกเบี้ยในยุโรปโซนจะลดลง 1.25% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 3.25% ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า โดยเชื่อว่าแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลงสู่ระดับ 2% ในต้นปี 2552

ด้านเยอรมนีได้เปิดเผยตัวเลขจีดีพีได้ลดลง 0.5% ในช่วงไตรมาส 3 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของเยอรมนีเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีระยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรองธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า


เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (
FDI) มีแนวโน้มที่จะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการเงินโลกที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินลงทุนโดยตรงจากนักลงทุนต่างชาติประมาณ 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน การลงทุนในตลาดหุ้นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มียอดนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นออกไปแล้วกว่า 1.4 แสนล้านบาท แต่อย่างไร ก็ตาม โดยรวมภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยังดีอยู่ โดยขณะนี้การซื้อขายหุ้นส่วนใหญ่นักลงทุนไทยก็ยังลงทุนอยู่

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อวานนี้ (14 พ.ย.) เริ่มอยู่ในระดับที่ทรงตัว

โดยค่าเงินบาทในช่วงบ่ายค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ
34.95-34.98 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 35.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการทำธุรกรรมตามปกติไม่พบสัญญาณการเก็งกำไร การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่เห็นล่าสุดในช่วงบ่ายเริ่มนิ่งแล้ว ซึ่งก็เป็นการทำธุรกรรมตามปกติยังไม่พบว่ามีการเก็งกำไร

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ว่า


ผู้ค้าน้ำมันทุกรายได้ประกาศปรับลดราคาขายปลีกเบนซินลง
80 สต./ลิตร และดีเซล 60 สต./ลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกในกลุ่มเบนซินโดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ 91 มีราคาต่ำกว่า 20 บาท/ลิตร มาอยู่ที่ 19.49 บาท/ลิตร ถือเป็นราคาที่ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจำหน่ายมาในรอบ 2 ปี ส่วนราคาขายปลีกดีเซลก็ต่ำสุดในรอบ 3 ปี อยู่ที่ระดับ 22.24 บาท/ลิตร

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. กล่าวว่า

 
สาเหตุที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับลดลงเนื่องจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ความต้องการใช้ น้ำมันโลกปี
2552 ลง 7.4 แสนบาร์เรล/วันมาอยู่ที่ระดับ 85.93 ล้านบาร์เรล/วัน และปี 2551 อยู่ที่ 85.89 ล้านบาร์เรล/วัน
นอกจากนี้ ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในปี 2552 ลงมาอยู่ที่ระดับ 4.5% จากระดับ 6.5% รวมทั้งจีนยังได้ชะลอการนำเข้าน้ำมันเนื่องจากความต้องการใช้ลดลงทำให้ปริมาณสำรองน้ำมันในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 47.15 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล น้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ เบนซินอยู่ที่ 47.79 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล และดีเซลอยู่ที่ 65.20 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
 
อย่างไรก็ตาม การปรับลดราคาครั้งนี้เป็นการปรับลดราคาน้ำมันให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 36 แล้ว นับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค.2551-ปัจจุบัน ซึ่ง ปตท.พร้อมลดราคาน้ำมันเพื่อสะท้อนตามต้นทุนตลาดโลกรวมกลุ่มดีเซลลดลงไปแล้ว 22 บาท/ลิตร และกลุ่มเบนซินลดลงไป 18.90 บาท/ลิตร.

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์