ตามปกติผู้คนทั่วไปมักคิดว่า "คนอ้วน" น่าจะมีความสุขกับการกินได้ง่ายกว่าคนผอม อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดกลับพบว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะคนอ้วนเวลากินอาหารจะมีสารโดปามีน หรือสารแห่งความสุขหลั่งออกมาน้อยกว่าคนผอม
ดังนั้น คนอ้วนจึงต้องกินอาหารให้มากขึ้น เพื่อให้สมองหลั่งสารโดปามีนออกมามากขึ้นด้วยเช่นกัน
ผลการศึกษาดังกล่าวจัดทำโดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "functional Magnetic Resonance Imaging" หรือ "fMRI"
เพื่อตรวจสภาวะการทำงานสมองของนักศึกษาหญิง 43 คน อายุระหว่าง 18-22 ปี และเด็กวัยรุ่นอีก 33 คน อายุประมาณ 14-18 ปี ในขณะกำลังดื่มช็อกโกแลตมิลค์เชก และบางส่วนดื่มสารละลายที่ไม่มีรสชาติ
ตามปกติ เซลล์สมองจะหลั่งสารโดปามีน หรือสารแห่งความสุขออกมาเวลามนุษย์รับประทานอาหาร ด้วยเหตุนี้คนส่วนใหญ่จึงรู้สึกยินดี หรือมีความสุขเวลาที่อาหารเข้าปาก แต่จากการใช้เทคนิค "fMRI" สแกนสมองอาสาสมัครกลับพบว่า นักศึกษาหญิงกลุ่มที่มีรูปร่างอ้วนจะมีการหลั่งสารโดปามีนออกมาน้อยมากเมื่อดื่มช็อกโกแลตมิลค์เชก และเมื่อผ่านไป 1 ปี นักศึกษาหญิงกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะอ้วนมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
ผลลัพธ์จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า เนื่องจากสมองของคนอ้วนมีการหลั่งสารโดปามีนออกมาน้อยขณะกินอาหาร ส่งผลให้ต้องทานอาหารเข้าไปให้มากขึ้น เพื่อให้สารโดปามีนหลั่งออกมามากขึ้นตามไปด้วยจึงจะรู้สึกได้ถึงความพึงพอใจจากการกินอาหารมื้อนั้น การกินอาหารเข้าไปมากเพื่อให้สารโดปามีนหลั่งออกมามาก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนอ้วนหลายคนลดน้ำหนักไม่สำเร็จหรือสำเร็จยาก
คาดคนอ้วนมีโดปามีนน้อย ต้นเหตุไร้ความสุข-ทานอาหารมากขึ้น
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ คาดคนอ้วนมีโดปามีนน้อย ต้นเหตุไร้ความสุข-ทานอาหารมากขึ้น