อิรักรออยู่


ศึกชิงทำเนียบขาว

ในบรรดาประเทศที่จับจ้องผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐมากที่สุดในครั้งนี้ ย่อมไม่ตกชื่อ
"อิรัก"

เพราะชะตาของอิรักจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับผู้นำคนใหม่สหรัฐ

หลังจากสหรัฐในยุค จอร์จ ดับเบิลยู. บุช แผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปอิรักด้วย
"สงคราม"

และทำให้สหรัฐติดบ่วงสงครามเสียเอง เป็นปัญหายุ่งเหยิงมาถึงตอนนี้

แม้ว่าช่วงการหาเสียงเลือกตั้งผู้นำสหรัฐในระยะหลังๆ ประเด็นอิรักจะลดความสำคัญลงไป เมื่อถูกวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษฟองสบู่แตกบดบัง

แต่เรื่องอิรักจะยังหลอกหลอนรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป ทั้งในเรื่องทหารที่ประจำการอยู่ 150,000 นาย และงบประมาณแผ่นดินที่ต้องจัดแบ่งให้สำหรับการฟื้นฟู

บารัก โอบามา แจ้งเกิดขึ้นมาเป็นผู้นำระดับประเทศได้จากสงครามอิรักที่ระเบิดขึ้นเมื่อปี 2546

นับตั้งแต่กล่าวสุนทรพจน์โจมตีบุชแบบ "สับเละ" ได้สะใจชาวอเมริกัน มาจนถึงการหาเสียงว่าจะถอนทหารอเมริกันออกจากอิรัก

โอบามาเห็นว่า การก่อสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก ทำให้ความสัมพันธ์ของสหรัฐกับชาติอื่นย่ำแย่ลง

ดังนั้นภารกิจสำคัญของรัฐบาลชุดใหม่คือการฟื้นฟูความสัมพันธ์ด้วย "ท่าที" ใหม่

แม้ว่า ขั้นตอนและการดำเนินการต่างๆ ไม่อาจเกิดขึ้นในเร็ววันหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แต่เงื่อนไขที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภา ทั้งสภาสูงและสภาล่าง ล้วนเป็นผลดีต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายอิรัก

แต่สิ่งที่ชาวอิรักเชื่อว่ามีอิทธิพลสูงอันดับต้นๆ ในนโยบายอิรักก็คือ
"กองทัพ"

เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะพิสูจน์ผู้นำคนใหม่ในฐานะ "ผู้บัญชาการสูงสุด" ของประเทศ

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์