เตือนระวังเปิบพิสดารริมทาง หลวง แพทย์ระบุกินหนู-งูต้องปรุงสุก หากรับประทานดิบๆ พยาธิบางชนิดมีอันตรายถึงชีวิต
อีกทั้งกลุ่มเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ ย้ำเครื่องใน เลือด และน้ำดีของงูไม่แนะนำให้กินเด็ดขาด เพราะอาจมีเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารหรือโรคที่ร้ายแรงกว่านั้น ที่สำคัญช่วงฤดูฝนระวังโรคฉี่หนูด้วย
จากกรณี "ข่าวสด" เปิดเผยถึงธุรกิจริมทางหลวง เมื่อบรรดาพ่อค้าตั้งแผงขาย นก หนู และงูเห่า โดยเฉพาะถนนสาย 340 สุพรรณบุรี-บางบัวทอง
ส่วนราคาหนูย่างจำหน่ายกิโลกรัมละ 150-160 บาท และที่ขายดีคืองูเห่าราคาตัวละ 500-600 บาท สำหรับหนูนาที่คนนิยมกินจะเป็นหนูสดเป็นๆ มาย่าง เช่นเดียวกับงูที่ต้องการความสดเช่นกัน ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 28 ต.ค. น.พ.สุรินทร์ ประ สิทธิ์หิรัญ นายแพทย์สาธารณสุข จ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า สำหรับหนูนานั้นเมื่อมีการทำปรุงสุกก็น่าจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่ออะไร ส่วนเรื่องการกินงูทั้งเลือด ทั้งดีงูสดๆ ก็บอกได้ว่าไม่เหมาะสม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าดิบไม่ผ่านการปรุงสุกนั้นไม่เหมาะสมอยู่แล้ว
นายไพรัช หวังดี เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า มีปริมาณคนกินหนูเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ราคาหนูนาหรือหนูพุกมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 150-200 บาท
สร้างอาชีพใหม่อยู่บริเวณริมทาง โดยเฉพาะเส้นทางที่ประชาชนเดินทางสัญจรผ่านบ่อยๆ อย่างถนนสายสุพรรณบุรี-อู่ทอง และถนนสายสุพรรณบุรี-บางบัว ทอง เท่าที่สัง เกตดูก็พบว่า ร้านขายหนู ขายนก ขายงู มีคนแวะเวียนเข้าไปอุดหนุนมาก ทั้งคนในประเทศและต่างประเทศ รศ.ปานเทพ รัตนากร ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสัตว์ป่าและต่างถิ่น เปิดเผยว่า สำหรับเรื่องของหนูถ้ามีการลอกหนังออก เอาเครื่องในออก ปรุงสุกก็ไม่มีปัญหา แต่ขั้นตอนกระบวนการทำไม่สะอาดก็อาจส่งปัญหาบ้าง แต่เชื่อว่าคนกินจะรู้ขั้นตอนการทำให้สุกและสะอาด ส่วนเรื่องของงูเห่านั้นถ้ากินเลือดสดๆ ดีงูสดๆ ไม่ปรุงสุกก็มีปัญหาแน่นอนอยู่แล้ว อย่างแรกที่พบคือเรื่องพยาธิ โปรโตซัว ที่อยู่ในเลือดอาจส่งผลให้เป็นโรคลำไส้ และพยาธิตัวอ่อนฝังตัวอยู่ในตัวคนที่กินเข้าไป อาจส่งผลระยะยาว ถ้ากินงูมากๆ หนูก็จะเพิ่มขึ้น เพราะเท่ากับไปทำลายวงจรศัตรูธรรมชาติของหนู และเรื่องของงูเห่ายังผิด พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่าปี 2535 ด้วย อยากเตือนทั้งคนขายคนซื้อว่ามผิดกฎหมายซึ่งมีโทษจำคุก 4 ปี ปรับ 40,000 บาท
ห้ามเปิบหนู-งูสดๆ หมอเตือนถึงตาย!
นายสละ พร้อมพิมพ์ พ่อค้าชาวสุพรรณบุรี กล่าวด้วยว่า ที่ขายอยู่ทุกวันนี้ถามจากผู้รู้แล้วว่าไม่ผิดและยังเป็นอาชีพสุจริตที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
ถ้าตรวจสอบพบว่าผิดตนก็จะเลิก แต่นี่เป็นอาชีพเดียวที่ครอบครัวทำมานานและเลี้ยงครอบครัวอีกหลายชีวิตจนถึงปัจจุบัน และยืนยันว่าหนูนาที่ทำสดสะอาดจะไม่มีโรคติดต่ออย่างแน่นอน วันเดียวกัน น.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา และโฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า โรคที่มาจากการกินสัตว์ที่หากินตามธรรมชาติ จะมีอยู่หลายประเภท โดยแบ่งได้เป็นกลุ่มๆ กลุ่มโรคที่เกิดจากพยาธิ มักจะพบในเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น งู หมูป่า โดยเฉพาะหากรับประทานดิบๆ พยาธิบางชนิดมีอันตรายถึงชีวิต กลุ่มเชื้อแบคทีเรีย มักจะทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ โรคที่พบ เช่น ซาโมเนล่า ในช่วงปีที่ผ่านมาพบประมาณพันราย จะมีความรุนแรงกว่าโรคระบบทางเดินอาหารปกติ กลุ่มโรคที่เกิดจากไวรัส ที่เคยพบ เช่น โรคซาร์ส มีรายงานว่าอยู่ใน ชะมด ส่วนมากเชื้อไวรัสจะอยู่ในกระแสเลือดของสัตว์
น.พ.คำนวณ กล่าวต่อว่า โรคที่มาจากสัตว์เหล่านี้ บางชนิดมีความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนสัตว์ตามท้องนา ที่มักนำมารับประทาน ข้อแนะนำ
คือ ต้องทำให้อาหารสุกดี ไม่ควรกินดิบเด็ดขาด ความร้อนสามารถจะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย พยาธิ ได้ ส่วนเครื่องใน เลือด และน้ำดี ของสัตว์ โดยเฉพาะงู ไม่แนะนำให้รับประทานเด็ดขาด เพราะอาจมีเชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร หรือโรคที่ร้ายแรงกว่านั้น เพราะไม่ทราบว่ามีเชื้ออะไรบ้าง นอกจากนี้ต้องระมัดระวัง การเชือด ชำแหละ เพราะอาจติดเชื้อในระหว่างนั้น โดยต้องล้างมือทุกครั้งที่ถูกสัตว์เหล่านั้น
น.พ.คำนวณ กล่าวอีกว่า ในช่วงฤดูฝน โรคที่มากับน้ำท่วมที่ต้องระวัง คือ โรคฉี่หนู
เคยพบว่าประชาชนที่ออกหาหนู หรือ งู มีการติดโรคฉี่หนู หากมีบาดแผลก็จะสามารถติดโรคดังกล่าว ซึ่งมักอยู่ตามแหล่งน้ำได้ โดยในปีนี้พบว่าแหล่งที่มีการระบาดของโรคฉี่หนู เช่น ภาคอีสาน ตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ส่วนประชาชนที่นำหนูนา มารับประทาน หากทำให้สุก ไม่มีอันตราย แต่การชำแหละต้องระมัดระวัง อาจสามารถติดเชื้อได้หากมีแผลตามร่างกายที่สัมผัส